แบบฝึกหัดที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศ

ข้อ 1.ยกตัวอย่างระบบสารสนเทศที่ นศ. พบเห็นในชีวิตประจำวันมาอย่างน้อย 5 ระบบ

ตอบ  การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิผล มีมากมายหลายด้าน ได้แก่ 

1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานสำนักงาน ปัจจุบันสำนักงานได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อให้งานในสำนักงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น กล่าวคือ ทำให้งานมีความสะดวกรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้ในงานสำนักงาน ได้แก่ เครื่องพิมพ์ดีด อิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์ เครื่องถ่ายเอกสาร ผลิตภัณฑ์เหล่านี้นำไปประยุกต์ใช้กับงานสำนักงานได้หลายลักษณะ เช่น
        1.1 งานจัดเตรียมเอกสาร เป็นการใช้เครื่องประมวลผลคำหรือเครื่องประมวลผลเนื้อหา เป็นเครื่องมือในการจัดเตรียม อุปกรณ์ประกอบการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็ม และช่องทางการสื่อสาร ระบบประมวลผลคำ แบ่งออกได้ 2 ระบบ คือ
            1.1.1 ระบบเดี่ยว (Stand – alone) เป็นระบบที่สามารถประมวลผลได้ภายในคอมพิวเตอร์ชุดเดียว หรือจะเชื่อมโยงไปยังคอมพิวเตอร์อื่น ๆ
            1.1.2 ระบบเชื่อมโยงกับข่ายการสื่อสาร เป็นระบบที่มีการเชื่อมโยงสารสนเทศซึ่งกันและกันผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม เช่น เครือข่ายโทรศัพท์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์
        1.2 งานกระจายเอกสาร เป็นการกระจายข้อมูลสารสนเทศไปยังผู้ใช้ ณ จุดต่าง ๆ อาจกระทำโดยการเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถปฏิบัติงานกระจายเอกสารได้โดยอัตโนมัติ ได้แก่ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

        1.3 งานจัดเก็บและค้นคืนเอกสาร สามารถทำได้ทั้งระบบออฟไลน์และระบบออนไลน์ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือผ่านเครือข่ายโทคมนาคมรูปแบบอื่น เช่นระบบฐานข้อมูลเป็นต้น

 

      
       

1.4 งานจัดเตรียมสารสนเทศในลักษณะภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ดำเนินงานดังกล่าว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องสแกนเนอร์ โทรทัศน์

        1.5 งานสื่อสารสนเทศด้วยเสียง เช่น โทรศัพท์ การประชุมทางโทรศัพท์
 
        1.6 งานสื่อสารสนเทศด้วยภาพและเสียง เช่น ระบบมัลติมีเดีย ระบบการประชุมทางไกลด้วยภาพและเสียง เป็นต้น
2. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรมนำเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเข้ามาช่วยในการจัดการระบบงานการผลิต การสั่งซื้อ การพัสดุการเงิน บุคลากร และงานด้านอื่น ๆ ในโรงงาน
3. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการเงินและการพาณิชย์ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของเครื่องเบิกถอนเงินอัตโนมัติ เพื่ออำนวยความสะดวกในการฝาก ถอน โอนเงิน และนำคอมพิวเตอร์ระบบออนไลน์และออฟไลน์เข้ามาช่วยในการทำงานประจำวันของธนาคารด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลของธนาคารต่างสาขา ต่างธนาคาร ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเบิก ถอน โอนเงินชำระเงินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้
 
4. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านการสื่อสาร ได้แก่ การบริการโทรศัพท์วิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี การค้นคืนสารสนเทศระบบออนไลน์ ดาวเทียม และโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล
5. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการฝึกอบรมการศึกษา ดังนี้
        5.1 การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) เป็นการนำเอาคำอธิบายบทเรียนมาบรรจุไว้ในคอมพิวเตอร์ แล้วนำบทเรียนนั้นมาแสดงแก่ผู้เรียน เมื่อผู้เรียนอ่านคำอธิบายเหล่านั้น คอมพิวเตอร์จะมีส่วนที่ใช้ทดสอบความเข้าใจของผู้เรียนด้วยว่าถูกต้องหรือไม่ หากเข้าใจไม่ถูกต้องคอมพิวเตอร์จะทำการอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมให้เข้าใจมากขึ้น แล้วถามซ้ำอีก
        5.2 การศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการศึกษาทางไกลมีหลายแบบตั้งแต่แบบง่าย ๆ เช่น การเรียนการสอนผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์ ออกอากาศให้ผู้เรียนศึกษาเอง ตามเวลาที่ออกอากาศ ไปจนถึงใช้ระบบแพร่ภาพการสอนผ่านดาวเทียม หรือการประยุกต์ใช้ระบบประชุมทางไกล โดยผู้สอนและผู้เรียนสามารถสื่อสารถึงกันได้ทันที่ เพื่อสอบถามข้อสงสัยหรืออธิบายคำสอน เพิ่มเติม
        5.3 เครือข่ายการศึกษา เป็นการจัดทำเครือข่ายการศึกษาเพื่อให้ครูอาจารย์และนักศึกษามีโอกาสใช้เครือข่ายเพื่อแสวงหาความรู้ที่มีอยู่มากมายในโลก และใช้บริการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ทาง การศึกษา เช่น บริการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Mail : E-mail) การเผยแพร่และค้นหา ข้อมูลในระบบเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web)
ที่มา  http://mcpswis.mcp.ac.th/html_edu/cgi-bin/mcp/main_php/print_informed.php?id_count_inform=11419
ข้อ 2. สื่อผสมหรือมัลติมีเดียคืออะไร สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านใดได้บ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ  สื่อประสมหรือสื่อหลายแบบ (Multimedia) เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถผสมผสานระหว่างข้อความ ข้อมูล ตัวเลข ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ตลอดจนระบบโต้ตอบกับผู้ใช้ (Interactive) มาผสมผสานเข้าด้วยกัน
        สื่อประสมหรือมัลติมีเดีย หมายถึงการนำเอาสื่อหลาย ๆ อย่าง เช่น รูปภาพ เทป แผ่นโปร่งใส มาใช้ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการเรียนการสอน ต่อมาเมื่อมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้มากขึ้น และสามารถใช้งาน ได้ทั้งภาพนิ่ง เสียง ข้อความและภาพเคลื่อนไหว ทำให้ความหมายของสื่อประสมเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งส่วนประกอบหลัก ที่มีใช้ทั่วไปของคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียจะมี CD-ROM sound card และลำโพง เพิ่มเข้ามาในคอมพิวเตอร์ หรืออาจมีส่วนประกอบที่เกี่ยวกับการใช้งานวิดีโอด้วย นอกจากนี้ยังมีความหมายรวมถึงการใช้การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น เครื่องวิดีโอเทปเสียง ซีดีรอม กล้องดิจิตอล โทรทัศน์ฯลฯ ให้ทำงานร่วมกัน การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมอุปกรณ์หลาย ๆ อย่างดังกล่าวจะต้องอาศัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) และอุปกรณ์ (Hardware) ต่าง ๆ ประกอบกัน บางครั้งจึงเรียกว่าสถานีปฏิบัติการมัลติมีเดีย (Multimedia
workstation)

ประโยชน์ของสื่อประสม

มัลติมีเดีย ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนเรามากยิ่งขึ้น โดยมีประโยชน์ ดังนี้

  • เสนอสิ่งเร้าให้กับผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหา ภาพนิ่ง คำถาม ภาพเคลื่อนไหว
  • นำเสนอข่าวสารในรูปแบบที่ไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับ เช่น บทเรียนมัลติมีเดีย
  • สร้างสื่อเพื่อความบันเทิง
  • สร้างสื่อโฆษณา หรือประชาสัมพันธ์

ประโยชน์ของสื่อ

1. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้จากวัตถุที่เป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนได้สร้างแนวความคิดด้วยตนเอง
2. กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจในเรื่องที่จะเรียนมากขึ้น
3. ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้งายขึ้นและสามารถจดจำได้นาน
4. ให้ประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง
5. นำประสบการณ์นอกห้องเรียนมาให้นักเรียนศึกษาในห้องเรียนได้

ที่มาhttp://www.st.ac.th/av/inno_multimedia.htm

       http://jiranannick.blogspot.com/

 

ข้อ 3.เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร สามารถใช้ประโยชน์จากสารสนเทศได้อย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างพร้อมอธิบาย

ตอบ  คำว่า เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีจึงเป็นค้าที่มีความหมายกว้างไกล เป็นคำที่เราได้พบเห็นและได้ยินอยู่ตลอดม

          ส่วนคำว่า สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนตั้งแต่เกิดมาได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เรียนรู้สภาพสังคมความเป็นอยู่ กฎเกณฑ์และวิชาการ ลองจินตนาการดูว่าภายในสมองของเราเก็บข้อมูลอะไรบ้าง เราคงตอบไม่ได้ แต่สามารถเรียกเอาข้อมูลมาใช้ได้ ข้อมูลที่เก็บไว้ในสมองเป็นสิ่งที่สะสมกันมาเป็นเวลานาน ความรอบรู้ของแต่ละคนจึงขึ้นอยู่กับการเรียกใช้ข้อมูลนั้น ดังนั้นจะเห็นได้ชัดความรู้เกิดจากข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทุกวันนี้มีข้อมูลรอบตัวเรามาก ข้อมูลเหล่านี้มาจากสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การสื่อสารระหว่างบุคคล จึงมีผู้กล่าวว่ายุคนี้เป็นยุคของสารสนเทศ

          เมื่อรวมคำว่า เทคโนโลยี กับ สารสนเทศ เข้าด้วยกัน จึงหมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศเป็เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ เทคโนโลยีสารสนเทศจะรวมไปถึงเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูล เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความหมายที่กว้างขวางมาก นักเรียนจะได้พบกับสิ่งรอบ ๆ ตัวที่เกี่ยวกับการใช้สารสนเทศอยู่มาก

ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ

การนำเทคโนโลยีสารนิเทศมาใช้กับสังคมสารนิเทศใน ปัจจุบันก่อให้เกิดการสื่อสารและการใช้ประโยชน์ จากสารนิเทศได้อย่างเต็มที่  และมีประสิทธิภาพ  ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารนิเทศมีดังต่อไปนี้ คือ

            1. ช่วยให้ติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างสะดวกรวดเร็ว โดยใช้โทรศัพท์  คอมพิวเตอร์หรือในรูปของ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ

            2. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาล ซึ่งผลิตออกมาในแต่ละวัน

            3. ช่วยให้เก็บสารนิเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างสะดวก

            4. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารนิเทศ เช่น ช่วยนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร  ด้วยการช่วยคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยาก ซับซ้อนซึ่งไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยมือ
UploadImage
            5. ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการเก็บ เรียกใช้และประมวลผลสารนิเทศ

            6. สามารถจำลองแบบระบบการวางแผนและทำนาย เพื่อทดลองกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น

            7. อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสารนิเทศดีกว่าสมัยก่อน ทำให้ผู้ใช้สารนิเทศมี ทางเลือกที่ดีกว่า มีประสิทธิภาพกว่า และสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ดีกว่า

            8. ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทางระหว่างประเทศ

 

ที่มา  http://guru.sanook.com/2934/

         https://blog.eduzones.com/moobo/78858

 

ข้อ 4. เครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับพระราชกรณียกิจของในหลวง คือเครือข่ายใด ประโยชน์ที่ได้รับได้แก่อะไรบ้าง

ตอบ  เครือข่ายคอมพิวเตอร์กาญจนาภิเษก

เครือข่ายคอมพิวเตอร์กาญจนาภิเษก คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงข่าวสารจากหน่วยงานต่างๆ ในประเทศไทยที่มีข้อมูลเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น พระราชกรณียกิจ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กระแสพระราชดำรัส ตลอดจนข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับประเทศไทยที่น่าสนใจ และเป็นสิ่งที่คนไทยรู้จัก และภาคภูมิใจ เพื่อให้ประชาชนไทยได้สามารถเข้าถึงได้ โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ และในเวลาเดียวกัน เครือข่ายนี้ยังเปรียบเสมือนศูนย์รวมข้อมูล เกี่ยวกับประเทศไทย ที่ผู้สนใจทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ จากทุกมุมโลกผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการเข้าชมแต่อย่างใด ทั้งนี้เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก และเป็นการเผยแพร่พระราชกรณียกิจ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอดระยะเวลา ๕๐ ปี แห่งการครองราชย์

เครือข่ายกาญจนาภิเษกประกอบด้วยงานหลักสองส่วน คือ เครือข่ายพระราชกรณียกิจ และเครือข่ายกระจายความรู้ให้กับประชาชน

เครือข่ายพระราชกรณียกิจ เป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมต่อหน่วยงานต่างๆ ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับพระราชกรณียกิจ หรือสนองพระราชดำริในงานพัฒนาประเทศ บำบัดทุกข์และบำรุงขวัญแก่ประชาชน โดยหน่วยงานเหล่านี้ จะบรรจุข้อมูลเผยแพร่พระราชกรณียกิจ พร้อมทั้งความรู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ออกเผยแพร่ทางระบบ World-wide Web โดยในขั้นต้น มีหน่วยงานที่อยู่ในโครงการขั้นต้น ๙ หน่วยงาน และจะขยายจำนวนเครือข่ายเพิ่มขึ้นตามความพร้อมของหน่วยงานอื่นๆ ที่จะนำเสนอข้อมูล

เครือข่ายกระจายความรู้สำหรับประชาชน ประกอบด้วยหน่วยงานอื่นๆ ที่มีข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ที่พร้อมเข้าร่วมโครงการนี้ โดยเน้นการให้ประโยชน์แก่วงการศึกษา/วิชาการของเมืองไทย ให้ก้าวหน้าทันโลก โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่สำคัญอันหนึ่ง ตามเป้าหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๘ นอกจากนี้ เครือข่ายกระจายความรู้ ยังเป็นกลไกสำคัญของการพัฒนาการใช้ IT ให้กับประเทศไทย เพราะเครือข่ายส่วนนี้ เปิดโอกาสให้ประชาชนคนไทยที่ยังไม่รู้จักกับอินเทอร์เน็ต ได้ทดลองเข้าถึงเครือข่ายกาญจนาภิเษก (ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเหมือนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต) ได้โดยไม่ต้องเสียค่าสมาชิก หรือ เสียค่าโทรศัพท์ทางไกลข้ามเขตรหัสทางไกล ทั้งนี้เพราะเครือข่ายกระจายความรู้ ได้เปิดบริการขึ้นทั่วประเทศไทยไว้คอยบริการท่าน

และตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นต้นมา ได้มีการพัฒนาให้เครือข่ายกระจายความรู้สำหรับประชาชน ใช้เป็นเครือข่ายเพื่อโรงเรียนไทย ที่ทำให้โรงเรียนจำนวน ๑๕๐๐ โรงเรียน สามารถเข้าถึงระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ โดยใช้เลขหมายโทรศัพท์ ๑๕๐๙ ดังนั้น ทางศูนย์เทคโนโลยีอิเลคทรอนิคส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ จึงได้ยุติการบริการเลขหมาย ๑๕๐๙ เพื่อบุคคลทั่วไป โดยเปลี่ยนเป็นการเน้นการใช้งาน โดยมีบัญชีใช้งานควบคุม และอนุญาตให้เฉพาะการใช้งานเพื่อโรงเรียนต่างๆ ในประเทศไทยเท่านั้น

หมายเหตุ การเข้าถึงเครือข่ายกาญจนาภิเษก โดยผ่านเครือข่ายกระจายความรู้ ไม่อนุญาตการใช้งานอื่นใดนอกเหนือจากการอ่านข้อมูลในเครือข่ายกาญจนาภิเษก เท่านั้น (กล่าวคือ จะใช้ electronic mail หรือไปชมข้อมูลนอกเครือข่ายไม่ได้ หากท่านต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตตามปกติโดยไม่มีขีดจำกัด โปรดขอใช้บริการจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วไป)

ที่มา  http://kanchanapisek.or.th/about/index.th.html

 

 

กิจกรรมปฏิบัติ

คำสั่ง  ให้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตในหัวข้อ “ในชีวิตประจำวันเราใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการทำอะไรบ้าง”

ตอบ  เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร?What is IT?

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) คือ การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน ในระบบสารสนเทศนั้นประกอบด้วย 5 ส่วนหลักๆ ได้แก่ บุคลากร ขั้นตอนการทำงาน ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และข้อมูล ปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของประชาชน ทั้งด้านการติดต่อสื่อสาร การเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ การดำเนินธุรกิจ และอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน

14

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) มาจากคำว่า “เทคโนโลยี” รวมกับคำว่า “สารสนเทศ” “เทคโนโลยี” หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์   เครื่องมือ เครื่องจักรวัสดุ หรือ แม้กระทั่งสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น  “สารสนเทศ” หมายถึง ข้อมูล ข้อเท็จจริง ข่าวสาร ความรู้ ที่ได้มีการบันทึก ประมวลหรือดำเนินการด้วยวิธีใดๆไว้ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ทั้งส่วนบุคคลและสังคม  ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการ สารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอน วิธีการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวข้องกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้แล้วยังรวมไปถึง โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ โทรสาร หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่างๆ ฯลฯ

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

ในระบบสารสนเทศนั้นประกอบด้วย 5 ส่วนหลักๆ ได้แก่ บุคลากร ขั้นตอนการทำงาน ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และข้อมูล

1) บุคลากร เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ เพราะบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเข้าใจวิธีการในการดำเนินการ และจัดการเกี่ยวกับสารสนเทศทั้งหมด บุคลากรจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

2) ขั้นตอนการปฏิบัติ หมายถึง ระเบียบวิธีการปฏิบัติงานในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่จะทำให้เป็นสารสนเทศได้ เช่น การกำหนดให้มีการป้อนข้อมูลทุกวัน การปรับปรุงแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ

3) เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือฮาร์ดแวร์ เป็นอุปกรณ์ที่ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งประกอบด้วยคีย์บอร์ด เมาส์ จอภาพ หน่วยระบบ และอุปกรณ์อื่นๆ เครื่องคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์
จะถูกควบคุมโดยซอฟต์แวร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการสารสนเทศ 

4) ซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมในระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) และซอฟท์แวร์แอพพลิเคชั่น (Application Software) เป็นชุดคำสั่งที่เรียงเป็นลำดับขั้นตอน 
มีหน้าที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามวัตถุประสงค์ และประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ

5) ข้อมูล ข้อเท็จจริง หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับบุคคล วัตถุหรือสถานที่ ข้อมูลมีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะใช้เป็นเครื่องช่วยในการวางแผนงานการบริหารจัดการ ดังนั้นข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง มีความเที่ยงตรง สามารถเชื่อถือได้ มีความเป็นปัจจุบัน สามารถตรวจสอบได้ และมีความสมบูรณ์ชัดเจน 

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน

ในปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้การกระจายข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว และยังสื่อสารแบบสองทิศทาง ด้วยเหตุนี้ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมจึงแตกต่างจากในอดีตมาก ดังจะเห็นได้จากวิกฤตการณ์ทางด้านเศรษฐกิจจากประเทศหนึ่งมีผลกระทบต่อประเทศอื่น ๆ อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ผลของความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายด้าน อาทิเช่น

– การเปลี่ยนเป็นสังคมสารสนเทศ  ปัจจุบันสังคมโลกกำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสารสนเทศ โดยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารมีบทบาทในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การซื้อสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ต การทำงานผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมถึงก่อให้เกิดสังคมออนไลน์ทั้งเว็บบล็อก (Web Blog) เว็บไซต์วีดิโอออนไลน์ เว็บไซต์โซเชียลเน็ตเวิร์ค เป็นต้น

– การทำงานที่ไร้เงื่อนไขของเวลาและสถานที่  เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา โดยการโต้ตอบผ่านระบบเครือข่าย ทำให้ขยายขอบเขตการทำงานไปทุกหนทุกแห่งและดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง

– ระบบเศรษฐกิจเชื่อมโยงทั่วโลก  เทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจซึ่งเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก เทคโนโลยีสารสนเทศมีส่วนเอื้ออำนวยให้การดำเนินการมีขอบเขตกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ระบบเศรษฐกิจของโลกจึงผูกพันกับทุกประเทศและเชื่อมโยงกันแนบแน่นขึ้น

Cr.http://www.ictkm.info/content/detail/14.html

เทคโนโลยีสารสนเทศในระบบ Internet

เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก อินเตอร์เน็ตมีพัฒนาการมาค่อนข้างยาวนานจาก อาร์พาเน็ต (ARPANET) ในปี พ.ศ. 2512 โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาเพื่อเชื่อมโยงศูนย์งานวิจัยของมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา 
เครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีการกำหนดคอมพิวเตอร์หลักที่ต่ออยู่บนเครือข่ายให้มีหมายเลขประจำเหมือนกับหมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขนี้จะเป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำกัน เช่น เครื่องนนทรีใช้รหัสหมายเลข 158.108.2071 รหัสประจำเครื่องที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้นี้ แต่อาจยุ่งยากต่อผู้ใช้เพราะมีตัวเลขหลายตัว จึงมีการสร้างชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ในหลักสากลเพื่อให้มีเรียกขานและเป็นที่เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น เช่น www.suw.ac.th
           ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ต 
อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายเหมือนเครือข่ายโทรศัพท์ที่เชื่อมโยงเข้าหากันได้ทั่วโลกด้วยเหตุนี้การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์จึงกระทำได้ในทุกเครือข่ายทั่วโลก การใช้ประโยน์จากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีมากมาย เช่น 
          1) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นสิ่งที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง สามารถส่งข่าวสารถึงกันได้ทั่วโลก มีแนวโน้มการขยายตัวและจำนวนผู้ใช้อย่างรวดเร็ว มีความเร็วในการส่งข่าวสารถึงกันได้มากกว่าส่งทางไปรษณีย์ปกติ 
          2) การสนทนาแบบเชื่อมตรง ผู้ใช้งานบนเครือข่ายสามารถคุยกับคนอื่นในลักษณะโต้ตอบกันผ่านทางจอภาพและแผงแป้นพิมพ์อักขระ การพูดคุยผ่านทางตัวหนังสือมีความชัดเจนและเข้าใจกันได้ 
          3) การค้นหาข้อมูล คอมพิวเตอร์มีแฟ้มข้อมูลจำนวนมาก ข้อมูลเหล่านั้นเป็นข้อมูลที่สะสมและเก็บจากหลาย ๆ ผู้ใช้ และมีบางส่วนที่ต้องการเผยแพร่โดยไม่คิดค่าเอกสารหนังสือหรือแม้แต่โปรแกรมคอมพิวเตอร์จำนวนมากได้รับการจัดเก็บและเผยแพร่แก่ผู้สนใจที่อยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้งานทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเข้าถึงข้อมูลที่เจ้าของอนุญาติให้สำเนา มีการจัดตั้งกลุ่มผู้สนใจเฉพาะด้านกันมาก เมื่อมีกลุ่มก็มีการรวบรวมข้อมูลและเก็บไว้เผยแพร่ระหว่างกัน อินเตอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งข้อมูลแล่งใหญ่มาก 
          4) กระดานข่าว บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีการจัดตั้งกระดานข่าวมากกว่า 2000 กลุ่ม ทุก ๆ วันจะมีผู้ส่งข่าวสารกันผ่านกระดานข่าว กระดานข่าวส่วนใหญ่แบ่งเป็นกลุ่ม เช่น กลุ่มผู้สนใจดนตรีก็มีการฝากเพลงหรือเรื่องราวเกี่ยวกับดนตรี กลุ่มวัฒนธรรม กลุ่มไทยกรุ๊ป กลุ่มผู้สนใจจักรยาน
          5) เกมและนันทนาการ มีการเล่นเกมแบบเครือข่าย เกมที่รู้จักกันดีคือเกมเอ็มยูดี ( Multi User Dungeon: MUD) เกมที่ผจญภัยต่างๆ ที่เล่นในเครือข่ายมีการสนทนาโต้ตอบกันในระยะห่างไกล

อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย 
          เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยได้เชื่อมโยงโดยสมบูรณ์เข้ากับอินเตอร์เน็ตคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย โดยเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์หลัก chulkn.chulu.ac.th เข้ากับเครือข่าย หลังจากนั้นอีกต่อมา 1 ปี ศูยน์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติซึ่งเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงเครือข่ายไทยสารซึ่งเป็นเครือข่ายข่าวเชื่อมโยงของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ในปัจจุบันเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยเชื่อมโยงเข้าสู่ต่างประเทศสองทางคือ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และที่ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ 
ทรัพยากรอินเตอร์เน็ต 
          จากการเชื่อมโยงให้ไมโครคอมพิวเตอร์สามารถหมุนโทรศัพท์ผ่านโมเด็มและสายโทรศัพท์เข้ามายังเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและใช้งานได้ เครื่องคอมพิวเตอร์จึงมีบทบาทในการเป็นสถานีปลายทางโดยผู้ใช้ที่อยู่ในที่ต่าง ๆ หากต่อเชื่อมกับเครือข่ายแล้วก็สะดวกในการใช้งาน เพราะสามารถเข้าสู่เครือข่ายได้ทันที และสามารถใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ ได้ สะดวก เช่น ใช้ในการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ในการเรียกค้นหาข้อมูล ตลอดจนการใช้ทรัพยากร อื่น ๆ บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีเป็นจำนวนมาก 
          เพื่อให้เห็นภาพของการใช้ทรัพยากรบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จึงขอเสนอลักษณะของทรัพยากรบนอินเตอร์ที่ผู้ใช้เรียกใช้ได้ ซึ่งมีหลายรูปแบบ 
          1) ระบบบริการสารสนเทศบริเวณกว้าง บริษัทชั้นนำทางคอมพิวเตอร์หลายบริษัท เช่น Apple; Thinking Machine; Dow June และKPMG Peat Marwick ได้ร่วมพัฒนาระบบบริการสารสนเทศ บริเวณกว้าง Wide Area Information Service: WAIS และนำออกมาใช้ประโยชน์บนอินเตอร์เน็ต
ลักษณะของระบบบริการสารสนเทศบริเวณกว้างเป็นการรวมศูนย์ข้อมูลที่อยู่บนเครือข่ายจำนวนมากเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้ผู้ใช้สะดวกในการค้นหาข้อมูล 
เนื่องจากบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีฐานข้อมูลกระจัดกระจายอยู่หลายแห่ง หากให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลต้องแยกค้นไปยังฐานข้อมูลต่าง ๆ จะไม่สะดวก การดำเนินการของระบบบริการสารสนเทศบริเวณกว้างจึงเป็น ทำให้ผู้ใช้มองเห็นว่ามีฐานข้อมูลอยู่เพียงแห่งเดียว โดยระบบนี้จะทำการค้นหาข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการตามฐานข้อมูลต่าง ๆ ให้โดยอัตโนมัติ 
การใช้งานระบบบริการสารสนเทศบริเวณกว้างบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจึงเป็นเรื่องที่สะดวก ปัจจุบันมีให้เรียกค้นหาหลายที่ เช่น บนเครื่อง Think.com นอกจากนี้ยังมีการให้บริการค้นด้วยระบบตัวเชื่อมประสานหลายแบบตามลักษณะของผู้ขอบริการ
          2) ระบบอาร์ซี ปัญหาในเรื่องของการเก็บแฟ้มข้อมูลข่าวสารไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ที่อยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมาก ผู้ใช้เรียกค้นไม่ถูกว่ามีข้อมูลอยู่ที่เครื่องใดบ้าง ระบบอาร์ซี (Archie) เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นโดยอลัน เอมเทค (Alan Emtage) และปีเตอร์ ดูทช์ (Peter Deutsch) แห่งมหาวิยาลัยแมกกิลล์ (McGill) ซึ่งเป็นระบบการเรียกค้นหาข้อมูล และดำเนินการตามขั้นตอนการโยกย้ายแฟ้มข้อมูล (File Transfer Protocol: FTP) ได้

3) ระบบโกเฟอร์ ระบบโกเฟอร์ (Gopher) ได้รับการพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยมินเนโซตา (Minnesota) โดยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลเป็นลำดับขั้นตามเมนูที่กำหนด ฐานข้อมูลที่จะเรียกค้นเป็นฐานข้อมูลแบบกระจายที่เชื่อมต่อกัน การเรียกจากเมนูทำให้การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นลำดับ ฐานข้อมูลแต่ละเครื่องบนเครือข่ายจะเชื่อมต่อเข้าหากัน เช่น เรียกข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทย ก็เชื่อมมาที่เครื่องหลักเครื่องใดเครื่องหนึ่งในประเทศ จากนั้นจะกระจายไปยังฐานข้อมูลอื่นตามลักษณะการเรียกค้น
หน่วยงานต่าง ๆ ที่มีข้อมูลและคิดว่าข้อมูลของตนจะเป็นประโยชน์ สามารถสร้างระบบเชื่อมโยงเข้าสูระบบโกเฟอร์เพื่อให้ผู้อื่นเรียกใช้ได้
          4) เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) เป็นการใช้หลักการของข้อความหลายมิติ (hypertext) พัฒนาขึ้นโดยบริษัทเซิร์น (CERN) แห่งประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โครงสร้างของเวิลด์ไวด์เว็บ ใช้หลักการเครื่องบริการของผู้ใช้ โดยให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลเอกสารจากแฟ้มข้อความในรูปแบบข้อความหลายมิติโดยมีข้อกำหนดเกณฑ์วิธี การจัดเก็บแบบข้อความและเชื่อมโยงกันแบบข้อความหลายมิติ ปัจจุบันมีเครื่องบริการแฟ้มข้อมูลที่ทำหน้าที่ให้บริการเวิลด์ไวด์เว็บมากมาย

pic_33

Cr.http://theo-srv.acs.ac.th/~25448/25448/Computer_Assignment/Entries/2009/9/12.html

เทคโนโลยีสารสนเทศที่นักเรียนสนใจ

การเปลี่ยนเป็นสังคมสารสนเทศ  ปัจจุบันสังคมโลกกำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสารสนเทศ โดยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารมีบทบาทในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การซื้อสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ต การทำงานผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมถึงก่อให้เกิดสังคมออนไลน์ทั้งเว็บบล็อก (Web Blog) เว็บไซต์วีดิโอออนไลน์ เว็บไซต์โซเชียลเน็ตเวิร์ค เป็นต้น

Cr.http://www.ictkm.info/content/detail/14.html

download (49)

 

ที่มา https://supanut26780m11.wordpress.com/

 

ใส่ความเห็น