แบบฝึกหัดที่ 1 เรื่องอินเทอร์เน็ตเบื้องต้น

บริการค้นหาข้อมูล

ข้อ 1 ให้อธิบายพร้อมยกตัวอย่างความแตกต่างระหว่างการสืบค้นแบบ web directory, meta search, search engine
ตอบ  Web Directory คือ ระบบที่เก็บรวบรวมเว็บไซต์ไว้เป็นหมวดหมู่ ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มออกเป็นหมวดหมู่ย่อยๆ ได้ด้วย เว็บที่ถูกบันทึกในแต่ละกลุ่ม จะต้องมีหัวเรื่องหรือเนื้อหาที่สัมพันธ์กัน  เว็บไดเรคทอรี่บางแห่งทำหน้าที่เป็น Search Engineในตัวเองด้วย บางแห่งมีฟังก์ชั่นให้โหวตหาคะแนนนิยมของเว็บเพื่อจัดอันดับ

        ตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีลักษณะเป็น Web Directory มีดังนี้
http://www.dmoz.org/
http://www.directory-index.net/
        Meta search คือ Search Engines ประเภทนี้ อาจจัดได้ว่าไม่ใช่ Search Engines ที่แท้จริง
เนื่องจากไม่ได้ทำการสืบค้นข้อมูลเอง แต่จะส่งต่อคำถามจากผู้ใช้ (Query) ไปให้ Search Engines ตัวอื่นผลการค้นที่ได้จึงแสดงที่มา (ชื่อของ Search Engines) ที่เป็นเจ้าของข้อมูลไว้ต่อท้ายรายการที่ค้นได้แต่ละรายการ

        ตัวอย่างของ Meta Search Engine มีดังต่อไปนี้
AskJeeves ( http://askjeeves.com )
Beaucoup Search Engines ( http://www.beaucoup.com/engines.html)
Cyber411 ( http://cyber411.com)
Debriefing ( http://www.debriefing.com)
Dogpile ( http://www.dogpile.com)
Finder Seeker ( http://www.finderseeker.com)
Highway61 ( http://www.highway61.com)
Inference Find ( http://www.infind.com)
Internet Sleuth ( http://www.isleuth.com)
Ixquick ( http://ixquick.com )
Mamma ( http://www.mamma.com)
MetaCrawler ( http://www.metaclawler.com)
Metafind ( http://www.metafind.com)
MetaGopher ( http://www.metagopher.com)
ProFusion ( http://www.profusion.com)
SavvySearch ( http://www.savvysearch.com)
Search Spaniel ( http://www.searchspaniel.com)
Starting Point ( http://www.stpt.com)
SurfWax ( http://www.surfwax.com
ในการเลือกใช้ Meta Search Engine ต่างๆนั้น Jian Liu ( 1999) ได้แนะนำ Meta Search Engine ที่ควรใช้มากที่สุดไว้ 3 ตัว คือ MetaCrawler, MetaFind และ Dogpile เนื่องจากเป็น Meta Search Engine ที่คลอบคลุมเว็บไซต์จำนวนมาก มีความยืดหยุ่นสูง เวลาในการตอบสนองดี การแสดงผลการสืบค้นชัดเจน นอกจากนี้ยังมีการให้ความช่วยเหลือในการใช้ ( Help ) มี Frequently Asked Questions (FAQ ) และเคล็ดลับในการสืบค้นให้ด้วย
        Search engine คือ การค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ถ้าเราเปิดไปทีละหน้าจออาจจะต้องเสียเวลาในการค้นหา และอาจหาข้อมูลที่เราต้องการไม่พบ การที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็วจะต้องใช้เว็บไซต์สำหรับการค้นหาข้อมูลที่เรียกว่า Search Engine Site ซึ่งจะทำหน้าที่ รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่
Web search engine ที่นิยมใช้กันมากที่สุด 3 อันดับ คือ 1. Google 2. Yahoo 3. MSN/Windows Live

ที่มา http://www.sabuyjaishop.net/ssz/bulletin/boardmessage.aspx?forumid=0057&post=reply&topic=TXXRPDV45Z2VV1DYD4AGY2342552224

http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=sata1&topic=972

http://www.shc.ac.th/shc_media_online/media_m4/information/information2.htm

 

ข้อ 2 จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการใช้คำสั่ง ดีใจจังค้นแล้วเจอแล้ว กับ การค้นหาธรรมดา ใน google

ตอบ  ดีใจจัง ค้นแล้วเจอเลย (I’m Feeling Lucky) ซึ่งจะพาคุณไปยังหน้าเว็บที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อค้นหาที่ชัดเจนที่สุดทันทีโดยไม่แสดงหน้าจอผลลัพธ์

        ตัวอย่าง ถ้าคุณต้องการค้นหาโฮมเพจของ Stanford University เพียงพิมพ์คำว่า Stanford จากนั้นคลิก ดีใจจัง ค้นแล้วเจอเลย” Google จะพาคุณไปยังเว็บ “www.stanford.edu” ทันที

         การค้นหาข้อมูลด้วย Google นั้นทำได้ไม่ยาก เพียงแค่พิมพ์หัวข้อค้นหา (ซึ่งเป็นคำหรือวลีที่อธิบายข้อมูลที่คุณต้องการค้นหาได้ดีที่สุด) ในกล่องข้อความ จากนั้นกดปุ่ม ‘Enter’ หรือคลิกที่ปุ่ม ‘Google Search’  จากนั้น Google ก็จะคืนผลลัพธ์ เป็นรายการของหน้าเว็บที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับหัวข้อค้นหาของคุณ โดยหน้าเว็บที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องที่ชัดเจนที่สุดจะปรากฏออกมาเป็นลำดับแรก

ที่มาhttp://www.seventranslation.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=10145&Ntype=2

 

ข้อ 3 ในการค้นหาขั้นสูง จะมีคำสั่ง AND กับ OR เพื่อใช้เสริมในการค้นหา จงอธิบายความแตกต่างพร้อมยกตัวอย่างการใช้งานพร้อมผลลัพธ์ทั้งสอง

ตอบ  AND เป็นการให้คำที่เราต้องการค้นหา ปรากฏในผลลัพธ์ ทั้งสองคำ ที่อยู่ระหว่าง “AND”  เช่น ค้นหาคำว่า computer AND ram ผลลัพธ์ที่ได้จะต้องมีคำว่า computer และ ram ทั้งสองคำนี้ปรากฏอยู่ เป็นค้น
        OR เป็นการให้คำที่เราต้องค้นหา ปรากฏในผลลัพธ์ คำใดคำหนึ่ง ที่อยู่ระหว่าง “OR” เช่น ค้นหาคำว่า computer OR ram ผลลัพธ์ที่ได้จะมีคำว่า computer หรือ ram คำใดคำหนึ่ง หรือทั้งสองคำปรากฏอยู่ เป็นค้น

ที่มา http://www.computer.pcru.ac.th/s541202064116/work/hw9.doc

 

ข้อ 4 Google Scholar มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานอย่างไร

ตอบ สำหรับ Google Scholar เป็นบริการที่มีมานานแล้ว ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2547 โดยออกเป็น beta version และทุกวันนี้ก็ยังคงเป็น beta อยู่ และอาจเพราะเป็นบริการที่ออกมานานแล้วเลยทำให้เป็นบริการที่ไม่เป็นที่รู้จักของหลายๆ คน  Google Scholar มีไว้ค้นหา บทความ หรือ งานวิจัย โดยเฉพาะ

ยืนบนไหล่ของยักษ์

       

Google Scholar เป็นวิธีการค้นหาที่ง่าย ๆ ในการค้นหางานเขียนทางวิชาการได้อย่างกว้างขวาง คุณสามารถค้นหาในสาขาวิชาและแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ได้มากมายได้จากจุดเดียว : ไม่ว่าจะเป็นบทความ peer-reviewed วิทยานิพนธ์ หนังสือ บทคัดย่อ และบทความจากสำนักพิมพ์ทางวิชาการ แวดวงวิชาชีพ ที่เก็บร่างบทความ มหาวิทยาลัย และองค์กรด้านการศึกษาอื่น ๆ

      Google Scholar ช่วยให้คุณสามารถระบุการค้นคว้าที่เกี่ยวข้องมากที่สุดในโลกแห่งการค้นคว้าวิจัยทางวิชาการ

คุณลักษณะของ Google Scholar มีดังนี้คือ

  • ค้นหา แหล่งข้อมูลที่หลากหลายจากจุดที่สะดวกจุดเดียว
  • ค้นหา บทความ บทคัดย่อ และการอ้างอิง
  • ค้นหาตำแหน่ง ของบทความฉบับสมบูรณ์จากทั่วทั้งห้องสมุดของคุณหรือบนเว็บ
  • เรียนรู้ เกี่ยวกับบทความสำคัญในการค้นคว้าวิจัยสาขาใดๆ

Google Scholar มุ่งมั่นที่จะจำแนกบทความแบบนักวิจัย โดยวัดน้ำหนักจากข้อความทั้งหมดของแต่ละบทความ ผู้เขียน สิ่งตีพิมพ์ที่บทความนั้นปรากฏ และความถี่ที่มีการอ้างอิงบทความนั้นในงานเขียนทางวิชาการอื่น ผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องมากที่สุดจะปรากฏบนหน้าแรกเสมอ

ที่มา http://libkm.kku.ac.th/kmlib/?p=1173

 

ข้อ 5  Google Guru มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานอย่างไร

ตอบ  เป็นบริการฟรีที่ช่วยให้ผู้ใช้ตั้งคำถาม และรับฟังคำตอบจากชุมชน โดยที่ทาง Google นั้นเชื่อว่า ‘กูรู’ จะช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยผู้ใช้  สามารถ Login ผ่าน Google Account เหมือนบริการอื่น ๆ ของ Google ซึ่งจะมี การแบ่งหมวดหมู่คำถามเป็นประเภทต่าง ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน เช่น ความรู้ บันเทิง เทคโนโลยี การท่องเที่ยว เป็นต้น
      นอกจากนี้ยังมีระบบการให้คะแนนสำหรับการตั้งหรือตอบคำถาม และการหักลบคะแนน สำหรับการแสดงข้อความที่ไม่เหมาะสม แล้วนำคะแนนที่มีมา จัดระดับชื่อเสียงได้อีกด้วย

Google Guru  มีไว้ใช้ในการตั้งคำถามเพื่อให้คนที่มีความรู้มาตอบ และเพื่อเอาคำตอบไปใช้อย่างรวดเร็ว

ที่มา http://www.oknation.net/blog/surasakc/2011/06/08/entry-1

 

ข้อ 6  iGoogle คืออะไร มีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ใด

ตอบ  iGoogle หรือแรกเริ่มเดิมที ชื่อว่า Google homepage หรือชื่อเต็มๆ ก็คือ Google Personalized Home Page ซึ่งเป็นบริการหน้า Home Page ฟรีของ Google ที่ให้เราเลือกเนื้อหาต่างๆ ต่อไปนี้มาวางได้ เช่น ข่าว เกม RSS จากเว็บไซต์หรือ Blog ที่เราต้องการทราบข้อมูลข่าวสารอยู่เป็นประจำ และฟีเจอร์พิเศษที่เราสามารถปรับแต่งและใส่เนื้อหาได้เอง ที่เรียกว่า Gadgets เช่น เราสามารถจะใส่รูปแบ่งให้คนอื่นดู แสดงวีดิโอจาก YouTube Video หรืออาจจะแสดงปฏิทิน พยากรณ์อากาศ นาฬิกาบอกเวลาและวันที่ และอื่นๆ ตามที่เราต้องการ iGoogle ก็เหมือนกับหน้าเว็บไซต์ Google (ที่ใช้สำหรับค้นหาข้อมูล)แต่ว่าเป็นหน้าของเราเอง(i ก็ฉันไง!) ซึ่งไม่ได้มีไว้เพียงแค่ค้นหาเพียงอย่างเดียว แต่เราสามารถปรับแต่งหน้านั้นอย่างไรก็ได้ แล้วแต่เราพอใจ คือนอกจากที่เราจะสามารถเลือกเนื้อหามาแสดงได้แล้ว รูปร่างหน้าตาของเจ้าเว็บ iGoogle เราก็สามารถปรับแต่งได้ด้วย เช่น เราชอบใช้ภาษาไทย เราก็ให้มันแสดงเป็นภาษาไทยได้ เปลี่ยนธีม(Theme) หรือรูปร่างหน้าตาทั้งเว็บได้ด้วย

นอกจากนั้น iGoogle ยังเปิดให้ใช้ Theme ของ U.S. ได้ และปัจจุบันก็สามารถใช้งานกับภาษาต่างๆ ได้ทั่วโลกถึง 117 ภาษาเลยทีเดียว ซึ่งในการปรับแต่งต่างๆ นั้น เราต้องมีบัญชีของ Google หรือ Gmail ก่อน

วัตถุประสงค์ของ  iGoogle

     iGoogle เป็นหน้าแรกที่สามารถกำหนดเองได้
     iGoogle ช่วยคุณสร้างหน้าแรกในแบบของคุณโดยมีช่องค้นหา Google อยู่ที่ด้านบน และ Gadget ตามจำนวนที่คุณเลือกที่ด้านล่าง Gadget มีหลากหลายรูปแบบและเป็นช่องทางในการเข้าถึงกิจกรรม รวมทั้งข้อมูลต่างๆ จากทั่วทั้งเว็บ โดยที่ไม่ต้องออกจากหน้าเว็บ iGoogle เลย คุณสามารถใช้ Gadget เพื่อทำสิ่งต่างๆ ได้ดังนี้
  • ดูข้อความ Gmail ล่าสุดของคุณ
  • อ่านพาดหัวข่าวจาก Google News และแหล่งข่าวชั้นนำอื่นๆ
  • ตรวจดูพยากรณ์อากาศ ราคาหุ้น และเวลาฉายภาพยนตร์
  • จัดเก็บบุ๊กมาร์กเพื่อให้เข้าถึงไซต์โปรดของคุณได้อย่างรวดเร็วจากคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้
  • ออกแบบ Gadget ของคุณเอง

ที่มา http://2talkbig.blogspot.com/2007/12/igoogle.html

 

ข้อ 7  จงบอกสิทธิประโยชน์ในการสมัครเป็นสมาชิกของ Google ว่ามีความแตกต่างกับผู้ไม่สมัครอย่างไร

ตอบ  สมาชิกจะได้รับสิทธิ์เข้าถึงผลิตภัณฑ์พรีเมียมของ Google และการสนับสนุนดังต่อไปนี้

  • Google Ad Grants: โฆษณา AdWords ฟรีเพื่อโปรโมตเว็บไซต์ของคุณบน Google.com โดยการกำหนดเป้าหมายด้วยคำหลัก
  • โปรแกรม YouTube Nonprofit: สามารถสร้างแบรนด์ระดับพรีเมียมบนช่อง YouTube และเพิ่มความจุในการอัปโหลด
  • Google Apps for Nonprofit: เวอร์ชันฟรีของชุดโปรแกรมเพื่อประสิทธิภาพการทำงานในทางธุรกิจของ Google Apps ซึ่งรวมถึง Gmail, เอกสาร, ปฏิทิน และอื่นๆ

ที่มา https://www.google.co.th/nonprofits/join/

 

 

เทคโนโลยีการส่งข้อมูลแบบไร้สาย

ข้อ 1 จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการส่งข้อมูลแบบ Infrared กับ Bluetooth

ตอบ  อินฟาเรด (Infrared) ลำแสงอินฟาเรดหรือ รังสีใต้แสงสีแดงหรือรังสีความร้อนมีลักษณะเป็นคลื่นวิทยุความถี่สูงที่มีความยาวคลื่นต่ำกว่าความยาวคลื่นแสงสีแดงทำให้สายตามนุษย์ไม่สามารถมองเห็น มีการเดินทางของแสงเป็นแนวตรง ระดับสายตา ไม่สามารถทะลุผ่านวัตถุ ได้ถูกนำมาใช้ในการสื่อสารนานแล้วหลายทศวรรษ

ลักษณะของอินฟาเรด

      คลื่นสัญญาณอินฟาเรด(Infrared IR) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีความถี่ระหว่าง 300 GHz ถึง 400 THz(TeraHertz) มีความยาวคลื่นตั้งแต่ 1 มิลลิเมตร ถึง 770 นาโนเมตรเป็นความถี่ใต้แสงสีแดงที่ตามนุษย์ไม่สามารถมองเห็น เนื่องจากเป็นคลื่นสั้นจึงส่งสัญญาณได้เป็นแนวตรงระยะทางไม่มาก 30 ถึง 80 ฟุต ไม่สามารถเดินทางทะลุวัตถุได้

i005.jpg

      พอร์ตสำหรับการเชื่อมต่ออินฟาเรดจะเรียกว่า พอร์ตอินฟาเรด ดาต้าแอสโซซิเอชั่น หรือไออาร์ดีเอ (Infrared Data Association IrDA) ตัวอย่างการใช้งานได้แก่ คีย์บอร์ดแบบไร้สายติดต่อกับคอมพิวเตอร์โดยมีระยะทางการติดต่อได้ไม่เกิน 8 เมตร อัตราการส่งข้อมูล 75 กิโลบิตต่อวินาที(Kbps)

 

i001          i002

 

i003

                   i004.jpg

                                           ตัวอย่างของการใช้อุปกรณ์อินฟาเรด

ข้อดีของการใช้งานคลื่นอินฟาเรด

        สามารถใช้กับอุปกรณไร้สายระยะใกล้ๆได้ อุปกรณ์มีขนาดเล็ก ใช้พลังงานน้อย ราคาถูก เชื่อมต่ออุปกรณ์ได้ง่าย สัญญาณมีความปลอดภัยสูงไม่ต้องขออนุญาตการใช้งานคลื่น ไม่มีสัญญาณแทรก

ข้อเสียของการใช้งานคลื่นอินฟาเรด

        ใช้ในระยะทางไกลๆ ไม่ได้ ใช้ภายนอกอาคารที่มีแสงแดดไม่ได้ เนื่องจากแสงแดดเป็นคลื่นอินฟาเรดเหมือนกันทำให้รบกวนกัน ถ้ามีการบังทางเดินของแสงจะทำให้สัญญาณขาดหาย

 

BLUETOOTH คือ ระบบสื่อสารของอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคแบบสองทาง ด้วยคลื่นวิทยุระยะสั้น (Short-Range Radio Links) โดยปราศจากการใช้สายเคเบิ้ล หรือ สายสัญญาณเชื่อมต่อ และไม่จำเป็นจะต้องใช้การเดินทางแบบเส้นตรงเหมือนกับอินฟราเรด ซึ่งถือว่าเพิ่มความสะดวกมากกว่าการเชื่อมต่อแบบอินฟราเรด ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างโทรศัพท์มือถือ กับอุปกรณ์ ในโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นก่อนๆ และในการวิจัย ไม่ได้มุ่งเฉพาะการส่งข้อมูลเพียงอย่างเดียว แต่ยังศึกษาถึงการส่งข้อมูลที่เป็นเสียง เพื่อใช้สำหรับ Headset บนโทรศัพท์มือถือด้วย

dfjmpstu1478.jpg

การทำงานของ Bluetooth

        Bluetooth จะใช้สัญญาณวิทยุความถี่สูง 2.4 GHz. (กิ๊กกะเฮิร์ซ) แต่จะแยกย่อยออกไป ตามแต่ละประเทศ อย่างในแถบยุโรปและอเมริกา จะใช้ช่วง 2.400 ถึง 2.4835 GHz. แบ่งออกเป็น 79 ช่องสัญญาณ และจะใช้ช่องสัญญาณที่แบ่งนี้ เพื่อส่งข้อมูลสลับช่องไปมา 1,600 ครั้งต่อ 1 วินาที ส่วนที่ญี่ปุ่นจะใช้ความถี่ 2.402 ถึง 2.480 GHz. แบ่งออกเป็น 23 ช่อง ระยะทำการของ Bluetooth จะอยู่ที่ 5-10 เมตร โดยมีระบบป้องกันโดยใช้การป้อนรหัสก่อนการเชื่อมต่อ และ ป้องกันการดักสัญญาณระหว่างสื่อสาร โดยระบบจะสลับช่องสัญญาณไปมา จะมีความสามารถในการเลือกเปลี่ยนความถี่ที่ใช้ในการติดต่อเองอัตโนมัติ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเรียงตามหมายเลขช่อง ทำให้การดักฟังหรือลักลอบขโมยข้อมูลทำได้ยากขึ้น โดยหลักของบลูทูธจะถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก เนื่องจากใช้การขนส่งข้อมูลในจำนวนที่ไม่มาก อย่างเช่น ไฟล์ภาพ, เสียง, แอพพลิเคชั่นต่างๆ และสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย ขอให้อยู่ในระยะที่กำหนดไว้เท่านั้น (ประมาณ 5-10 เมตร) นอกจากนี้ยังใช้พลังงานต่ำ กินไฟน้อย และสามารถใช้งานได้นาน โดยไม่ต้องนำไปชาร์จไฟบ่อยๆ ด้วย

acdfijkstuw1.jpg

        ส่วนความสามารถการส่งถ่ายข้อมูลของ Bluetooth จะอยู่ที่ 1 Mbps (1 เมกกะบิตต่อวินาที) และคงจะไม่มีปัญหาอะไรมากกับขนาดของไฟล์ที่ใช้กันบนโทรศัพท์มือถือ หรือ การใช้งานแบบทั่วไป ซึ่งถือว่าเหลือเฟือมาก แต่ถ้าเป็นข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ล่ะก็ คงจะช้าเกินไป และถ้าถูกนำไปเปรียบกับ Wireless LAN (WLAN) แล้ว ความสามารถของ Bluetooth คงจะห่างชั้นกันเยอะ ซึ่งในส่วนของ WLAN ก็ยังมีระยะการรับ-ส่งที่ไกลกว่า แต่ขอได้เปรียบของ Bluetooth จะอยู่ที่ขนาดที่เล็กกว่า การติดตั้งทำได้ง่ายกว่า และที่สำคัญ การใช้พลังงานก็น้อยกว่ามาก อยู่ที่ 0.1 วัตต์ หากเทียบกับคลื่นมือถือแล้ว ยังห่างกันอยู่หลายเท่าเหมือนกัน

ที่มา http://xn--12cf0dj9bham2ca6a9ce9a8a8jnbb6j.blogspot.com/2013/06/infrared-ir.html

         http://svoapc.svoa.co.th/support/137/article/

 

ข้อ 2 จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการส่งข้อมูลแบบ Wi-Fi กับ Wi-Max

ตอบ  Wi-Fi ย่อมาจาก wireless fidelity) หมายถึงชุดผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่สามารถใช้ได้กับมาตรฐานเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบไร้สาย (WLAN) ซึ่งอยู่บนมาตรฐาน IEEE 802.11

         เทคโนโลยี Wi-Fi ใช้คลื่นวิทยุความถี่สูงสำหรับรับส่งข้อมูลภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้งาน Wi-Fi ได้ต้องมีการติดตั้งแผงวงจรหรืออุปกรณ์รับส่ง Wi-Fi ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Network Interface Card (NIC) แต่ปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมักได้รับการ ติดตั้งชิปเซ็ต (Chipset) ที่ทำหน้าที่เป็นตัวรับส่งสัญญาณ Wi-Fi ไปในตัว ทำให้สะดวกต่อการนำไปใช้งานมากขึ้น การติดต่อสื่อสารด้วยเทคโนโลยี Wi-Fi ทำได้ทั้งแบบเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยไม่ต้องผ่านอุปกรณ์ตัวกลาง (Ad-hoc) และแบบที่ผ่านอุปกรณ์จุดเชื่อมต่อ (Access Point) ดังแสดงในรูปที่ 1 เนื่องจากการติดตั้งเครือข่าย Wi-Fi ทำได้ง่ายและไม่ต้องใช้ความรู้ในเชิงลึกทางด้านวิศวกรรมเครือข่าย แม้จะมีพื้นที่ครอบคลุมในระยะทางจำกัด แต่ก็ถือว่าเพียงพอที่ต่อการใช้งานในสำนักงานและบ้านพักอาศัยโดยทั่วไป จึงทำให้ผู้คนทั่วไปนิยมใช้งาน Wi-Fi กันมาก ส่งผลให้เกิดการขยายตัวของตลาดผู้บริโภคอย่างรวดเร็วในปัจจุบันดังแสดงในรูป ที่ 10 ซึ่งเป็นการแสดงจำนวนพื้นที่ที่มีการเปิดให้บริการ Wi-Fi ในสหรัฐอเมริกา ทั้งที่เป็นการให้บริการฟรี และที่มีการคิดค่าใช้จ่าย โดยทั่วไปมักเรียกพื้นที่เหล่านี้ว่า Hotspot

         ระบบเครือข่ายไร้สายประเภท WiMAX ทั้งแบบ Fix WiMAX (IEEE802.16d หรือ 2004)และ Mobile WiMAX (IEEE802.16e หรือ2005) สามารถครอบคุลมความถี่การใช้งานตั้งแต่ 2.3-2.7 GHz, 3.3-3.4 GHz, 3.4-3.7 GHz, 5.1-5.9 GHz รองรับทั้ง Licensed และLicense-Exempt Band และเป็นแบบ Superior Non-line of site (NLOS) ซึ่งช่วยให้สามารถทำงานได้แม้กระทั่งมีสิ่งกีดขวาง เช่น ต้นไม้ หรือ อาคารได้เป็นอย่างดี และรองรับระยะทางกว่า 10 กิโลเมตรในกรณีการใช้งานแบบ Point to Point Link โดยไม่ต้องพึ่งสายอากาศจากภายนอก ซึ่งประโยชน์ดังกล่าวนี้ ทำให้สามารถนำผลิตภัณฑ์ WiMAX ไปประยุกต์ใช้งานเพื่อลดช่องว่างของเทคโนโลยีในพื้นที่ห่างไกล ที่เทคโนโลยีเข้าไปไม่ถึง ตลอดจนสนองความต้องการการใช้งานบรอดแบนด์ในเมืองที่มีพื้นที่ ที่แออัดได้อย่างสะดวกรวดเร็วและมีค่าใช้จ่ายที่ประหยัดกว่าการติดตั้งเครือข่ายในแบบการวางสายสัญญาณที่ใช้งานกันอยู่เดิมได้เป็นอย่างดี

ที่มา http://mblog.manager.co.th/vilawan050/cxWi-Fi-3/

http://www.baycoms.com/index.php/wimax.html

 

ข้อ 3 จงอธิบายคำศัพท์ 2 คำนี้ Access Point กับ Hot Spot

ตอบ  Access Point (AP) คืออุปกรณ์ที่มีหน้าที่ในการกระจายสัญญาณไวร์เลส เป็นอุปกรณ์พื้นฐานตัวหนึ่งที่สามารถสร้างเครือข่ายไร้สายจากระบบเครือข่ายแลน(Lan)ได้ง่ายที่สุด แอคเซสพอยท์ทำหน้าที่กระจายสัญญาณออกไปยังเครื่องลูกข่ายที่อยู่ในรัศมีการกระจายสัญญาณโดยรอบ ซึ่งลักษณะของตัวแอคเซสพอยท์นั้นจะมีลักษณะที่แตกต่างกันอยู่กับผู้ผลิตจะดีไซน์ให้มีรูปร่างหน้าตาแบบไหน แต่ที่เหมือนกันก็คือ AP จะมีช่องเชียบสายแลนเพียงช่องเดียวเท่านั้น ช่องดังกล่าวจะเป็นช่องที่รับสัญญาณอินเตอร์เน็ตหรือใช้เชื่อมต่อกับเน็ตเวิร์คจากเครือข่ายแลนเข้ากับเครื่องลูกข่ายที่เชื่อมต่อแบบไร้สาย การทำงานของ AP จะทำงานภายใต้มาตรฐานของ IEEE802.11 ซึ่งทำให้อุปกรณ์ที่มีมาตรฐานนี้สามารถใช้งาน AP ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

access-point-content1.jpg

โดยมากแล้วแอคเซสพอยท์จะมีเสาสัญญาณเพียง 1 เสาเท่านั้นการเลือกซื้อถ้าเราต้องการสัญญาณที่มีคุณภาพดีขึ้นเราควรมองหาแอคเซสพอยท์ที่มีมากกว่า 2 เสาขึ้นไปเพื่อให้การกระจายสัญญาณของ AP สามารถกระจายสัญญาณได้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งพื้นฐานของ AP นั้นจะมีไฟแสดงสถานะมาตรฐานอยู่ 3 สถานะก็คือ

– ไฟ Power สถานะนี้จะขึ้นแสดงเมื่อมีไฟฟ้ามาเลี้ยงที่ตัว AP ถ้าไฟดวงนี้ไม่ติดเราควรตรวจสอบปลั๊กว่ามีการเสียบปลั๊กดีหรือเปล่า
– ไฟ Link ไฟสถานะนี้จะเป็นไฟแสดงสถานะของสายแลนว่ามีการเชื่อมต่อที่สมบูรณ์หรือเปล่า ถ้าเกิดไฟสถานะ Link ไม่ติดให้ตรวจดูที่สายแลนว่ามีการเชื่อมต่อไว้หรือเปล่าถ้ามีการเชื่อมต่อแล้วก็ต้องไปดูที่ปลายสายว่ามีการเชื่อมต่อที่ถูกต้องหรือเปล่าเช่นกัน เพราะถ้ามีการเชื่อมต่อที่ถูกต้องแล้ว ไฟสถานะ Link จะขึ้นโชว์ที่ตัวอุปกรณ์ AP เสมอ
– ไฟสถานะ ACT ไฟดวงนี้จะเป็นตัวบ่งชี้ว่ามีการส่งข้อมูลผ่านตัวอุปกรณ์ AP ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องลูกข่ายกับ AP ส่วนมากแล้วจะมีการกระพริบอยู่ตลอดเมื่อมีการใช้งาน

 

Hotspot คือ จุดกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตไร้สาย (Wifi) ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระจายสัญญาณ Wifi นั้นเราจะเรียกว่าเราเตอร์โมเด็ม เป็นอุปกรณ์ที่ต่อกับสายแลนแบบ Ethernet เป็นการเชื่อมต่อโดยตรงกับสายสัญญาณอินเตอร์เน็ต ความแรงของจุดกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตไร้สาย (Wifi Hotspot) จะขึ้นอยู่กับกำลังส่งของอุปกรณ์ในการส่งสัญญาณ สภาพแวดล้อมภายนอก เช่น สิ่งที่บดบังสัญญาณ สภาพอากาศ เป็นต้น ด้วยสาเหตุนี้เราถึงได้เห็น WiFi Hotspot อยู่บนตึกสูงหรืออยู่บนเสาที่มีความสูงที่ไม่มีอาคารบดบัง เพื่อให้กระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตไร้สายๆได้ไกลมากยิ่งขึ้น

wifi-hotspot-content.jpg

Wifi Hotspot มีหน้าที่ที่จะต้องคอยส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตไร้สาย ไปยังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่รองรับ อาทิ โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และแท็บเล็ต หรือจะเป็นอุปกรณ์อื่นๆที่รองรับระบบ WiFi ก็ได้เช่นกัน ซึ่งจุดกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตไร้สาย หรือ Wifi Hotspot จะคอยส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตไร้สายให้กับผู้ที่ใช้งาน ที่อยู่ในรัศมีที่สามารถกระจายสัญญาณได้ ระดับความแรงก็ขึ้นอยู่กับ ตัวอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นเครื่องรับสัญญาณ Wifi อยู่ใกล้กับจุดกระจายสัญญาณมากน้อยแค่ไหน แน่นอนว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ใกล้ Wifi Hotspot ก็จะสามารถส่งถ่ายข้อมูลได้เร็วกว่า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ไกลกว่า

ที่มา http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/access-point/

http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/wifi-hotspot/

 

ข้อ 4 จงอธิบายความแตกต่างระหว่าง 1G /  2G / 2.5G/ 2.75G/ 3G/ 4G

ตอบ 

          1G เมื่อเข้าถึงยุคสมัยที่มีโทรศัพท์มือถือใช้บนโลกใบนี้ ในยุคแรกสุดนั้นเรายังไม่ได้มีการกำหนดว่านั่นเป็นยุค 1G แต่อย่างใด แต่เราได้กำหนดคำนี้ขึ้นเมื่อเริ่มมีการพัฒนาในวงการเทคโนโลยีการสื่อสารทางไกลผ่านโทรศัพท์มือถือผ่านมาได้ถึงยุค 3G แล้วนั่นเอง โดยในรุ่นแรกๆ นี้ หลายคนอาจจะเคยผ่านตามาบ้างกับโทรศัพท์มือถือร่างยักษ์ที่มีปุ่มกดนูนๆกับเสาอากาศใหญ่โตที่ทำได้เพียงโทรเข้า-ออก รับสาย ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารแบบ Analog ได้รับการพัฒนาเป็นครั้งแรกในเครือข่ายโทรศัพท์ NTT ของประเทศญี่ปุ่นและมีการใช้ครั้งแรกที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1979 ก่อนจะเริ่มแพร่หลายใช้ทั่วทั้งประเทศญี่ปุ่น และเข้ามาสู่ประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย (ยุโรปตอนเหนือ) ในปี 1981

Mobile-1G.jpg

          สำหรับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบ Analog นี้ จะใช้ระบบพื้นฐานการส่งสัญญาณแบบ FDMA (Frequency Division Multiple Access) หลักในการทำงานคือ การแบ่งช่องความถี่ออกเป็นความถี่ย่อยหลายๆ ช่อง บนความถี่ที่ 824-894 MHz แล้วใช้สัญญาณวิทยุในการส่งคลื่นเสียงไปยังสถานีรับส่งสัญญาณ หนึ่งคลื่นความถี่เท่ากับหนึ่งช่องสัญญาณ ผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในเวลานั้นจะสามารถใช้การบริการโทรศัพท์ได้เฉพาะในช่องความถี่ที่ว่างอยู่ และหลังจากที่มีผู้ใช้งานมากขึ้น ระบบก็ไม่สามารถรองรับสัญญาณได้ จึงทำให้การส่งสัญญาณแบบ FDMA ไม่เป็นที่นิยมและเกิดการพัฒนาเข้าสู่ยุคต่อไป
ในยุค 1G นี้ ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบ Analog นี้ ทำให้โทรศัพท์มือถือในยุคนั้นไม่สามารถทำอะไรได้มากนัก ความสามารถหลักๆ คือการใช้งานในเรื่องของเสียง (Voice) เท่านั้น คือรองรับเพียงการโทรเข้า และรับสาย ยังไม่รองรับการส่งหรือรับ Data ใดๆ แม้แต่จะส่ง SMS ก็ยังไม่สามารถทำได้ ซึ่งในยุคนั้นผู้คนก็ยังไม่มีความจำเป็นในการใช้งานอื่นๆ นอกจากการโทรเข้าออกอยู่แล้ว และกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่สามารถใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ในเวลานั้น เป็นผู้มีฐานะหรือนักธุรกิจที่ใช้ติดต่องาน เนื่องจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ในเวลานั้นมีราคาสูงมาก
การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุค 1G
-โทรออก / รับสาย
-ไม่รองรับผู้ใช้งานในจำนวนมาก
-เกิดการดักฟังโทรศัพท์ได้ง่ายและไม่ปลอดภัย

          2G  พอมาถึงในยุค 2G เริ่มมีการพัฒนารูปแบบการส่งคลื่นเสียงแบบ Analog มาเป็น Digital โดยการเข้ารหัส โดยส่งคลื่นเสียงมาทางคลื่นไมโครเวฟ โดยการเข้ารหัสเป็นแบบดิจิตอลนี้ จะช่วยในเรื่องของความปลอดภัยในการใช้งานมากยิ่งขึ้น และช่วยในเรื่องของสัญญาณเสียงที่ใช้ติดต่อสื่อสารให้มีความคมชัดมากขึ้นด้วย โดยมีเทคโนโลยีการเข้าถึงช่องสัญญาณของผู้ใช้เป็นลักษณะเชิงผสมระหว่าง FDMA และ TDMA (Time Division Multiple Access) เป็นการเพิ่มช่องทางการสื่อสารทำให้รองรับปริมาณผู้ใช้งานที่มีมากขึ้นได้

          เราจะเห็นว่าในยุค 2G นี้ เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบชัดเจน ผู้คนหันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่กันมากขึ้น เนื่องจากเกิดการพัฒนาโทรศัพท์กันอย่างกว้างขวาง ทำให้มีการแข่งขันในวงการโทรศัพท์เคลื่อนที่สูงขึ้น และทำให้ราคาเครื่องถูกลงนั่นเอง ในยุคนี้ ถือเป็นยุคที่เฟื่องฟูของวงการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงตอนปลาย จึงทำให้สามารถแบ่งยุค 2G ออกได้อีก 2 ช่วงคือ 2.5G และ 2.75G
          2.5G ในยุคนี้ได้ถือกำเนิดเทคโนโลยีที่เรียกว่า GPRS (General Packet Radio Service) ซึ่งพัฒนาในเรื่องของการรับส่งข้อมูลที่มากขึ้น ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 115 Kbps (แต่ถูกจำกัดการใช้งานจริงอยู่ที่ 40 kbps) สิ่งที่เราจะเห็นได้ชัดถึงการเปลี่ยนแปลงในยุคนี้ก็คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้เพิ่มฟังก์ชั่นการรับส่งข้อมูลในส่วนของ MMS (Multimedia Messaging Service) หน้าจอโทรศัพท์เริ่มเข้าสู่ยุคหน้าจอสี และเสียงเรียกเข้าก็ถูกพัฒนาให้เป็นเสียงแบบ Polyphonic จากของเดิมที่เป็น Monotone และเข้ามาสู่ยุคที่เสียงเรียกเข้าเป็นแบบ MP3 ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้
         
          2.75G เป็นยุคที่กำลังจะก้าวเข้าสู่ 3G แล้ว ซึ่งยุคนี้เป็นยุคของ EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution) ที่พัฒนาต่อยอดมาจาก GPRS นั่นเอง และในปัจจุบันนี้เราก็ยังคงได้ยินและมีการใช้เทคโนโลยีนี้กันอยู่ ซึ่งได้พัฒนาในเรื่องของความเร็วในการรับส่งข้อมูลไร้สายนั่นเอง
การพัฒนาทางเทคโนโลยีในยุคนั้น ทำให้เกิดการแข่งขันกันทางการตลาดของวงการโทรศัพท์มือถือมากขึ้น ทั้งในเรื่องของการดาวน์โหลดเสียงรอสาย รับส่งภาพผ่าน MMS ดาวน์โหลดภาพต่างๆ ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ใช้งาน ทั้งหมดนี้เป็นพื้นฐานที่ทำให้พัฒนาเข้าสู่ยุคต่อไป

การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุค 2G

  • โทรออก รับสาย
  • ส่ง SMS

การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุค 2.5G

  • โทรออก รับสาย
  • ส่ง SMS
  • ส่ง MMS
  • เสียงเรียกเข้าแบบ Polyphonic
  • เล่นอินเทอร์เน็ตบนมือถือได้ด้วยความเร็ว 115 kbps

การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุค 2.75G

  • โทรออก รับสาย
  • ส่ง SMS
  • ส่ง MMS
  • รองรับเสียงเรียกเข้าแบบไฟล์ MP3
  • เล่นอินเทอร์เน็ตบนมือถือได้ด้วยความเร็ว 70 – 180 kbps
          3G  เข้ามาถึงยุค 3G กันแล้ว ซึ่งยุคนี้ก็ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงวงการโทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่พอสมควร เรียกได้ว่าเปลี่ยนแปลงวิถีประจำวันของผู้ใช้งานไปด้วยก็ว่าได้ สิ่งที่ 3G ต่างกับ 2G ก็คือ ความสามารถในการออนไลน์ตลอดเวลา (Always On) ซึ่งก็จะเท่ากับโทรศัพท์ของคุณจะเหมือนมี High Speed Internet แบบบ้านอยู่บนมือถือของคุณอยู่ตลอดเวลา หากเป็น 2G นั้นเวลาจะออนไลน์แต่ละทีนั้นจะต้องมีการ Log-On เพื่อเข้าเครือข่าย ในขณะที่ 3G นั้นจะมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอยู่ตลอดเวลาซึ่งการเสียค่าบริการแบบนี้ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลผ่านเครือข่ายเท่านั้น โดยจะต่างจากระบบทั่วไป ที่จะเสียค่าบริการตั้งแต่เราล็อกอินเข้าในระบบเครือข่ายเลย
ข้อดีของระบบ Always On คือ จะมีการเตือน (Alert) ขึ้นมาทันที หากมีอีเมล์เข้ามา หรือมีการส่งข้อความต่างๆ จากโปรแกรมทางอินเทอร์เน็ตของเรา นอกจากนั้นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแต่ละครั้งก็จะเร็วกว่ามาก (Initial Connection) เพราะไม่ต้องมีการ Log-On เข้ากับระบบอีกต่อไป (การ Log-On เข้าระบบให้นึกถึงตอนสมัยที่เราใช้ Modem แบบ Dial Up ร่วมกับสายโทรศัพท์) เราจะสามารถเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา แล้วคิดค่าบริการตามการรับส่งข้อมูลของเราแทน
ในยุคนี้จะเน้นการสื่อสารทั้งการพูดคุยแบบเสียงตามปกติ (Voice) และแบบรับส่งข้อมูล (Data) ซึ่งในส่วนของการรับส่งข้อมูลนี้เอง ที่ทำให้ 3G นั้นต่างจากระบบเก่า 2G ที่มีพื้นฐานในการพูดคุยแบบเสียงตามปกติอยู่มาก เนื่องจากเป็นระบบที่ทำขึ้นมาใหม่เพื่อให้รองรับกับการรับส่งข้อมูลโดยตรง มีช่องความถี่และความจุในการรับส่งสัญญาณที่มากกว่า ส่งผลให้การรับส่งข้อมูลหรือการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือนั้นเร็วมากขึ้นแบบก้าวกระโดด ประสิทธิภาพในการใช้งานด้านมัลติมีเดียดีขึ้น และยังมีความเสถียรกว่า 2G อีกด้วยค่ะ

ภาพนี้แสดงให้เห็นถึงความจุของข้อมูลที่ 3G นั้น
สามารถที่จะรับส่งได้ ซึ่งมากกว่า 2G อยู่มากโดยเฉพาะส่วนของข้อมูล (Data)
          4G  ถึงแม้ว่าเราจะเห็นวิวัฒนาการของ 3G ที่ก้าวกระโดดจาก 2G มาแล้วนั้น ทำให้เราสามารถใช้งานโทรศัพท์มือถือได้โดยสามารถเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา (Always on) เราสามารถ Video Call ผ่านโทรศัพท์มือถือได้ เราสามารถดูทีวีออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือได้ แต่หลายครั้งหลายคราก็ต้องประสบกับปัญหา สัญญาณข้ดข้อง ภาพกระตุกบ้าง ความเร็วในการรับส่งข้อมูลถูกจำกัดบ้าง ดังนั้นจึงมีการพัฒนาต่อเข้าสู่ยุค 4G
          การเข้ามาสู่ยุค 4G นี้ได้รับการพัฒนามาจากประเทศสวีเดนและนอร์เวย์ ก่อนจะนำมาใช้จริงที่สหรัฐอเมริกา เป็นการพัฒนาต่อยอดมาจากระบบไร้สายในอดีตทั้งหมด ทั้ง 1G, 2G และ 3G มารวมกันเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพขึ้น อย่างเช่น การพัฒนาในเรื่องความเร็วในการรับส่งข้อมูล ที่ทำได้เร็วขึ้นถึง 100 Mpbs เลยทีเดียว สำหรับความเร็วขนาดนี้นั้น ทำให้สามารถใช้งานโทรศัพท์มือถือ หรือ Tablet ของคุณได้หลากหลายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การดูไฟล์วีดิโอออนไลน์ด้วยความคมชัด และไม่มีการกระตุก, การสื่อสารข้ามประเทศ อย่างโทรศัพท์แบบเห็นหน้ากันแบบโต้ตอบทันที (Video Call) หรือจะเป็นการประชุมผ่านโทรศัพท์ (Mobile teleconferencing) ก็เป็นเรื่องง่ายขึ้น แถมยังมีค่าใช้จ่ายน้อยลงอีกด้วย
สำหรับเทคโนโลยีที่ใช้ในยุค 4G นี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ระบบด้วยกัน คือ WiMAX (Worldwide Interoperability of Microwave Access) และ LTE (Long Term Evolution) ซึ่งทั้งสองระบบนี้ เป็นเทคโนโลยีไร้สายที่มาช่วยในเรื่องของการรับส่งข้อมูลให้เร็วขึ้นกว่าในยุคก่อนๆ นั่นเอง โดยในส่วนของ WiMax นั้นนิยมใช้แค่ในบางประเทศเช่น ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, บังคลาเทศ ซึ่ง LTE นั้นเป็นที่นิยมใช้มากกว่ารวมถึงบ้านเราด้วยเช่นกัน

detail.jpg

ที่มา http://www.checkraka.com/mobilephone/knowledge/1627099/

 

ข้อ 5  การโจรกรรมข้อมูลโดยใช้เทคนิค Evil Twin เป็นอย่างไร

ตอบ  “คู่แฝดปีศาจ” เป็นเทคโนโลยีที่แฮกเกอร์ใช้เพื่อหลอกขโมยข้อมูลจากผู้ใช้งาน Wi-Fi ที่ขาดความระมัดระวัง หรือผู้ใช้งาน Wi-Fi สาธารณะที่เปิดให้บริการแก่ผู้ใช้ทั่วไป ทั้งชนิดที่เป็นบริการแบบฟรี (Free Access) หรือเสียค่าบริการ (Subscribed) โดย Biba (2005) ได้อธิบายวิธีการทำงานของ “คู่แฝดปีศาจ” ไว้ว่าแฮกเกอร์จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณมีคุณสมบัติเป็นแอ็กเซสพอยต์ จากนั้นก็นำคอมพิวเตอร์เครื่องดังกล่าวแอบวางไว้ในสถานที่ที่มีจุดบริการ Wi-Fi สาธารณะ เช่น สนามบิน ร้านอาหารที่เปิดให้บริการ Wi-Fi แก่บุคคลทั่วไปหรือใกล้ๆ กับเครื่องแอ็กเซสพอยต์ขององค์กรหรือสำนักงานที่มีการใช้งาน Wi-Fi แบบขาดความระมัดระวังหรือไม่รอบคอบทันที ดังนั้นเมื่อเหยื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนขึ้นมาใช้งาน โปรแกรมเพื่อเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่าย Wi-Fi ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเหยื่อก็จะพบว่ามีแอ็กเซสพอยต์อยู่ภายในบริเวณรัศมีเชื่อมต่อมากกว่า 1 เครื่อง และถ้าเหยื่อหลงกลก็อาจจะเลือกเชื่อมต่อเข้าสู่แอ็กเซสพอยต์ของแฮกเกอร์แทนที่จะเป็นแอ็กเซสพอยต์ของผู้ให้บริการตัวจริง จากนั้นแฮกเกอร์ก็อาจจะสร้างระบบโปรแกรม เว็ปไวต์ หรืออื่นๆ ของแฮกเกอร์เองเพื่อหลอกล่อให้เหยื่อตายใจและยอมกรอกข้อมูลที่สำคัญ เช่น ข้อมูลเอกลักษณ์บุคคลหรือข้อมูลใดๆ ที่แฮกเกอร์ต้องการเก็บลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของแฮกเกอร์และแฮกเกอร์ก็จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป นอกจากนี้หากเหยื่อได้ทำการแชร์โฟลเดอร์หรือแฟ้มข้อมูลใดๆ ภายในเครื่องของตนไว้ แฮกเกอร์จะสามารถเปิดอ่าน ทำสำเนาโฟลเดอร์หรือแฟ้มข้อมูลต่างๆ เหล่านั้นออกได้เช่นเดียวกับในกรณีของการถูกลักลอบใช้ Wi-Fi นั่นเอง

ที่มา http://www.mvt.co.th/viewnews.php?cid=2&nid=181&page=1

 

ใส่ความเห็น