0

แบบฝึกหัดข้อมูลและสารสนเทศ และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูล

ข้อมูลและสารสนเทศ

1.ข้อมูลคืออะไร

ตอบ  ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผลซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชือนักเรียน เพศ อายุ เป็นต้น

ที่มา : https://blog.eduzones.com/jipatar/85845

 

2.ข้อมูลกับสารสนเทศมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันอย่างไร

ตอบ        ข้อมูล (data) คือ    ข้อเท็จจริง หรือ เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆที่เป็นตัวเลข ข้อความ หรือรายละเอียดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ  เช่น ภาพ  เสียง  วีดิโอ  ของคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ที่เราสนใจ ฯลฯ การรวบรวมข้อมูล เป็น การเริ่มต้นในการดำเนินงาน การรวบรวมข้อมูลที่ดี จะได้ข้อมูลรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วน  การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหลายวิธี เช่น การใช้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ การใช้โทรสาร การใช้เครื่องวัดต่าง ๆ การใช้ดาวเทียม การออกแบบสอบถาม ฯลฯ

สารสนเทศ (Information) หมายถึง  ข้อมูล หรือ สิ่งซึ่งได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ หรือ สารสนเทศ หมายถึง   ข้อมูลที่มีความหมายซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์    ดังนั้น  สารสนเทศจึงหมายถึงข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลด้วยวิธีการที่เหมาะสมและถูกต้อง  เพื่อให้ได้ผลลัพท์ตรงตามความต้องการของผู้ใช้  ดยอาจเขียนแผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ ดังนี้


ข้อมูล                                  การประมวลผล                        สารสนเท

ที่มา : http://neung.kaengkhoi.ac.th/mdata/salupkadata3.html

3.คุณสมบัติของข้อมูลที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร

ตอบ  ข้อมูลที่ดีจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติที่สำคัญๆ ดังนี้คือ

1) ความถูกต้องแม่นยำ
(accuracy) ข้อมูลที่ดีควรจะมีความถูกต้องแม่นยำสูง หรือถ้ามีความคลาดเคลื่อน (errors) ปนอยู่บ้าง ก็ควรที่จะสามารถควบคุมขนาดของความคลาดเคลื่อนที่ปนมาให้มีความคลาดเคลื่อน น้อยที่สุด

          2) ความทันเวลา (timeliness) เป็นข้อมูลที่ทันสมัย (up to date) และทันต่อความต้องการของ ผู้ใช้ ถ้าผลิตข้อมูลออกมาช้า ก็ไม่มีคุณค่าถึงแม้จะเป็นข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำก็ตาม

          3) ความสมบูรณ์ครบถ้วน (completeness) ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาต้องเป็นข้อมูลที่ให้ข้อเท็จจริง (facts) หรือข่าวสาร (information) ที่ครบถ้วนทุกด้านทุกประการ มิใช่ขาดส่วนหนึ่งส่วนใดไปทำให้นำไปใช้การไม่ได้

         4) ความกระทัดรัด (conciseness) ข้อมูลที่ได้รับส่วนใหญ่จะกระจัดกระจาย ควรจัดข้อมูลให้อยู่ใน รูปแบบที่กระทัดรัดไม่เยิ่นเย้อ สะดวกต่อการใช้และค้นหา ผู้ใช้มีความเข้าใจได้ทันที

          5) ความตรงกับความต้องการของผู้ใช้ (relevance) ข้อมูลที่จัดทำขึ้นมาควรเป็นข้อมูลที่ผู้ใช้ ข้อมูลต้องการใช้ และจำเป็นต้องรู้ / ทราบ หรือเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำแผน กำหนดนโยบายหรือตัดสินปัญหาในเรื่องนั้นๆ ไม่ใช่เป็นข้อมูลที่จัดทำขึ้นมาอย่างมากมาย แต่ไม่มีใครต้องการใช้หรือไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล

          6) ความต่อเนื่อง (continuity) การเก็บรวบรวมข้อมูล ควรอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องในลักษณะของอนุกรมเวลา (time-series) เพื่อจะได้นำไปใช้ประโยชน์ในด้านการวิเคราะห์วิจัยหรือหาแนวโน้มในอนาคต

ที่มา :  http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/know/estat1_5.html

4.จุดประสงค์ของการจัดเรียงข้อมูลคืออะไร

ตอบ  จุดประสงค์ของการจัดเรียงข้อมูลคือ

  1. ลดความซ้ำซ้อนข้อมูลในฐานข้อมูล เนื่องถ้ามีการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนกัน จะทำให้การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลในตารางทำได้ไม่สะดวก
  2. ตอบสนองความจำเป็นในการเรียกใช้ข้อมูลในเวลาที่สั้นที่สุด โดยหลังจากออกแบบฐานข้อมูลเสร็จแล้ว เราสามารถเรียกข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว เพราะว่าข้อมูลในตารงที่ออกแบบได้ย่างถูกต้องจะไม่มีการซ้ำซ้อน ทำให้ไม่เสียเวลาค้นหาข้อมูล เนื่องจากข้อมูลที่ต้องการจะอยู่ในตางรางที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
  3. ข้อนี้เป็นผลต่อเนื่องมาจากจุดประสงค์ข้อแรก ช่วยให้ตรวจสอบความถูกต้องรวมทั้งจัดมาตรฐานของข้อมูลได้สะดวก เนื่องมีข้อมูลไม่ซ้ำซ้อนกัน (หรือซ้ำซ้อนกันน้อยที่สุด)
  4. สามารถกำหนดลักษณะการเข้าถึงข้อมูลสำหรับผู้ใช้แต่ละประเภทได้ด้วย เช่น พนักงานทั่วไปจะสามารถดูตารางที่มีข้อมูลของตัวเองได้เท่านั้น และไม่สามารถแก้ไขข้อมูลต่างๆ ในฐานข้อมูลได้ ส่วนพนักงานป้อนข้อมูลจะสามารถแก้ไขข้อมูลได้ เป็นต้น
  5. ทำให้มีความอิสระระหว่างข้อมูลกับแอพพลิเคชั่น เนื่องจากเราสามารถออกแบบแอพพลิเคชั่นให้ดึงขอมูลที่ต้องการจากฐานข้อมูลเหล่านั้น ไม่ต้องใส่ข้อมูลต่างๆเหล่านี้ลงในแอพพลิเคชั่น เพราะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล เราเพียงแต่เปลี่ยนในฐานข้อมูลเท่านั้น ไม่ต้องเปลี่ยนในแอพพลิเคชั่น ซึ่งหมายถึง ต้องสร้างไฟล์ทำงานและตรวจสอบความถูกต้องของแอพพลิเคชั่นใหม่ซึ่งยุ่งยากมาก

ที่มา : www.chakkham.ac.th/

 

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูล

 

1.อธิบายฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ (Centralized Database System)

ตอบ  การมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ที่พร้อมใช้งานมีประโยชน์อย่างมากมาย ผู้ปฏิบัติงานมีหน้าที่ดูแลเพียงฐานข้อมูลเดียวเท่านั้น และแต่ละรายการสินค้าจะมีข้อมูลบันทึกหลักรายการเดียว โดยมีข้อมูลหลักเพียงหนึ่งชุด

เครื่องชั่งนับจำนวนชิ้นของ METTLER TOLEDO มีฟังก์ชันทำงานฐานข้อมูลในระดับสูง โดยนำเสนอข้อดีจาก:

  • ฐานข้อมูลภายในเครื่องชั่ง สำหรับข้อมูล 30000 รายการ
  • การบริหารจัดการรายการข้อมูลมากกว่า 10,000 รายการอย่างรวดเร็วด้วยซอฟต์แวร์
  • การสำรองฐานข้อมูลรายการสินค้าได้อย่างเรียบง่าย
  • ฟังก์ชันนำเข้า/ส่งออกที่ชัดเจนพร้อมด้วยโปรแกรม MS Excel สำหรับการประมวลผลภายหลังของการใช้งานร่วมกับฐานข้อมูลที่มีอยู่เดิม
  • การป้อนข้อมูลที่ทำงานได้ง่ายด้วยโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์แบบมาตรฐาน เครื่องสแกนบาร์โค้ด หรือแป้นพิมพ์ภายนอก

ที่มา :http://th.mt.com/th/th/home/microsites/piece_counting/Solutions/Centr_Data.html

2.อธิบายฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Database System)

ตอบ  ระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Database System) หมายถึง ฐานข้อมูลที่มีการ
จัดเก็บข้อมูลอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องที่ติดตั้งอยู่ตามที่ต่างๆ โดยที่ระบบคอมพิวเตอร์
เหล่านี้มีการสื่อสารกันได้ ซึ่งผู้ใช้สามารถเรียกใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่องใดๆ ก็ได้ และ
ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับทราบว่าข้อมูลที่ตนต้องการนั้นจัดเก็บอยู่บนเครื่องใด พูดในอีกลักษณะหนึ่งก็คือ
ในทางกายภาพแล้วข้อมูลจะถูกเก็บกระจายตามเครื่องต่างๆ แต่ในแง่มุมของผู้ใช้จะเสมือนหนึ่งว่า
กำลังใช้ระบบฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์อยู่ปกติ แสดงดังรูปที่ 10.1
ส่วนความหมายของระบบการจัดการฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Database
Management System : DDBMS) คือ ระบบจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS ที่ทำหน้าที่จัดการระบบ
ฐานข้อมูลแบบกระจาย แต่ในปัจจุบัน DDBMS บางตัวจะยังไม่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามความหมาย
ตามหลักทฤษฎียกตัวอย่างเช่น ถ้า DDBMS ไม่สามารถที่จะดูแลเกี่ยวกับสถานที่ที่เก็บข้อมูลจริงได้ ก็จำเป็นที่ผู้ใช้งานจะต้องรับทราบว่าข้อมูลที่ตนต้องการนั้นถูกจัดเก็บไว้ที่สาขาไหน และระบุชื่อสาขาใน
คำสั่งที่ใช้ในการเรียกค้นหาข้อมูล เป็นต้น
แต่สำหรับระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามความหมาย ตามหลัก
ทฤษฎีแล้ว ผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลก็จะมองเสมือนหนึ่งว่างานทั้งระบบมีอยู่เพียงฐานข้อมูลเดียว และ
เรียกใช้ข้อมูลเหมือนตามปกติที่เคยทำกับระบบรวมศูนย์ (Centralize)

ที่มา : mathcom.uru.ac.th/~Kachane/DS/slide/DS_10.ppt

0

แบบฝึกหัดที่ 3 บทที่ 3 คอมพิวเตอร์ซอร์ฟแวร์

1.ซอฟต์แวร์ คืออะไร

ตอบ  ซอฟต์แวร์ (Software) คือ โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่จะสั่งและควบคุมให้ฮาร์ดแวร็คอมพิวเตอร์ทำงาน เราไม่สามารถจับต้อง ซอฟต์แวร์ ได้โดยตรงเหมือนกับตัวฮาร์ดแวร์ เพราะซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมนี้จะถูกจัดเก็บอยู่ในสื่อ ที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล เช่น แผ่นดิสก์ ซอฟต์แวร์ ที่มักติดตั้งไว้ในฮาร์ดดิสก์เพื่อทำงานทันที่ที่เปิดเครื่องคือ ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ สรุปแล้ว ซอฟต์แวร์ คือ โปรแกรมชุดคำสั่งไว้ควบคมคอมฯให้ทำงาน

ที่มา : http://www.dekdev.com/

 

2.ซอฟต์แวร์ระบบ คืออะไร

ตอบ  ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) คือโปรแกรมที่ใช้ในการควบคุมระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด เช่น การบูตเครื่อง การสำเนาข้อมูล การจัดการระบบของดิสก์ ชุดคำสั่งที่เขียนเป็นคำสั่งสำเร็จรูปโดยผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีมาพร้อมแล้วจากโรงงานผลิต การทำงานหรือการประมวลผลของซอฟต์แวร์เหล่านี้ขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องระบบของซอฟต์แวร์เหล่านี้ออกแบบมาเพื่อการปฏิบัติควบคุม และมีความสามารถในการยืดหยุ่นการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์

ที่มา : http://www.dekdev.com/

 

3.ซอฟต์แวร์ระบบแบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง

ตอบ  แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ

          1) โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System) เป็นโปรแกรมที่ใช้ควบคุมและติดต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะการจัดการระบบของดิสก์ การบริหารหน่วยความจำของระบบ กล่าวโดยสรุปคือ หากจะทำงานใดงานหนึ่งโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการทำงานแล้วจะต้องติดต่อกับซอฟต์แวร์ระบบก่อน ถ้าขาดซอฟต์แวร์ชนิดนี้จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ โปรแกรมระบบปฏิบัติการ DOS Unix Windows (เวอร์ชั่นต่าง ๆ เช่น 95 98 me 2000 NT) Sun OS/2 Warp Netware และ Linux

          2) ตัวแปลภาษาจาก Source Code ให้เป็น Object Code (แปลจากภาษาที่มนุษย์ใจให้เป็นภาษาที่เครื่องเข้าใจ เปรียบเสมือนล่ามแปลภาษา) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ คอมไพเลอร์ (Compiler) และอินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) คอมไพเลอร์จะแปลคำสั่งในโปรแกรมทั้งหมดก่อนแล้วทำการลิ้ง (Link) เพื่อให้ได้คำส่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ ส่วนอินเตอร์พีทเตอร์จะแปลทีละประโยคคำสั่งแล้วทำงานตามประโยคคำสั่งนั้น การจะเลือกใช้ตัวแปลภาษาแบบใดนั้นจะขึ้นอยู่กับภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม เช่น ภาษาเบสิก (Basic) ภาษาปาสคาล (Pascal) ภาษาซี (C) ภาษาจาวา (Java) ภาษาโคบอล (Cobol) ภาษา SQL ภาษา HTML เป็นต้น

          3) ยูทิลิตี้โปรแกรม (Utility Program) คือ ซอฟต์แวร์เสริมช่วยให้เครื่องทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ช่วยในการตรวจสอบดิสก์ ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลในดิสก์ ช่วยสำเนาข้อมูล ช่วยซ่อมอาการชำรุดของดิสก์ ช่วยค้นหาและกำจัดไวรัส ฯลฯ เป็นต้น โปรแกรมในกลุ่มนี้ได้แก่โปรแกรม Norton WinZip Scan virus Sidekick Scandisk Screen Saver ฯลฯ เป็นต้น

          4) ติดตั้งและปรับปรุงระบบ (Diagonostic Program) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการติดตั้งระบบเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อและใช้งานอุปกรณ์ต่า ๆ ที่นำมาติดตั้งระบบ ได้แก่ โปรแกรม Setup และ Driver ต่าง ๆ เช่น โปรแกรม Setup Windows Setup Microsoft Office โปรแกรม Driver Sound Driver CD-ROM Driver Printer Driver Scanner ฯลฯ เป็นต้น

ที่มา : http://www.dekdev.com/

 

4.จงบอกหน้าที่ของระบบปฏิบัติการมา 3 อย่าง พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

ตอบ  

1. ติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface)
คือ ผู้ที่ใช้สามารถที่จะติดต่อหรือควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทางด้านระบบปฏิบัติการ โดยที่ระบบปฏิบัติการนั้นจะส่งข้อความตอบโต้ไปยังผู้ใช้เพื่อที่จะให้ผู้ใช้ป้อนคำสั่งหรือสั่งการด้วยอุปกรณ์รับข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่ ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างโปรมแกรมประยุกต์ต่างๆ เพื่อติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ขณะที่เราใช้งานด้วย

2. ควบคุมดูแลอุปกรณ์และการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
เนื่องจากผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทางระบบปฏิบัติการ อาจไม่จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงหลักการทำงานภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้การทำงานของระบบเป็นไปได้อย่างถูกต้อง และสอดคล้อง
3. จัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ในระบบ
ทรัพยากร (Resource) คือ สิ่งที่ถูกใช้ไปเพื่อให้โปรแกรมดำเนินต่อไปได้ เช่น หน่วยประมวลผล (CPU) หน่วยความจำ (Memory) อุปกรณ์รับและแสดงผลข้อมูล (Input/Output)
ดังนั้น ระบบปฏิบัติการจะต้องจัดสรรทรัพยากรเหล่านี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ถ้าระบบปฏิบัติการสามารถจักสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพแล้ว การทำงานของโปรแกรมต่าง ๆ ก็สามารถทำให้ได้รวดเร็ว และได้ปริมาณงานเพิ่มขึ้นด้วย

ที่มา : http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech03/32/p5-2.html

 

5.ระบบปฏิบัติการเครือข่าย คืออะไร

ตอบ   ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network operating System หรือ NOS) จะเป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกออกแบบมาสำหรับจัดการงานด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ และช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับเครือข่ายสามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือเครื่องพิมพ์ร่วมกันได้ ระบบปฏิบัติการเครือข่ายมีคุณสมบัติต่างๆ คล้ายระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอส แต่เพิ่มการจัดการเกี่ยวกับเครือข่ายและการใช้อุปกรณ์ร่วมกัน รวมทั้งมีระบบการป้องกันการสูญหายของข้อมูลด้วย

            ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่นิยมใช้ปัจจุบัน จะใช้หลักการประมวลผลแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ (Client / Server) โดยส่วนประกอบสำหรับการเรียกใช้แฟ้มข้อมูลและการจัดการโปรแกรมจะทำงานอยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ในขณะที่ส่วนประกอบอื่น ๆ ของระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะอยู่บนเครื่องไคลเอนต์ เช่น การติดต่อกับผู้ใช้ การประมวลผล เป็นต้น การจัดการให้ผู้ใช้เห็นว่างานและอุปกรณ์ทั้งหลายที่ใช้นั้นเสมือนอยู่บนเครื่องไคลเอนต์เอง ถือว่าเป็นหน้าที่หลักอันหนึ่งของระบบปฏิบัติการเครือข่าย

ที่มา : http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech03/05/__21.html

 

6.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คืออะไร

ตอบ  ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ถูกจัดทำขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะด้านหรือเฉพาะองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ซอฟต์แวร์ประเภทนี้มักสร้างขึ้นโดยบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่มีความชำนาญด้านนั้น ๆ โดยเฉพาะ หรือออกแบบและสร้างโดยบุคลากรในฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรก็ได้ ต้องมีทีมงานในการดำเนินการวิเคราะห์และออกแบบระบบงานอย่างรอบคอบ เมื่อออบแบบระบบงานใหม่ได้แล้ว จึงลงมือสร้างโปรแกรมจนเสร็จ แล้วทำงการทดสอบโปรแกรมให้สามารถทำงานได้ถูกต้องแน่นอน จนสามารถทำงานได้จริง ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ ซอฟต์แวร์ด้านงานบุคลากร ซอฟต์แวร์ระบบงานบัญชี ซอฟต์แวร์ระบบสินค้าคงคลัง ซอฟต์แวร์ของการรถไฟ ซอฟต์แวร์ของธุรกิจธนาคาร ซอฟต์แวร์ของธุรกิจประกันภัย ซอฟต์แวร์ของการบินไทย ซอฟต์แวร์บริหารการศึกษาเป็นต้น

ที่มา : http://www.dekdev.com/

 

7.ซอฟต์แวร์ประยุกต์จำแนกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง

ตอบ  ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

          2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เป็น Software ที่ใช้สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น Software สำหรับงานธนาคารการฝากถอนเงิน Software สำหรับงานทะเบียนนักเรียน ซอฟต์แวร์คิดภาษี ซอฟต์แวร์การให้บริการร้าน Seven ฯลฯ
          2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับงานทั่วไป โดยในซอฟต์แวร์ 1 ตัวมีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร (Microsoft Word ) มีความสามารถในการสร้างงานเอกสารต่าง ๆ จัดทำเอกสารรายงาน จัดทำแผ่นพับ จัดทำหนังสือเวียน จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์

ที่มา : https://sites.google.com/site/mju5303103351cs203/sxftwaer-prayukt-khux-xari-baeng-xxk-pen-ki-prapheth-xari-bang-cng-xthibay

 

8.ภาษาที่ใช้กับคอมพิวเตอร์มีกี่ภาษา อะไรบ้าง

ตอบ  มนุษย์ ใช้ภาษาในการสื่อสารมาตั้งแต่สมัยโบราณ การใช้ภาษาเป็นเรื่องที่มนุษย์พยายามถ่ายทอดความคิดและความรู้สึกต่าง ๆ เพื่อการโต้ตอบและสื่อความหมาย ภาษาที่มนุษย์ใช้ติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หรือภาษาจีน ต่างเรียกว่า “ภาษาธรรมชาติ” (Natural Language) เพราะมีการศึกษา ได้ยิน ได้ฟัง กันมาตั้งแต่เกิดการใช้งานคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ทำงานตามที่ต้องการ จำเป็นต้องมีการกำหนดภาษา สำหรับใช้ติดต่อสั่งงานกับคอมพิวเตอร์ ภาษาคอมพิวเตอร์จะเป็น ”ภาษาประดิษฐ์” (Artificial Language) ที่มนุษย์คิดสร้างมาเอง เป็นภาษาที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะ มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัวและจำกัด คืออยู่ในกรอบให้ใช้คำและไวยากรณ์ที่กำหนดและมีการตีความหมายที่ชัดเจน จึงจัดภาษาคอมพิวเตอร์เป็นภาษาที่มีรูปแบบเป็นทางการ (Formal Language) ต่างกับภาษาธรรมชาติที่มีขอบเขตกว้างมาก ไม่มีรูปแบบตายตัวที่แน่นอน  กฎเกณฑ์ของภาษาจะขึ้นกับหลักไวยากรณ์และการยอมรับของกลุ่มผู้ใช้นั้น ๆ
ภาษา คอมพิวเตอร์อาจแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ ภาษาเครื่อง (Machine Language) ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language) และภาษาระดับสูง (High Level Language)
          1  ภาษาเครื่อง (Machine Language)
การ เขียนโปรแกรมเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานในยุคแรก ๆ จะต้องเขียนด้วยภาษาซึ่งเป็นที่ยอมรับของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า “ภาษาเครื่อง” ภาษานี้ประกอบด้วยตัวเลขล้วน ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ทันที ผู้ที่จะเขียนโปรแกรมภาษาเครื่องได้ ต้องสามารถจำรหัสแทนคำสั่งต่าง ๆ ได้ และในการคำนวณต้องสามารถจำได้ว่าจำนวนต่าง ๆ ที่ใช้ในการคำนวณนั้นถูกเก็บไว้ที่ตำแหน่งใด ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดในการเขียนโปรแกรมจึงมีมาก นอกจากนี้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละระบบมีภาษาเครื่องที่แตกต่างกันออก ทำให้เกิดความไม่สะดวกเมื่อมีการเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์เพราะจะต้องเขียน โปรแกรมใหม่ทั้งหมด

        2  ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language)

เนื่อง จากภาษาเครื่องเป็นภาษาที่มีความยุ่งยากในการเขียนดังได้กล่าวมาแล้ว จึงไม่มีผู้นิยมและมีการใช้น้อย ดังนั้นได้มีการพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ขึ้นอีกระดับหนึ่ง โดยการใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษเป็นรหัสแทนการทำงาน การใช้และการตั้งชื่อตัวแปรแทนตำแหน่งที่ใช้เก็บจำนวนต่าง ๆ ซึ่งเป็นค่าของตัวแปรนั้น ๆ การใช้สัญลักษณ์ช่วยให้การเขียนโปรแกรมนี้เรียกว่า “ภาษาระดับต่ำ”ภาษาระดับต่าเป็นภาษาที่มีความหมายใกล้เคียงกับภาษาเครื่อง มากบางครั้งจึงเรียกภาษานี้ว่า  “ภาษาอิงเครื่อง” (Machine – Oriented Language) ตัวอย่างของภาษาระดับต่ำ  ได้แก่ ภาษาแอสเซมบลี เป็นภาษาที่ใช้คำในอักษรภาษาอังกฤษเป็นคำสั่งให้เครื่องทำงาน เช่น ADD หมายถึง บวก SUB หมายถึง ลบ เป็นต้น การใช้คำเหล่านี้ช่วยให้การเขียนโปรแกรมง่ายขึ้นกว่าการใช้ภาษาเครื่องซึ่ง เป็นตัวเลขล้วน ดังตารางแสดงตัวอย่างของภาษาระดับต่ำและภาษาเครื่องที่สั่งให้มีการบวกจำนวน ที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำ

ตารางที่ 5.1 แสดงความสัมพันธ์ของคำสั่งในภาษาระดับต่ำและภาษาเครื่อง
ภาษาระดับต่ำ    ภาษาเครื่อง    รหัสเลขฐานสิบหก
MOV   AL,05    10110000     00000101    B0     05
MOV   BL,08    10110011     00001000    B3     08
ADD   AL,BL    00000000     11011000    00     D8
MOV   CL,AL    10001000     11000001    88     C1
จาก ตารางบรรทัดแรก 10110000 00000101 เป็นคำสั่งให้นำจำนวน 5 (หรือเขียนในรูปของเลขฐานสองเป็น 00000101) ไปเก็บในรีจิสเตอร์ชื่อ AL โดยส่วนแรก 10110000 คือรหัสคำสั่ง MOV ซึ่งเป็นการเคลื่อนย้ายข้อมูลจำนวนมาเก็บไว้ในรีจิสเตอร์ AL
บรรทัดที่ สอง 10110011 00001000 เป็นคำสั่งให้นำจำนวน 8 (หรือเขียนในรูปของเลขฐานสองเป็น 00001000) ไปเก็บในรีจิสเตอร์ชื่อ BL โดยส่วนแรก 10110011 คือรหัสคำสั่ง MOV ซึ่งเป็นการเคลื่อนย้ายข้อมูลจำนวนมาเก็บไว้ในรีจิสเตอร์ BL
บรรทัดที่สาม เป็นคำสั่งการบวกระหว่างรีจิสเตอร์ AL กับ BL หรือนำ 5 บวก 8 ผลลัพธ์เก็บในรีจิสเตอร์ AL
บรรทัดที่สี่ เป็นการนำผลลัพธ์จากรีจิสเตอร์ชื่อ AL ไปเก็บไว้ในรีจิสเตอร์ชื่อ CL
การ ใช้โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีนั้น  เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ทันที จำเป็นต้องมีการแปลโปรแกรมในการแปลที่มีชื่อว่า “แอสเซมเบลอร์” (Assembler) ซึ่งแตกต่างไปตามเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละชนิด ดังนั้นแอสเซมเบลอร์ของเครื่องชนิดหนึ่งจะไม่สามารถใช้แปลโปรแกรมภาษาแอสเซ มบลีของเครื่องชนิดอื่น ๆ ได้ภาษาแอสเซมบลีนี้ยังคงใช้ยาก เพราะผู้เขียนโปรแกรมจะต้องเข้าใจในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่าง ละเอียด ต้องรู้ว่าจำนวนที่จะนำมาคำนวณนั้นอยู่ ณ ตำแหน่งใดในหน่วยความจำในทำนองเดียวกับการเขียนโปรแกรมเป็นภาษาเครื่อง ภาษาแอสเซมบลีจึงมีผู้ใช้น้อย และมักจะใช้ในกรณีที่ต้องการควบคุมการทำงานภายในของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ 

         3  ภาษาระดับสูง (High Level Language)

ภาษา ระดับสูงเป็นภาษาที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรม กล่าวคือลักษณะของคำสั่งจะประกอบด้วยคำต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้อ่านสามารถเข้าใจความหมายได้ทันที ผู้เขียนโปรแกรมจึงเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงได้ง่ายกว่าเขียนด้วยภาษาแอ สเซมบลีหรือภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีมากมายหลายภาษา อาทิเช่น ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) ภาษาโคบอล (COBOL) ภาษาปาสคาล (Pascal) ภาษาเบสิก(BASIC) ภาษาวิชวลเบสิก (Visual Basic) ภาษาซี (C) และภาษาจาวา (Java) เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงแต่ละภาษาจะต้องมีโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปล ภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง เช่น โปรแกรมแปลภาษาฟอร์แทรนเป็นภาษาเครื่อง โปรแกรมแปลภาษาปาสคาลเป็นภาษาเครื่อง คำสั่งหนึ่งคำสั่งในภาษาระดับสูงจะถูกแปลเป็นภาษาเครื่องหลายคำสั่ง
ภาษาระดับสูงที่จะกล่าวถึงในที่นี้ ได้แก่
    1)  ภาษาฟอร์แทรน (FORmula TRANstation : FORTRAN)
จัด เป็นภาษาระดับสูงที่เก่าแก่ที่สุด ได้รับการคิดค้นขึ้นเป็นครั้งแรก ราว พ.ศ. 2497 โดยบริษัท ไอบีเอ็ม เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับงานที่ต้องการการคำนวณ เช่น งานทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และงานวิจัยต่าง ๆ เนื่องจากแนวคิดในการเขียนโปรแกรมในระยะหลังนี้เปลี่ยนมานิยมการเขียน โปรแกรมแบบโครงสร้างมากขึ้น ลักษณะของคำสั่งภาษาฟอร์แทรนแบบเดิมไม่เอื้ออำนวยที่จะให้เขียนได้ จึงมีการปรับปรุงโครงสร้างของภาษาฟอร์แทรนให้สามารถเขียนโปรแกรมแบบโครง สร้างขึ้นมาได้ในปี พ.ศ. 2509 เรียกว่า FORTRAN 66 และในปี พ.ศ. 2520 สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (American National Standard Institute หรือ ANSI) ได้ปรับปรุง FORTRAN 66 และยอมรับให้เป็นภาษาฟอร์แทรนที่เป็นมาตรฐาน เรียกว่า FORTRAN 77 ใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีตัวแปลภาษานี้
    2)  ภาษาโคบอล (Common Business Oriented Language : COBOL)
เป็น ภาษาที่พัฒนาขึ้นในราว พ.ศ. 2502  ต่อมาได้รับการปรับปรุงจากคณะกรรมการซึ่งเป็นตัวแทนของหน่วยงานธุรกิจและ รัฐบาลของสหรัฐอเมริกา เป็นภาษาโคบอลมาตรฐานในปี พ.ศ. 2517 เป็นภาษาที่เหมาะสมสำหรับงานด้านธุรกิจ เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ส่วนมากมีโปรแกรมแปลภาษาโคบอล
3)  ภาษาเบสิก (Beginner’s All – purpose Symbolic Instruction Code : BASIC)
เป็น ภาษาที่ได้รับการคิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่วิทยาลัยดาร์ทมัธ (Dartmouth College) และเผยแพร่เป็นทางการในปี พ.ศ. 2508ภาษาเบสิกเป็นภาษาที่สร้างขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้สอนเพื่อใช้สอน เขียนโปรแกรมแทนภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาอื่น เช่น ภาษาฟอร์แทรน ซึ่งมีขนาดใหญ่และต้องใช้หน่วยความจำสูงในการทำงาน ซึ่งไม่เหมาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในสมัยนั้น ภาษาเบสิกเป็นภาษาที่มีขนาดเล็ก เป็นตัวแปลภาษาชนิดที่เรียกว่าอินเทอร์พรีเตอร์
นอก จากนี้    ภาษาเบสิกเป็นภาษาที่ง่ายต่อการเขียน    ซึ่งผู้เขียนจะสามารถนำไปประยุกต์กับการแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ทุกสาขาวิชา    ผู้ที่เพิ่งฝึกเขียนโปรแกรมใหม่ ๆ หรือผู้ที่ไม่ใช่นักเขียนโปรแกรมมืออาชีพ แต่เป็นเพียงวิศวกรหรือนักวิจัย จะสามารถหัดเขียนโปรแกรมภาษาเบสิกได้ในเวลาไม่นานนัก ปกติภาษาเบสิกส่วนใหญ่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์
    4) ภาษาปาสคาล (Pascal)
ตั้ง ชื่อตามนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ เบลส ปาสคาล (Blaise Pascal) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องคิดเลขโดยใช้เฟืองหมุน ภาษาปาสคาลคิดขึ้นในปี พ.ศ. 2514 โดยนิคลอส เวียซ (Niklaus Wirth) ศาสตราจารย์วิชาคอมพิวเตอร์ชาวสวิต ภาษาปาสคาลได้รับการออกแบบให้ใช้ง่ายและมีโครงสร้างที่ดี จึงเหมาะกับการใช้สอนหลักการเขียนโปรแกรม ปัจจุบันภาษาปาสคาลยังคงได้รับความนิยมใช้ในการเรียนเขียนโปรแกรม คอมพิวเตอร์
     5)  ภาษาซีและซีพลัสพลัส (C และ C++)
ภาษา ซีเป็นภาษาที่พัฒนาจากห้องปฏิบัติการเบลล์ของบริษัทเอทีแอนด์ทีในปี พ.ศ. 2515 หลังจากที่พัฒนาขึ้นได้ไม่นาน ภาษาซีก็กลายเป็นภาษาที่นิยมในหมู่นักเขียนโปรแกรมมาก และมีใช้งานในเครื่องทุกระดับ ทั้งนี้เนื่องจากภาษาซีได้รวมเอาข้อมูลของภาษาระดับสูงและภาษาระดับต่ำเข้า ไว้ด้วยกัน กล่าวคือเป็นภาษาที่มีไวยากรณ์ที่เข้าใจง่าย ทำให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายเช่นเดียวกับภาษาระดับสูงทั่วไป แต่ประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานดีกว่ามาก เนื่องจากมีการทำงานเหมือนภาษาระดับต่ำ สามารถทำงานได้ในระดับที่เป็นการควบคุมฮาร์ดแวร์ได้มากกว่าภาษาระดับสูงอื่น ๆ ดังจะเห็นว่าภาษาซีเป็นภาษาที่สามารถพัฒนาระบบปฏิบัติการได้ เช่น ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
นอก จากนี้เมื่อแนวคิดของการเขียนโปรแกรมแบบเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming : OOP) ได้เข้ามามีบทบาทในวงการคอมพิวเตอร์มากขึ้น ภาษาซีก็ยังได้รับการพัฒนาโดยประยุกต์ใช้กับการเขียนโปรแกรมดังกล่าว เกิดเป็นภาษาใหม่ชื่อว่า “ภาษาซีพลัสพลัส” (C++)
    6)  ภาษาวิชวลเบสิก (Visual Basic)
เป็น ภาษาที่พัฒนาต่อมาจากภาษาเบสิก  ใช้ไวยากรณ์บางส่วนของภาษาเบสิกในการเขียนโปรแกรม   แต่มีแนวคิดและวิธีการพัฒนาโปรแกรมที่แตกต่างจากภาษาเบสิกโดยสิ้นเชิง รวมทั้งการใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำก็แตกต่างกันมาก ทั้งนี้เนื่องจากภาษาวิชวลเบสิกใช้แนวคิดที่ต่างออกไป
7)  การเขียนโปรแกรมแบบจินตภาพ (Visual Programming)
ภาษา นี้พัฒนาขึ้นโดยบริษัทไมโครซอฟต์ออกแบบเพื่อเขียนโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้ บนระบบปฏิบัติการแบบจียูไอ เช่น ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์ มีการติดต่อกับผู้ใช้โดยใช้รูปภาพ การเขียนโปรแกรมทำได้ง่ายกว่าการเขียนโปรแกรมแบบเก่ามาก
     8)  ภาษาจาวา (Java)
พัฒนา ขึ้นในปี พ.ศ. 2534 โดยบริษัทซันไมโครซิสเตมส์ เป็นภาษาที่ได้รับความนิยมสูงมาโดยตลอด เนื่องจากเป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถเขียนโปรแกรมและใช้งานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภทและระบบ ปฏิบัติการทุกรูปแบบ ในช่วงแรกที่เริ่มมีการนำภาษาจาวามาใช้งานจะเป็นการใช้งานบนเครือข่ายอิน เทอร์เน็ต เป็นภาษาที่เน้นการทำงานบนเว็บ แต่ปัจจุบันสามารถสามารถนำมาประยุกต์สร้างโปรแกรมใช้งานทั่วไปได้
นอก จากนี้ เมื่อเทคโนโลยีของการสื่อสารก้าวหน้าขึ้น จนกระทั่งเครื่องคอมพิวเตอร์ปาล์มท็อป หรือ แม้แต่โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตและใช้งาน ระบบเวิลด์ไวด์เว็บได้ ภาษาจาวาก็สามารถสร้างส่วนที่เรียกว่า “แอปเพล็ต” (Applet) ให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่กล่าวข้างต้น เรียกใช้งานจากเครื่องที่เป็นแม่ข่าย (Server) ได้
    9)  ภาษาเดลฟาย (Delphi)
เป็น ภาษาที่ได้รับความนิยมภาษาหนึ่ง แนวคิดในการเขียนโปรแกรมภาษาเดลฟายเหมือนกับแนวคิดในการเขียนโปรแกรมภาษาวิ ชวลเบสิก คือเป็นการเขียนโปรแกรมเชิงจินตภาพ แต่ภาษาพื้นฐานที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมจะเป็นภาษาปาสคาล  ในการเขียนโปรแกรมเชิงจินตภาพนี้มีคอมโพเนนต์ (Component) ที่สามารถใช้เป็นส่วนประกอบเพื่อสร้างส่วนติดต่อผู้ใช้ที่เป็นแบบกราฟิก ทำให้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนามีความน่าสนใจและใช้งานง่ายขึ้น การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาเดลฟายจึงเป็นที่นิยมในการนำไปพัฒนาเป็นโปรแกรมใช้ งานมาก รวมทั้งภาษาปาสคาลเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย เหมาะแก่การนำมาใช้สอนเขียนโปรแกรม
     4.  ภาษาระดับสูงมาก 

 เป็น ภาษาโปรแกรมยุคที่ 4 ซึ่งเป็นภาษาระดับสูงมาก จัดเป็นภาษาไร้กระบวนคำสั่ง หมายความว่าผู้ใช้ เพียงบอกแต่ว่าให้คอมพิวเตอร์ทำอะไร โดยไม่ต้องบอกคอมพิวเตอร์ว่าสิ่งนั้นทำอย่างไร เรียกว่าเป็นภาษาเชิงผลลัพธ์ คือเน้นว่าทำอะไร ไม่ใช่ทำอย่างไร ดังนั้นจึงเป็นภาษาโปรแกรมที่เขียนง่าย

     5. ภาษาธรรมชาติ 

 เป็น ภาษาโปรแกรมยุคที่ 5 ซึ่งคล้ายกับภาษาพูดตามธรรมชาติของคน การเขียนโปรแกรมง่ายที่สุด คือการเขียนคำพูดของเราเองว่าเราต้องการอะไร ไม่ต้องใช้คำสั่งงานใดๆ เลย

ตัวอย่างภาษาในยุคต่างๆ ดังนี้

Fortran : ภาษาระดับสูงภาษาแรก เป็นภาษาโปรแกรมที่ใช้งานด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และด้านคณิตศาสตร์ ภาษาฟอร์เทนจะประกอบด้วยข้อความ คำสั่ง ทีละบรรทัด

Colbol : ภาษาโปรแกรมสำหรับธุรกิจ ที่มีลักษณะคล้ายกับภาษาอังกฤษ และที่สำคัญคือ เป็นภาษาโปรแกรมที่อิสระจากเครื่อง หมายความว่า โปรแกรมที่เขียนขึ้นใช้งานบนคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งเพียงแค่ปรับปรุงเล็กน้อย ก็สามารถรันได้บนคอมพิวเตอร์อีกชนิดหนึ่ง

Basic : ภาษาโปรแกรมสำหรับผู้เริ่มต้น เป็นภาษาโปรแกรมที่เรียนรู้ง่าย ไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับใช้ในวงการศึกษา

Pascal : เป็นภาษาสำหรับการเรียนการสอนโดยเฉพาะ เป็นภาษาที่เขียนง่าย ใช้ถ้อยคำน้อย

Ada : ภาษามาตรฐาน ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย โปรแกรมเมอร์คนแรก คือ เคาต์ Add Lovelace เป็นภาษาที่ประสบความเร็จกับงานด้านธุรกิจ

C : ภาษาสมับใหม่ เป็นภาษาที่ใช้สำหรับเขียนโปรแกรมระบบปฎิบัติการ เหมาะสำหรับโปรแกรมเมอร์ที่มีความสามารถสูง

ALGOL : เป็นภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมด้านวิทยาศาสตร์

LISP : เป็นภาษาที่ใช้เมื่อประมวลผลด้านสัญลักษณ์, อักขระ,หรือคำต่างๆ ซึ่งเป็นการได้ตอบระหว่างคนกับคอมพิวเตอร์ ภาษานี้นิยมใช้เขียนโปรแกรมด้านปัญญาประดิษฐ์

Prolog : เป็นภาษาโปรแกรมสำหรับงานด้านปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งแทนการใช้ภาษาLISP

PL/1 : เป็นภาษาที่เรียนรู้ง่าย ใช้งานทั้งด้านวิทยาศาสตร์ และด้านธุรกิจ ดังนั้นภาษานี้จะมีขนาดใหญ่ มี option มาก

ALP : เป็นภาษที่เหมาะสมกับการทำตาราง มีสัญลักษณ์ต่างๆ มาก

Logo : เป็นภาษาย่อยของ lisp เป็นโปรแกรมสำหรับเด็ก มีการสนทนาโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ โดยใช้ “เต่า” เป็นสัญลักษณ์โต้ตอบกับคำสั่งง่ายเช่น forward, left

Pilot : เป็นภาษาโปรแกรมที่นิยมใช้มากที่สุดในการเขียนโปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน(CAI) เช่น งานเกี่ยวกับคำสั่ง ฝึกหัด การทดสอบ เป็นต้น

Smalltalk : เป็นภาษาเชิงโต้ตอบกับเครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยการจำ และการพิมพ์ เป็นภาษาที่สนับสนุนระบบคอมพิวเตอร์ภาพ เป็นภาษาเชิงวัตถุไม่ใช่เชิงกระบวนการ

Forth : เป็นภาษาสำหรับงานควบคุมแบบทันที เช่นการแนะนำกล้องดาราศาสตร์ และเป็นภาษาโปรแกรมที่มีความเร็วสูง

Modula-2 : คล้ายคลึงกับภาษาปาสคาล ออกแบบมาเพื่อให้เขียนซอฟต์แวร์ระบบ

RPG : เป็นภาษาเชิงปัญหา ออกแบบมาเพื่อใช้แก้ปัญหาการทำรายงานเชิงธุรกิจ เช่น การปรับปรุงแฟ้มข้อมูล

ทรี่มา : https://sites.google.com/site/programcomputer56/home/phasa-khxmphiwtexr

 

9.ภาษาชั้นสูงคืออะไร ยกตัวอย่างประกอบ

ตอบ   ภาษาระดับสูง (High Level Language)
ภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรมกล่าวคือลักษณะของคำสั่งจะประกอบด้วยคำต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้อ่านสามารถเข้าใจความหมายได้ทันที ผู้เขียนโปรแกรมจึงเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงได้ง่ายกว่าเขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีหรือภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีมากมายหลายภาษา อาทิเช่น ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) ภาษาโคบอล (COBOL) ภาษาปาสคาล (Pascal) ภาษาเบสิก(BASIC) ภาษาวิชวลเบสิก (Visual Basic) ภาษาซี (C) และภาษาจาวา (Java) เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงแต่ละภาษาจะต้องมีโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง เช่น โปรแกรมแปลภาษาฟอร์แทรนเป็นภาษาเครื่อง โปรแกรมแปลภาษาปาสคาลเป็นภาษาเครื่อง

ตัวอย่างภาษาระดับสูง

        1. ภาษาเบสิค (BASIC ย่อมาจาก Beginnig’s All Purpose Symbolic Instruction Code) เป็นภาษาที่นิยมมากที่สุดภาษาหนึ่ง ส่วนมากใช้กับมินิและไมโครคอมพิวเตอร์ เพราะสื่อสารโต้ตอบได้ทันที (Interactive language) การเขียนค่อนข้างง่าย การแก้ไขโปรแกรมก็สะดวก ภาษานี้จะต้องใช้ตัวแปลประเภท “ตัวแปลคำสั่ง” (Interpreter) แปลให้เป็นภาษาเครื่อง การแปลนั้นจะแปลทีละคำสั่ง แล้วปฏิบัติการตามคำสั่งเลย ถ้ามีการสั่งให้ทำซ้ำ ก็จะต้องแปลใหม่ทุกครั้ง
        ภาษาเบสิก เป็นภาษาที่เก่าแก่และได้รับการคิดค้นขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการเรียนและใช้นักวิชาการคอมพิวเตอร์เองไม่ชอบภาษานี้ และกล่าวหาว่าเป็นภาษาที่มีโครงสร้างภาษาไม่ค่อยดีจึงไม่ส่งเสริมให้นำไปใช้ในการเขียนโปรแกรมอย่างจริงจัง อย่างไรก็ตามผู้ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์เห็นไม่ตรงกัน คือคิดว่าเป็นภาษาที่ง่าย ดังนั้นจึงบรรจุตัวแปลภาษานี้เอาไว้ในหน่วยความจำรอม เพื่อให้ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ใช้ภาษานี้ได้
        2. ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN คำนี้ย่อมาจาก Formular Translator) เริ่มพัฒนาขึ้นใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1954 โดยบริษัท IBM ได้ว่าจ้างให้ประดิษฐ์ขึ้น เพื่อใช้ในการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ ภาษานี้ได้มีการดัดแปลงแก้ไขมาตลอดจาก FORTRAN I จนมาเป็น FORTRAN 77 ภาษานี้เหมาะกับงานคำนวณมาก จึงเป็นที่นิยมในกลุ่มวิศวกร นักสถิติและนักวิจัย ในการคำนวณจะมีฟังก์ชันต่างๆ ไว้ให้เรียกใช้ได้เต็มที่ เช่น การหารากที่สอง การหาค่าสัมบูรณ์ เป็นต้น แต่ไม่สามารถสั่งพิมพ์ผลหรือรายงานได้ดีเหมือนภาษาโคบอล

ที่มา : http://www.chakkham.ac.th/krusuriya/index.php?option=com_content&view=article&id=97&Itemid=114

http://www4.csc.ku.ac.th/~b5340204758/lean7.html

 

10.จงบอกวิธีการเลือกซื้อซอฟต์แวร์

ตอบ  

ข้อ 1 มีซอฟต์แวร์ทดลองใช้งานหรือไม่
ค่อน ข้างถือเป็นอันดับแรกในการเลือกซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานกับธุรกิจของคุณ เนื่องจากการได้ทดลองใช้งานถือเป็นทางเลือกในการทดสอบและทดลองซอฟต์แวร์ว่า เหมาะกับธุรกิจหรือไม่ อีกประการคือถือเป็นการตรวจสอบซอฟต์แวร์ของผู้ผลิตด้วยว่าใช้งานได้จริงตาม ที่โฆษณาไว้หรือไม่ ถ้าหากดีจริงก็ค่อยซื้อมาใช้งาน ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะซื้อโปรแกรมทันทีหลังจากที่ดูจากการสาธิตเพราะการสาธิต นั้นจะยกเอาเฉพาะข้อดีของโปรแกรมมาให้ และค่อนข้างเป็นการทำงานที่หลอกตาเนื่องจากยังไม่มีการป้อนข้อมูลจริงลงไป บางบริษัทอาจบอกว่าไม่มีนโยบายเพราะกลัวลูกค้าใช้งานไม่เป็นก็ให้บอกปัดไป ได้เลย แหม ถ้าเราเอามาลองใช้เองไม่เป็นแล้วจะเอามาให้ทำไม อย่างน้อยที่สุดในแต่ละโปรแกรมจะต้องมีรายการช่วยเหลืออธิบายถึงวิธีการใช้ งานเพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง และถ้าหากซอฟต์แวร์ของบริษัทใดที่ไม่มีให้ทดลองใช้งานก็อาจต้องระแวงไว้ก่อน ว่า ซอฟต์แวร์นั้นค่อนข้างมีปัญหาในบางจุดหรือที่เรียกว่า Bug นั่นเอง

 

ข้อ 2 พิจารณาถึงประวัติของบริษัทในด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์
สำหรับ การพิจารณาในจุดนี้ก็เพื่อที่จะเป็นการการันตีว่า เมื่อเราซื้อสินค้าของบริษัทนี้แล้วจะได้รับการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้มีความ สามารถใหม่ ๆ ทันยุคของโลกปัจจุบันเสมอ เนื่องจากทุกวันนี้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก ไม่ถึง 5 ปีก็จะต้องมีการอัพเดทซอฟต์แวร์ แต่หากขาดบริษัทที่มีความสามารถในการพัฒนาซอฟต์แวร์แล้ว เราก็จะต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในการจัดซื้อซอฟต์แวร์ตัวใหม่มาใช้งานอีก
ข้อ 3 พิจารณาถึงระบบปฏิบัติการที่ใช้งานร่วม
โดย ส่วนใหญ่เรามักทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการเป็น Windows หากซอฟต์แวร์ตัวใดที่มีการทำงานบนระบบดอส ซึ่งถือว่าล้าหลังมากก็ไม่ควรที่จะซื้อหามาใช้งานเพราะไม่รองรับกับ เทคโนโลยีที่จะมีมาในอนาคตนั่นเอง โดยเล่ห์เหลี่ยมของผู้ขายซอฟต์แวร์มักจะบอกว่าใช้ได้ทั้งดอสและ Windows แต่ปรากฏว่าเมื่อใช้งานจริงใช้ได้เฉพาะระบบดอสข้อนี้จึงควรระวังก่อนการ เลือกใช้

 

ข้อ 4 พิจารณาถึงบริการหลังการขาย
การ พิจารณาบริการหลังการขาย ถือเป็นจุดสำคัญในการเลือกซอฟต์แวร์เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการทำงานบางอย่างของระบบอาจเกิดข้อผิดพลาดเมื่อใช้งานนานวันเข้า สำหรับการทดสอบในจุดนี้ก็ทำได้ไม่ยาก ก่อนอื่นควรที่จะดูบริการก่อนการซื้อก่อนว่ามีการให้คำปรึกษาเป็นอย่างไร โทรเข้าไปสอบถาม หรือเข้าไปที่บริษัทแล้วได้รับการต้อนรับอย่างไร โดยเฉพาะในช่วงของการทดลองใช้โปรแกรมหากขอรับความรู้หรือขอทราบการแก้ไข ปัญหาแล้วได้รับการแก้ไขหรือตอบรับที่ดีก็ถือเป็นอีกหนึ่งจุดที่ชี้วัดต่อ การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ของบริษัทนั้น ๆ

 

ข้อ 5 คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย
โดย ส่วนใหญ่ซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นมาในปัจจุบันจะเขียนในลักษณะที่ค่อนข้างครอบ คลุมหลายธุรกิจให้สามารถนำไปประยุกต์ให้เข้ากับการทำงานในแต่ละส่วนแต่ละ กิจการ เราจึงควรศึกษาถึงส่วนประกอบต่าง ๆ ว่าในหน่วยงานมีการใช้งานหรือไม่ ส่วนใดที่สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้หรือไม่ได้จะได้เป็นการลดส่วนที่ไม่จำ เป็นออกไปและค่อนข้างประหยัดงบประมาณลงไปอีก นอกจากนี้การพิจารณาเลือกหน้าจอของซอฟต์แวร์ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่ต้อง พิจารณาร่วมด้วย เนื่องจากหน้าจอที่มีสีสันฉูดฉาดบาดตา อาจดูสวยงามในช่วงแรก แต่เมื่อมีการใช้งานนานไป ก็อาจทำให้เกิดความลำบากต่อการมองหรือทำงานได้
ที่มา : http://www.rightsoftcorp.com/?name=news&file=readnews&id=2

 

 

0

แบบฝึกหัดที่ 4 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ข้อ 1. ให้นักึกษาแต่ละคนไปหา Spec ของเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) หรือ Notebook 1 เครื่อง บอกคุณสมบัติของ Spec เหล่านั้น

1. CPU
– Intel Core i5- 4430
2. Hard disk
– Western Digital Blue 1 TB
3. RAM
– Kingston Hyper-x DDR3 4 GB 1600
4. CD – ROM Diver
– Asus DVD – RW 24X (24D3ST)
5. Monitor
– จอภาพแบบ LED Monitor ขนาด 20 นิ้ว
6. Sound Card
– Asus XONAR U7 soundcard 7.1 CH USB

 

 

1. CPU (Central Processing Unit)
คือ หน่วยประมวลผลกลาง
ทำหน้าที่  คำนวณค่า ประมวลผล และควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆในระบบ CPU

CPU ในการทำงานประกอบไปด้วย

– 1.1 core คือ    หน่วยประมวลผลย่อย

มีหน้าที่   คำนวณค่าความเร็วในการบวกเลข

– 1.2 cache คือ หน่วยความจำ

มีหน้าที่  เป็นกระดาษช่วยจำคอยบันทึกข้อมูลเพื่อนำไปคำนวณ

– 1.3 FSB คือ เส้นทางในการรับส่งข้อมูลของคอมพิวเตอร์

2. ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)
คือ  อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล

3. แรม (RAM)
คือ  หน่วยความจำชั่วคราว

4. CD-ROM Drive

คือ  เครื่องขับแผ่น CD ที่ติดตั้งอยู่หน้า Case การใช้งานต้องวางแผ่นลงบนถาดที่เลื่อนออกมาจาก CD-ROM Drive จากนั้นเพียงกดปุ่ม ถาดก็จะ เคลื่อนกลับเข้าไป พร้อมที่จะเล่นแผ่นได้ 

5. Monitor

คือ  จอมอนิเตอร์หรือว่าจอภาพ  มีความสำคัญสำหรับการแสดงผลข้อมูลให้กับทางด้านสายตา  ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลอะไรก็ตามที่เราสามารถที่จะดูได้ทางจอภาพไม่ว่าจะเป็น  ภาพ  แสง  สี ตัวหนังสือ  ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ในการแสดงผลหลักเลยก็ว่าได้หากไม่มีก็ไม่สามารถที่จะตรวจสอบสถานะต่างๆได้  และด้วยการแสดงผลที่ต้องมีคุณภาพจึงมีเทคโนโลยีต่างๆ  ที่พัฒนาขึ้นจากที่เคยเป็นจอขาวดำเหมือนเมื่อก่อน  แต่ก็ได้เป็นสี  โดยทั่วไปแล้วจอภาพที่เราใช้อยู่มีหลายแบบ  ทั้ง CRT  LCD cและ LED

6. sound card

คือ อุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถแสดงผลออกมาในรูปแบบเสียงได้ โดยจะทำหน้าที่ควบเรื่องเสียง อย่างเช่น ถ้าวงจรเสียงใช้กับเกมส์ที่เราเล่นจะเกิด เสียงต่าง ๆ   หรือสร้างเสียงเอฟเฟคต่าง ๆ เข้าเป็น วงจรเสียงที่ใช้กับดนตรีชนิดต่าง ๆ สำหรับสร้างสรรค์งานเพลงที่เราต้องการให้มีคุณภาพของเสียงที่ดีขึ้นกว่าเดิม โดยคุณภาพเสียงจะขึ้นอยู่กับรุ่นและยี่ห้อของ Sound Card

ที่มา : http://www.mindphp.com/

 

ข้อ 2. เปรียบเทียบเครื่องพิมพ์ 3 ชนิด คือ acer  Inkjet และหัวเข็ม

เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser printer)

r.gif
          เครื่องพิมพ์เลเซอร์ เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือยิงเลเซอร์ไปสร้างภาพบนกระดาษในการสร้างรูปภาพ หรือตัวอักษร ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาจะมีคุณภาพสูงมาก และราคาเครื่องพิมพ์ก็มีราคาสูงมากด้วยเช่นกัน ซึ่งเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะทำงานได้เร็วกว่าเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก และคุณภาพของผลลัพธ์ทั้งด้านความคมชัดและรายละเอียดทำออกมาได้ดีกว่าแบบพ่น หมึกมาก

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/เครื่องพิมพ์

 

เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท (Inkjet Printer)

เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท (Inkjet Printer).jpg

          เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท แต่เดิมสามารถพิมพ์ได้ 4 สีโดยใช้หมึกเติม แต่ในปัจจุบัน มีเพิ่มเข้ามา 6 สี หรือ 8 สี เพื่อลดปัญหาในการผสมสี แต่จะมี 4 สีเป็นแม่พิมพ์หลัก ซึ่งข้อดีของเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท คือ ภาพที่ออกมากจะสวยงามกว่า เครื่องปริ้นเลเซอร์ ซึ่งจะดูมีความเป็นธรรมชาติ ความคมชัดสูง แต่จะใช้เวลาพิมพ์นานกว่า

          Inkjet Printer เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไป ที่ไม่ใช่ร้านค้า หรือสำนักงาน เพราะการพิมพ์ไม่เยอะ ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่ม นักศึกษา นักเรียน วัยเรียน แต่ก็จะมีบริษัทใหญ่บางบริษัทที่ใช้อิงค์เจ็ทเพราะเน้นงานที่มีความสวยงามเป็นหลัก เช่น สตูดิโอ

ที่มา : http://www.lasuprint.com/

 

เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ (Dot-matrix printer)

;.jpg

          เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ การทำงานของเครื่องพิมพ์ประเภทนี้คือจะใช้การสร้างจุดลงบนกระดาษ ซึ่งหัวพิมพ์จะมีลักษณะเป็นหัวเข็ม เมื่อต้องการพิมพ์รูปทรงหรือรูปภาพใดๆ หัวเข็มที่อยู่ในตำแหน่งตามรูปประกอบนั้นๆ จะยื่นออกมามากกว่าหัวอื่นๆ และกระแทกกับผ้าหมึกลง กระดาษที่ใช้ พิมพ์ จะทำให้เกิดจุดมากมายประกอบกันเป็นรูปเกิดขึ้นมา เครื่องพิมพ์ประเภทนี้เป็นที่นิยมกันอย่างมากเพราะมีราคาถูกและคุณภาพเหมาะ สมกับราคา แต่ข้อเสียคือเวลาสั่งพิมพ์จะเกิดเสียดังพอสมควร

เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ ในปัจจุบันส่วนใหญ่ นิยมใช้กันมี 2 แบบ
1. เครื่องพิมพ์แบบ 9 เข็ม
2. เครื่องพิมพ์แบบ 24 เข็ม

 

ที่มา :  http://th.wikipedia.org/wiki/เครื่องพิมพ์
ข้อ 3. CD กับ DVD แตกต่างกันอย่างไร

 ซีดี (Compact Disc) คือแผ่นออพติคอลเก็บข้อมูลดิจิทัลต่าง ๆ ซึ่งเดิมพัฒนาสำหรับเก็บเสียงดิจิทัล ซีดีคือมาตรฐานรูปแบบการบันทึกเสียงทางการค้าในปัจจุบัน
        แผ่นซีดี หรือซีดี-รอม (CD-ROM : Compact Disc-Read Only Memory) ประดิษฐ์ในนามบริษัท จุดเริ่มต้นคือปี 1978 บริษัทฟิลิปส์และโซนี่จับมือกันผลิตคอมแพ็กดิสก์สำหรับบันทึกเสียง หรือ ซีดขึ้น ซึ่งขณะนั้นฟิลิปส์พัฒนาเครื่องเล่นเลเซอร์ดิสก์ออกจำหน่ายแล้ว และโซนี่ก็ได้วิจัยการบันทึกเสียงแบบดิจิตอลมานานนับสิบปีแล้ว
         ดีวีดี (Digital Video Disc หรือ Digital Versatile Disc : DVD) คือ ซีดีที่สามารถบันทึกข้อมูล ภาพ เสียง และข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ได้ และถึงแม้ดีวีดีจะมีหน้าตาเหมือนกันกับซีดี แต่ว่าสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่าถึง 7 ถึง 14 เท่าเลยทีเดียว จุดมุ่งหมายของดีวีดีก็เพื่อที่จะรวบรวมข้อมูลทุก ๆ อย่าง เช่น ความบันเทิงภายในบ้าน ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ หรือในธุรกิจไว้ในแผ่นเพียงแผ่นเดียว รวมถึงเข้ามาแทนที่แผ่นซีดี วีดีโอเทป เลเซอร์ดิสก์ ซีดีรอม หรือแม้กระทั่งวีดีโอเกมส์ ขณะนี้ดีวีดีกำลังได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง เนื่องจาก ดีวีดีให้ภาพและเสียงที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับโทรทัศน หรือเทปวีดีโอทั่ว ๆ ไป นอกจากนั้นยังใช้งานสะดวก และทนทานกว่าด้วย

         รูปแบบของแผ่นดีวีดี
         • แผ่น DVD-ROM เป็นแผ่นดีวีดีที่บันทึกข้อมูลเพียงอย่างเดียวเหมือนกับซีดีรอม โดยการบันทึกข้อมูลจากโรงงาน เราไม่สามารถบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมได้
         • แผ่น DVD-R (DVD-Recordable) เป็นแผ่นดีวีดีที่สามารถบันทึกข้อมูลได้เพียงครั้งเดียว โดยสามารถบันทึกได้ทั้งข้อมูลเพลงและวิดีโอ ขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่ใช้เขียนแผ่น
         • DVD-RW (DVD-Rewritable) สามารถเขียนข้อมูลซ้ำได้หลายครั้ง จะเล่นได้กับไดรว์ DVD-R/RWบนเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น
         • แผ่น DVD+R/RW เป็นแผ่นที่ใกล้เคียงกับ DVD-RW เป็นมาตรฐานที่ทำให้แผ่นที่สามารถเขียนซ้ำได้ สามารถนำไปใช้งานได้กับเครื่องเล่นดีวีดีอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ไดร์วของดีวีดีบนคอมพิวเตอร์
         • แผ่น DVD-RAM (DVD-Random Access Memory) เป็นดิสก์แบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยม สามารถบันทึกซ้ำได้เช่นเดียวกับ DVD-R, DVD+R/RW การบันทึกข้อมูลจะเป็นแบบฮาร์ดดิสก์ ซึ่งจะต้องมีไดร์ฟชนิดพิเศษในการอ่านและเขียนข้อมูล จะใช้งานผ่านไดร์ฟดีวีดีปกติไม่ได้ แต่ข้อดีของดีวีดีชนิดนี้ก็คือ สามารถบันทึกข้อมูลซ้ำได้มากกว่า 100,000 ครั้งทำให้มันถูกนำไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบใหม่มากขึ้น เช่น กล้องดิจิทัล

         คุณสมบัติพิเศษของดีวีดี
         1. คุณภาพของภาพและเสียง ระบบภาพของดีวีดีถูกบันทึกโดยใช้การบีบอัดภาพแบบ MPEG-2 ซึ่งจะให้คุณภาพของภาพและเสียงที่ดีกว่า
         2. การแสดงภาพแบบ Wide-Screen เนื่องจากโทรทัศน์ที่ใช้กันอยู่มีอัตราส่วนของจอภาพเป็น 4:3 แต่ภาพยนตร์ที่สร้างในปัจจุบันมีอัตราส่วนของภาพเป็น 16 : 9 หรือ 20 : 9 ดังนั้นเวลาที่นำภาพยนตร์มาบันทึกลงวิดีโอก็จะต้องตัดขอบบนและขอบล่างบางส่วนทิ้ง ด้วยเทคโนโลยีของดีวีดี ทำให้ชมภาพยนตร์ที่มีอัตราส่วน 16 : 9 ได้ซึ่งหมายความว่าจะต้องใช้ร่วมกับโทรทัศน์แบบWide-Screen ด้วย
         3. เลือกการทำงานแบบ Interactive เราสามารถเลือกมุมกล้องในการดูได้มากกว่า 1 มุมกล้อง ดีวีดีจะมีรายการให้เลือกรูปแบบการทำงาน ทำให้ผู้ใช้สามารถกำหนดสิ่งที่ตัวเองต้องการรับชมเหมือนกับเป็นผู้กำกับหนัง ซึ่งทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับแผ่นโปรแกรมแต่ละแผ่นด้วย
         4. สามารถให้ผู้ปกครองสามารถกำหนดรหัสผ่านในการชมภาพยนตร์ที่มีเรทอันไม่เหมาะสมกับอายุของเด็ก ๆ นอกจากนี้ยังสามารถชมภาพยนตร์ในแผ่นเดียวกันแต่เป็นเวอร์ชั่นในระดับที่ต่างกันได้
         5. วิดีโอหลายภาษา ผู้ชมภาพยนตร์สามารถเลือกภาษาที่ตนต้องการได้ เพราะแผ่นดีวีดีหนึ่งแผ่นจะเก็บซาวด์แทรคได้ถึง 8 ภาษาและคำบรรยายใต้ภาพอีก 32 ภาษา 

 

ที่มา : http://www.st.ac.th/av/inno_cddvd.htm