0

แบบฝึกหัดข้อมูลและสารสนเทศ และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูล

ข้อมูลและสารสนเทศ

1.ข้อมูลคืออะไร

ตอบ  ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผลซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชือนักเรียน เพศ อายุ เป็นต้น

ที่มา : https://blog.eduzones.com/jipatar/85845

 

2.ข้อมูลกับสารสนเทศมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันอย่างไร

ตอบ        ข้อมูล (data) คือ    ข้อเท็จจริง หรือ เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆที่เป็นตัวเลข ข้อความ หรือรายละเอียดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ  เช่น ภาพ  เสียง  วีดิโอ  ของคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ที่เราสนใจ ฯลฯ การรวบรวมข้อมูล เป็น การเริ่มต้นในการดำเนินงาน การรวบรวมข้อมูลที่ดี จะได้ข้อมูลรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วน  การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหลายวิธี เช่น การใช้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ การใช้โทรสาร การใช้เครื่องวัดต่าง ๆ การใช้ดาวเทียม การออกแบบสอบถาม ฯลฯ

สารสนเทศ (Information) หมายถึง  ข้อมูล หรือ สิ่งซึ่งได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ หรือ สารสนเทศ หมายถึง   ข้อมูลที่มีความหมายซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์    ดังนั้น  สารสนเทศจึงหมายถึงข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลด้วยวิธีการที่เหมาะสมและถูกต้อง  เพื่อให้ได้ผลลัพท์ตรงตามความต้องการของผู้ใช้  ดยอาจเขียนแผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ ดังนี้


ข้อมูล                                  การประมวลผล                        สารสนเท

ที่มา : http://neung.kaengkhoi.ac.th/mdata/salupkadata3.html

3.คุณสมบัติของข้อมูลที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร

ตอบ  ข้อมูลที่ดีจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติที่สำคัญๆ ดังนี้คือ

1) ความถูกต้องแม่นยำ
(accuracy) ข้อมูลที่ดีควรจะมีความถูกต้องแม่นยำสูง หรือถ้ามีความคลาดเคลื่อน (errors) ปนอยู่บ้าง ก็ควรที่จะสามารถควบคุมขนาดของความคลาดเคลื่อนที่ปนมาให้มีความคลาดเคลื่อน น้อยที่สุด

          2) ความทันเวลา (timeliness) เป็นข้อมูลที่ทันสมัย (up to date) และทันต่อความต้องการของ ผู้ใช้ ถ้าผลิตข้อมูลออกมาช้า ก็ไม่มีคุณค่าถึงแม้จะเป็นข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำก็ตาม

          3) ความสมบูรณ์ครบถ้วน (completeness) ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาต้องเป็นข้อมูลที่ให้ข้อเท็จจริง (facts) หรือข่าวสาร (information) ที่ครบถ้วนทุกด้านทุกประการ มิใช่ขาดส่วนหนึ่งส่วนใดไปทำให้นำไปใช้การไม่ได้

         4) ความกระทัดรัด (conciseness) ข้อมูลที่ได้รับส่วนใหญ่จะกระจัดกระจาย ควรจัดข้อมูลให้อยู่ใน รูปแบบที่กระทัดรัดไม่เยิ่นเย้อ สะดวกต่อการใช้และค้นหา ผู้ใช้มีความเข้าใจได้ทันที

          5) ความตรงกับความต้องการของผู้ใช้ (relevance) ข้อมูลที่จัดทำขึ้นมาควรเป็นข้อมูลที่ผู้ใช้ ข้อมูลต้องการใช้ และจำเป็นต้องรู้ / ทราบ หรือเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำแผน กำหนดนโยบายหรือตัดสินปัญหาในเรื่องนั้นๆ ไม่ใช่เป็นข้อมูลที่จัดทำขึ้นมาอย่างมากมาย แต่ไม่มีใครต้องการใช้หรือไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล

          6) ความต่อเนื่อง (continuity) การเก็บรวบรวมข้อมูล ควรอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องในลักษณะของอนุกรมเวลา (time-series) เพื่อจะได้นำไปใช้ประโยชน์ในด้านการวิเคราะห์วิจัยหรือหาแนวโน้มในอนาคต

ที่มา :  http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/know/estat1_5.html

4.จุดประสงค์ของการจัดเรียงข้อมูลคืออะไร

ตอบ  จุดประสงค์ของการจัดเรียงข้อมูลคือ

  1. ลดความซ้ำซ้อนข้อมูลในฐานข้อมูล เนื่องถ้ามีการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนกัน จะทำให้การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลในตารางทำได้ไม่สะดวก
  2. ตอบสนองความจำเป็นในการเรียกใช้ข้อมูลในเวลาที่สั้นที่สุด โดยหลังจากออกแบบฐานข้อมูลเสร็จแล้ว เราสามารถเรียกข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว เพราะว่าข้อมูลในตารงที่ออกแบบได้ย่างถูกต้องจะไม่มีการซ้ำซ้อน ทำให้ไม่เสียเวลาค้นหาข้อมูล เนื่องจากข้อมูลที่ต้องการจะอยู่ในตางรางที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
  3. ข้อนี้เป็นผลต่อเนื่องมาจากจุดประสงค์ข้อแรก ช่วยให้ตรวจสอบความถูกต้องรวมทั้งจัดมาตรฐานของข้อมูลได้สะดวก เนื่องมีข้อมูลไม่ซ้ำซ้อนกัน (หรือซ้ำซ้อนกันน้อยที่สุด)
  4. สามารถกำหนดลักษณะการเข้าถึงข้อมูลสำหรับผู้ใช้แต่ละประเภทได้ด้วย เช่น พนักงานทั่วไปจะสามารถดูตารางที่มีข้อมูลของตัวเองได้เท่านั้น และไม่สามารถแก้ไขข้อมูลต่างๆ ในฐานข้อมูลได้ ส่วนพนักงานป้อนข้อมูลจะสามารถแก้ไขข้อมูลได้ เป็นต้น
  5. ทำให้มีความอิสระระหว่างข้อมูลกับแอพพลิเคชั่น เนื่องจากเราสามารถออกแบบแอพพลิเคชั่นให้ดึงขอมูลที่ต้องการจากฐานข้อมูลเหล่านั้น ไม่ต้องใส่ข้อมูลต่างๆเหล่านี้ลงในแอพพลิเคชั่น เพราะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล เราเพียงแต่เปลี่ยนในฐานข้อมูลเท่านั้น ไม่ต้องเปลี่ยนในแอพพลิเคชั่น ซึ่งหมายถึง ต้องสร้างไฟล์ทำงานและตรวจสอบความถูกต้องของแอพพลิเคชั่นใหม่ซึ่งยุ่งยากมาก

ที่มา : www.chakkham.ac.th/

 

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูล

 

1.อธิบายฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ (Centralized Database System)

ตอบ  การมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ที่พร้อมใช้งานมีประโยชน์อย่างมากมาย ผู้ปฏิบัติงานมีหน้าที่ดูแลเพียงฐานข้อมูลเดียวเท่านั้น และแต่ละรายการสินค้าจะมีข้อมูลบันทึกหลักรายการเดียว โดยมีข้อมูลหลักเพียงหนึ่งชุด

เครื่องชั่งนับจำนวนชิ้นของ METTLER TOLEDO มีฟังก์ชันทำงานฐานข้อมูลในระดับสูง โดยนำเสนอข้อดีจาก:

  • ฐานข้อมูลภายในเครื่องชั่ง สำหรับข้อมูล 30000 รายการ
  • การบริหารจัดการรายการข้อมูลมากกว่า 10,000 รายการอย่างรวดเร็วด้วยซอฟต์แวร์
  • การสำรองฐานข้อมูลรายการสินค้าได้อย่างเรียบง่าย
  • ฟังก์ชันนำเข้า/ส่งออกที่ชัดเจนพร้อมด้วยโปรแกรม MS Excel สำหรับการประมวลผลภายหลังของการใช้งานร่วมกับฐานข้อมูลที่มีอยู่เดิม
  • การป้อนข้อมูลที่ทำงานได้ง่ายด้วยโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์แบบมาตรฐาน เครื่องสแกนบาร์โค้ด หรือแป้นพิมพ์ภายนอก

ที่มา :http://th.mt.com/th/th/home/microsites/piece_counting/Solutions/Centr_Data.html

2.อธิบายฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Database System)

ตอบ  ระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Database System) หมายถึง ฐานข้อมูลที่มีการ
จัดเก็บข้อมูลอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องที่ติดตั้งอยู่ตามที่ต่างๆ โดยที่ระบบคอมพิวเตอร์
เหล่านี้มีการสื่อสารกันได้ ซึ่งผู้ใช้สามารถเรียกใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่องใดๆ ก็ได้ และ
ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับทราบว่าข้อมูลที่ตนต้องการนั้นจัดเก็บอยู่บนเครื่องใด พูดในอีกลักษณะหนึ่งก็คือ
ในทางกายภาพแล้วข้อมูลจะถูกเก็บกระจายตามเครื่องต่างๆ แต่ในแง่มุมของผู้ใช้จะเสมือนหนึ่งว่า
กำลังใช้ระบบฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์อยู่ปกติ แสดงดังรูปที่ 10.1
ส่วนความหมายของระบบการจัดการฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Database
Management System : DDBMS) คือ ระบบจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS ที่ทำหน้าที่จัดการระบบ
ฐานข้อมูลแบบกระจาย แต่ในปัจจุบัน DDBMS บางตัวจะยังไม่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามความหมาย
ตามหลักทฤษฎียกตัวอย่างเช่น ถ้า DDBMS ไม่สามารถที่จะดูแลเกี่ยวกับสถานที่ที่เก็บข้อมูลจริงได้ ก็จำเป็นที่ผู้ใช้งานจะต้องรับทราบว่าข้อมูลที่ตนต้องการนั้นถูกจัดเก็บไว้ที่สาขาไหน และระบุชื่อสาขาใน
คำสั่งที่ใช้ในการเรียกค้นหาข้อมูล เป็นต้น
แต่สำหรับระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามความหมาย ตามหลัก
ทฤษฎีแล้ว ผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลก็จะมองเสมือนหนึ่งว่างานทั้งระบบมีอยู่เพียงฐานข้อมูลเดียว และ
เรียกใช้ข้อมูลเหมือนตามปกติที่เคยทำกับระบบรวมศูนย์ (Centralize)

ที่มา : mathcom.uru.ac.th/~Kachane/DS/slide/DS_10.ppt

0

แบบฝึกหัดที่ 3 บทที่ 3 คอมพิวเตอร์ซอร์ฟแวร์

1.ซอฟต์แวร์ คืออะไร

ตอบ  ซอฟต์แวร์ (Software) คือ โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่จะสั่งและควบคุมให้ฮาร์ดแวร็คอมพิวเตอร์ทำงาน เราไม่สามารถจับต้อง ซอฟต์แวร์ ได้โดยตรงเหมือนกับตัวฮาร์ดแวร์ เพราะซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมนี้จะถูกจัดเก็บอยู่ในสื่อ ที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล เช่น แผ่นดิสก์ ซอฟต์แวร์ ที่มักติดตั้งไว้ในฮาร์ดดิสก์เพื่อทำงานทันที่ที่เปิดเครื่องคือ ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ สรุปแล้ว ซอฟต์แวร์ คือ โปรแกรมชุดคำสั่งไว้ควบคมคอมฯให้ทำงาน

ที่มา : http://www.dekdev.com/

 

2.ซอฟต์แวร์ระบบ คืออะไร

ตอบ  ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) คือโปรแกรมที่ใช้ในการควบคุมระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด เช่น การบูตเครื่อง การสำเนาข้อมูล การจัดการระบบของดิสก์ ชุดคำสั่งที่เขียนเป็นคำสั่งสำเร็จรูปโดยผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีมาพร้อมแล้วจากโรงงานผลิต การทำงานหรือการประมวลผลของซอฟต์แวร์เหล่านี้ขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องระบบของซอฟต์แวร์เหล่านี้ออกแบบมาเพื่อการปฏิบัติควบคุม และมีความสามารถในการยืดหยุ่นการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์

ที่มา : http://www.dekdev.com/

 

3.ซอฟต์แวร์ระบบแบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง

ตอบ  แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ

          1) โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System) เป็นโปรแกรมที่ใช้ควบคุมและติดต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะการจัดการระบบของดิสก์ การบริหารหน่วยความจำของระบบ กล่าวโดยสรุปคือ หากจะทำงานใดงานหนึ่งโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการทำงานแล้วจะต้องติดต่อกับซอฟต์แวร์ระบบก่อน ถ้าขาดซอฟต์แวร์ชนิดนี้จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ โปรแกรมระบบปฏิบัติการ DOS Unix Windows (เวอร์ชั่นต่าง ๆ เช่น 95 98 me 2000 NT) Sun OS/2 Warp Netware และ Linux

          2) ตัวแปลภาษาจาก Source Code ให้เป็น Object Code (แปลจากภาษาที่มนุษย์ใจให้เป็นภาษาที่เครื่องเข้าใจ เปรียบเสมือนล่ามแปลภาษา) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ คอมไพเลอร์ (Compiler) และอินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) คอมไพเลอร์จะแปลคำสั่งในโปรแกรมทั้งหมดก่อนแล้วทำการลิ้ง (Link) เพื่อให้ได้คำส่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ ส่วนอินเตอร์พีทเตอร์จะแปลทีละประโยคคำสั่งแล้วทำงานตามประโยคคำสั่งนั้น การจะเลือกใช้ตัวแปลภาษาแบบใดนั้นจะขึ้นอยู่กับภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม เช่น ภาษาเบสิก (Basic) ภาษาปาสคาล (Pascal) ภาษาซี (C) ภาษาจาวา (Java) ภาษาโคบอล (Cobol) ภาษา SQL ภาษา HTML เป็นต้น

          3) ยูทิลิตี้โปรแกรม (Utility Program) คือ ซอฟต์แวร์เสริมช่วยให้เครื่องทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ช่วยในการตรวจสอบดิสก์ ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลในดิสก์ ช่วยสำเนาข้อมูล ช่วยซ่อมอาการชำรุดของดิสก์ ช่วยค้นหาและกำจัดไวรัส ฯลฯ เป็นต้น โปรแกรมในกลุ่มนี้ได้แก่โปรแกรม Norton WinZip Scan virus Sidekick Scandisk Screen Saver ฯลฯ เป็นต้น

          4) ติดตั้งและปรับปรุงระบบ (Diagonostic Program) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการติดตั้งระบบเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อและใช้งานอุปกรณ์ต่า ๆ ที่นำมาติดตั้งระบบ ได้แก่ โปรแกรม Setup และ Driver ต่าง ๆ เช่น โปรแกรม Setup Windows Setup Microsoft Office โปรแกรม Driver Sound Driver CD-ROM Driver Printer Driver Scanner ฯลฯ เป็นต้น

ที่มา : http://www.dekdev.com/

 

4.จงบอกหน้าที่ของระบบปฏิบัติการมา 3 อย่าง พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

ตอบ  

1. ติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface)
คือ ผู้ที่ใช้สามารถที่จะติดต่อหรือควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทางด้านระบบปฏิบัติการ โดยที่ระบบปฏิบัติการนั้นจะส่งข้อความตอบโต้ไปยังผู้ใช้เพื่อที่จะให้ผู้ใช้ป้อนคำสั่งหรือสั่งการด้วยอุปกรณ์รับข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่ ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างโปรมแกรมประยุกต์ต่างๆ เพื่อติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ขณะที่เราใช้งานด้วย

2. ควบคุมดูแลอุปกรณ์และการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
เนื่องจากผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทางระบบปฏิบัติการ อาจไม่จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงหลักการทำงานภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้นระบบปฏิบัติการจึงต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้การทำงานของระบบเป็นไปได้อย่างถูกต้อง และสอดคล้อง
3. จัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ในระบบ
ทรัพยากร (Resource) คือ สิ่งที่ถูกใช้ไปเพื่อให้โปรแกรมดำเนินต่อไปได้ เช่น หน่วยประมวลผล (CPU) หน่วยความจำ (Memory) อุปกรณ์รับและแสดงผลข้อมูล (Input/Output)
ดังนั้น ระบบปฏิบัติการจะต้องจัดสรรทรัพยากรเหล่านี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ถ้าระบบปฏิบัติการสามารถจักสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพแล้ว การทำงานของโปรแกรมต่าง ๆ ก็สามารถทำให้ได้รวดเร็ว และได้ปริมาณงานเพิ่มขึ้นด้วย

ที่มา : http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech03/32/p5-2.html

 

5.ระบบปฏิบัติการเครือข่าย คืออะไร

ตอบ   ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network operating System หรือ NOS) จะเป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกออกแบบมาสำหรับจัดการงานด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ และช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับเครือข่ายสามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือเครื่องพิมพ์ร่วมกันได้ ระบบปฏิบัติการเครือข่ายมีคุณสมบัติต่างๆ คล้ายระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอส แต่เพิ่มการจัดการเกี่ยวกับเครือข่ายและการใช้อุปกรณ์ร่วมกัน รวมทั้งมีระบบการป้องกันการสูญหายของข้อมูลด้วย

            ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่นิยมใช้ปัจจุบัน จะใช้หลักการประมวลผลแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ (Client / Server) โดยส่วนประกอบสำหรับการเรียกใช้แฟ้มข้อมูลและการจัดการโปรแกรมจะทำงานอยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ในขณะที่ส่วนประกอบอื่น ๆ ของระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะอยู่บนเครื่องไคลเอนต์ เช่น การติดต่อกับผู้ใช้ การประมวลผล เป็นต้น การจัดการให้ผู้ใช้เห็นว่างานและอุปกรณ์ทั้งหลายที่ใช้นั้นเสมือนอยู่บนเครื่องไคลเอนต์เอง ถือว่าเป็นหน้าที่หลักอันหนึ่งของระบบปฏิบัติการเครือข่าย

ที่มา : http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech03/05/__21.html

 

6.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คืออะไร

ตอบ  ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ถูกจัดทำขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะด้านหรือเฉพาะองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ซอฟต์แวร์ประเภทนี้มักสร้างขึ้นโดยบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่มีความชำนาญด้านนั้น ๆ โดยเฉพาะ หรือออกแบบและสร้างโดยบุคลากรในฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรก็ได้ ต้องมีทีมงานในการดำเนินการวิเคราะห์และออกแบบระบบงานอย่างรอบคอบ เมื่อออบแบบระบบงานใหม่ได้แล้ว จึงลงมือสร้างโปรแกรมจนเสร็จ แล้วทำงการทดสอบโปรแกรมให้สามารถทำงานได้ถูกต้องแน่นอน จนสามารถทำงานได้จริง ตัวอย่างซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ ซอฟต์แวร์ด้านงานบุคลากร ซอฟต์แวร์ระบบงานบัญชี ซอฟต์แวร์ระบบสินค้าคงคลัง ซอฟต์แวร์ของการรถไฟ ซอฟต์แวร์ของธุรกิจธนาคาร ซอฟต์แวร์ของธุรกิจประกันภัย ซอฟต์แวร์ของการบินไทย ซอฟต์แวร์บริหารการศึกษาเป็นต้น

ที่มา : http://www.dekdev.com/

 

7.ซอฟต์แวร์ประยุกต์จำแนกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง

ตอบ  ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

          2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เป็น Software ที่ใช้สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น Software สำหรับงานธนาคารการฝากถอนเงิน Software สำหรับงานทะเบียนนักเรียน ซอฟต์แวร์คิดภาษี ซอฟต์แวร์การให้บริการร้าน Seven ฯลฯ
          2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับงานทั่วไป โดยในซอฟต์แวร์ 1 ตัวมีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร (Microsoft Word ) มีความสามารถในการสร้างงานเอกสารต่าง ๆ จัดทำเอกสารรายงาน จัดทำแผ่นพับ จัดทำหนังสือเวียน จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์

ที่มา : https://sites.google.com/site/mju5303103351cs203/sxftwaer-prayukt-khux-xari-baeng-xxk-pen-ki-prapheth-xari-bang-cng-xthibay

 

8.ภาษาที่ใช้กับคอมพิวเตอร์มีกี่ภาษา อะไรบ้าง

ตอบ  มนุษย์ ใช้ภาษาในการสื่อสารมาตั้งแต่สมัยโบราณ การใช้ภาษาเป็นเรื่องที่มนุษย์พยายามถ่ายทอดความคิดและความรู้สึกต่าง ๆ เพื่อการโต้ตอบและสื่อความหมาย ภาษาที่มนุษย์ใช้ติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หรือภาษาจีน ต่างเรียกว่า “ภาษาธรรมชาติ” (Natural Language) เพราะมีการศึกษา ได้ยิน ได้ฟัง กันมาตั้งแต่เกิดการใช้งานคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ทำงานตามที่ต้องการ จำเป็นต้องมีการกำหนดภาษา สำหรับใช้ติดต่อสั่งงานกับคอมพิวเตอร์ ภาษาคอมพิวเตอร์จะเป็น ”ภาษาประดิษฐ์” (Artificial Language) ที่มนุษย์คิดสร้างมาเอง เป็นภาษาที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะ มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัวและจำกัด คืออยู่ในกรอบให้ใช้คำและไวยากรณ์ที่กำหนดและมีการตีความหมายที่ชัดเจน จึงจัดภาษาคอมพิวเตอร์เป็นภาษาที่มีรูปแบบเป็นทางการ (Formal Language) ต่างกับภาษาธรรมชาติที่มีขอบเขตกว้างมาก ไม่มีรูปแบบตายตัวที่แน่นอน  กฎเกณฑ์ของภาษาจะขึ้นกับหลักไวยากรณ์และการยอมรับของกลุ่มผู้ใช้นั้น ๆ
ภาษา คอมพิวเตอร์อาจแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ ภาษาเครื่อง (Machine Language) ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language) และภาษาระดับสูง (High Level Language)
          1  ภาษาเครื่อง (Machine Language)
การ เขียนโปรแกรมเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานในยุคแรก ๆ จะต้องเขียนด้วยภาษาซึ่งเป็นที่ยอมรับของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า “ภาษาเครื่อง” ภาษานี้ประกอบด้วยตัวเลขล้วน ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ทันที ผู้ที่จะเขียนโปรแกรมภาษาเครื่องได้ ต้องสามารถจำรหัสแทนคำสั่งต่าง ๆ ได้ และในการคำนวณต้องสามารถจำได้ว่าจำนวนต่าง ๆ ที่ใช้ในการคำนวณนั้นถูกเก็บไว้ที่ตำแหน่งใด ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดในการเขียนโปรแกรมจึงมีมาก นอกจากนี้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละระบบมีภาษาเครื่องที่แตกต่างกันออก ทำให้เกิดความไม่สะดวกเมื่อมีการเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์เพราะจะต้องเขียน โปรแกรมใหม่ทั้งหมด

        2  ภาษาระดับต่ำ (Low Level Language)

เนื่อง จากภาษาเครื่องเป็นภาษาที่มีความยุ่งยากในการเขียนดังได้กล่าวมาแล้ว จึงไม่มีผู้นิยมและมีการใช้น้อย ดังนั้นได้มีการพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ขึ้นอีกระดับหนึ่ง โดยการใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษเป็นรหัสแทนการทำงาน การใช้และการตั้งชื่อตัวแปรแทนตำแหน่งที่ใช้เก็บจำนวนต่าง ๆ ซึ่งเป็นค่าของตัวแปรนั้น ๆ การใช้สัญลักษณ์ช่วยให้การเขียนโปรแกรมนี้เรียกว่า “ภาษาระดับต่ำ”ภาษาระดับต่าเป็นภาษาที่มีความหมายใกล้เคียงกับภาษาเครื่อง มากบางครั้งจึงเรียกภาษานี้ว่า  “ภาษาอิงเครื่อง” (Machine – Oriented Language) ตัวอย่างของภาษาระดับต่ำ  ได้แก่ ภาษาแอสเซมบลี เป็นภาษาที่ใช้คำในอักษรภาษาอังกฤษเป็นคำสั่งให้เครื่องทำงาน เช่น ADD หมายถึง บวก SUB หมายถึง ลบ เป็นต้น การใช้คำเหล่านี้ช่วยให้การเขียนโปรแกรมง่ายขึ้นกว่าการใช้ภาษาเครื่องซึ่ง เป็นตัวเลขล้วน ดังตารางแสดงตัวอย่างของภาษาระดับต่ำและภาษาเครื่องที่สั่งให้มีการบวกจำนวน ที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำ

ตารางที่ 5.1 แสดงความสัมพันธ์ของคำสั่งในภาษาระดับต่ำและภาษาเครื่อง
ภาษาระดับต่ำ    ภาษาเครื่อง    รหัสเลขฐานสิบหก
MOV   AL,05    10110000     00000101    B0     05
MOV   BL,08    10110011     00001000    B3     08
ADD   AL,BL    00000000     11011000    00     D8
MOV   CL,AL    10001000     11000001    88     C1
จาก ตารางบรรทัดแรก 10110000 00000101 เป็นคำสั่งให้นำจำนวน 5 (หรือเขียนในรูปของเลขฐานสองเป็น 00000101) ไปเก็บในรีจิสเตอร์ชื่อ AL โดยส่วนแรก 10110000 คือรหัสคำสั่ง MOV ซึ่งเป็นการเคลื่อนย้ายข้อมูลจำนวนมาเก็บไว้ในรีจิสเตอร์ AL
บรรทัดที่ สอง 10110011 00001000 เป็นคำสั่งให้นำจำนวน 8 (หรือเขียนในรูปของเลขฐานสองเป็น 00001000) ไปเก็บในรีจิสเตอร์ชื่อ BL โดยส่วนแรก 10110011 คือรหัสคำสั่ง MOV ซึ่งเป็นการเคลื่อนย้ายข้อมูลจำนวนมาเก็บไว้ในรีจิสเตอร์ BL
บรรทัดที่สาม เป็นคำสั่งการบวกระหว่างรีจิสเตอร์ AL กับ BL หรือนำ 5 บวก 8 ผลลัพธ์เก็บในรีจิสเตอร์ AL
บรรทัดที่สี่ เป็นการนำผลลัพธ์จากรีจิสเตอร์ชื่อ AL ไปเก็บไว้ในรีจิสเตอร์ชื่อ CL
การ ใช้โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีนั้น  เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ทันที จำเป็นต้องมีการแปลโปรแกรมในการแปลที่มีชื่อว่า “แอสเซมเบลอร์” (Assembler) ซึ่งแตกต่างไปตามเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละชนิด ดังนั้นแอสเซมเบลอร์ของเครื่องชนิดหนึ่งจะไม่สามารถใช้แปลโปรแกรมภาษาแอสเซ มบลีของเครื่องชนิดอื่น ๆ ได้ภาษาแอสเซมบลีนี้ยังคงใช้ยาก เพราะผู้เขียนโปรแกรมจะต้องเข้าใจในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่าง ละเอียด ต้องรู้ว่าจำนวนที่จะนำมาคำนวณนั้นอยู่ ณ ตำแหน่งใดในหน่วยความจำในทำนองเดียวกับการเขียนโปรแกรมเป็นภาษาเครื่อง ภาษาแอสเซมบลีจึงมีผู้ใช้น้อย และมักจะใช้ในกรณีที่ต้องการควบคุมการทำงานภายในของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ 

         3  ภาษาระดับสูง (High Level Language)

ภาษา ระดับสูงเป็นภาษาที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรม กล่าวคือลักษณะของคำสั่งจะประกอบด้วยคำต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้อ่านสามารถเข้าใจความหมายได้ทันที ผู้เขียนโปรแกรมจึงเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงได้ง่ายกว่าเขียนด้วยภาษาแอ สเซมบลีหรือภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีมากมายหลายภาษา อาทิเช่น ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) ภาษาโคบอล (COBOL) ภาษาปาสคาล (Pascal) ภาษาเบสิก(BASIC) ภาษาวิชวลเบสิก (Visual Basic) ภาษาซี (C) และภาษาจาวา (Java) เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงแต่ละภาษาจะต้องมีโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปล ภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง เช่น โปรแกรมแปลภาษาฟอร์แทรนเป็นภาษาเครื่อง โปรแกรมแปลภาษาปาสคาลเป็นภาษาเครื่อง คำสั่งหนึ่งคำสั่งในภาษาระดับสูงจะถูกแปลเป็นภาษาเครื่องหลายคำสั่ง
ภาษาระดับสูงที่จะกล่าวถึงในที่นี้ ได้แก่
    1)  ภาษาฟอร์แทรน (FORmula TRANstation : FORTRAN)
จัด เป็นภาษาระดับสูงที่เก่าแก่ที่สุด ได้รับการคิดค้นขึ้นเป็นครั้งแรก ราว พ.ศ. 2497 โดยบริษัท ไอบีเอ็ม เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับงานที่ต้องการการคำนวณ เช่น งานทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และงานวิจัยต่าง ๆ เนื่องจากแนวคิดในการเขียนโปรแกรมในระยะหลังนี้เปลี่ยนมานิยมการเขียน โปรแกรมแบบโครงสร้างมากขึ้น ลักษณะของคำสั่งภาษาฟอร์แทรนแบบเดิมไม่เอื้ออำนวยที่จะให้เขียนได้ จึงมีการปรับปรุงโครงสร้างของภาษาฟอร์แทรนให้สามารถเขียนโปรแกรมแบบโครง สร้างขึ้นมาได้ในปี พ.ศ. 2509 เรียกว่า FORTRAN 66 และในปี พ.ศ. 2520 สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (American National Standard Institute หรือ ANSI) ได้ปรับปรุง FORTRAN 66 และยอมรับให้เป็นภาษาฟอร์แทรนที่เป็นมาตรฐาน เรียกว่า FORTRAN 77 ใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีตัวแปลภาษานี้
    2)  ภาษาโคบอล (Common Business Oriented Language : COBOL)
เป็น ภาษาที่พัฒนาขึ้นในราว พ.ศ. 2502  ต่อมาได้รับการปรับปรุงจากคณะกรรมการซึ่งเป็นตัวแทนของหน่วยงานธุรกิจและ รัฐบาลของสหรัฐอเมริกา เป็นภาษาโคบอลมาตรฐานในปี พ.ศ. 2517 เป็นภาษาที่เหมาะสมสำหรับงานด้านธุรกิจ เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ส่วนมากมีโปรแกรมแปลภาษาโคบอล
3)  ภาษาเบสิก (Beginner’s All – purpose Symbolic Instruction Code : BASIC)
เป็น ภาษาที่ได้รับการคิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่วิทยาลัยดาร์ทมัธ (Dartmouth College) และเผยแพร่เป็นทางการในปี พ.ศ. 2508ภาษาเบสิกเป็นภาษาที่สร้างขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้สอนเพื่อใช้สอน เขียนโปรแกรมแทนภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาอื่น เช่น ภาษาฟอร์แทรน ซึ่งมีขนาดใหญ่และต้องใช้หน่วยความจำสูงในการทำงาน ซึ่งไม่เหมาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในสมัยนั้น ภาษาเบสิกเป็นภาษาที่มีขนาดเล็ก เป็นตัวแปลภาษาชนิดที่เรียกว่าอินเทอร์พรีเตอร์
นอก จากนี้    ภาษาเบสิกเป็นภาษาที่ง่ายต่อการเขียน    ซึ่งผู้เขียนจะสามารถนำไปประยุกต์กับการแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ทุกสาขาวิชา    ผู้ที่เพิ่งฝึกเขียนโปรแกรมใหม่ ๆ หรือผู้ที่ไม่ใช่นักเขียนโปรแกรมมืออาชีพ แต่เป็นเพียงวิศวกรหรือนักวิจัย จะสามารถหัดเขียนโปรแกรมภาษาเบสิกได้ในเวลาไม่นานนัก ปกติภาษาเบสิกส่วนใหญ่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์
    4) ภาษาปาสคาล (Pascal)
ตั้ง ชื่อตามนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ เบลส ปาสคาล (Blaise Pascal) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องคิดเลขโดยใช้เฟืองหมุน ภาษาปาสคาลคิดขึ้นในปี พ.ศ. 2514 โดยนิคลอส เวียซ (Niklaus Wirth) ศาสตราจารย์วิชาคอมพิวเตอร์ชาวสวิต ภาษาปาสคาลได้รับการออกแบบให้ใช้ง่ายและมีโครงสร้างที่ดี จึงเหมาะกับการใช้สอนหลักการเขียนโปรแกรม ปัจจุบันภาษาปาสคาลยังคงได้รับความนิยมใช้ในการเรียนเขียนโปรแกรม คอมพิวเตอร์
     5)  ภาษาซีและซีพลัสพลัส (C และ C++)
ภาษา ซีเป็นภาษาที่พัฒนาจากห้องปฏิบัติการเบลล์ของบริษัทเอทีแอนด์ทีในปี พ.ศ. 2515 หลังจากที่พัฒนาขึ้นได้ไม่นาน ภาษาซีก็กลายเป็นภาษาที่นิยมในหมู่นักเขียนโปรแกรมมาก และมีใช้งานในเครื่องทุกระดับ ทั้งนี้เนื่องจากภาษาซีได้รวมเอาข้อมูลของภาษาระดับสูงและภาษาระดับต่ำเข้า ไว้ด้วยกัน กล่าวคือเป็นภาษาที่มีไวยากรณ์ที่เข้าใจง่าย ทำให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายเช่นเดียวกับภาษาระดับสูงทั่วไป แต่ประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานดีกว่ามาก เนื่องจากมีการทำงานเหมือนภาษาระดับต่ำ สามารถทำงานได้ในระดับที่เป็นการควบคุมฮาร์ดแวร์ได้มากกว่าภาษาระดับสูงอื่น ๆ ดังจะเห็นว่าภาษาซีเป็นภาษาที่สามารถพัฒนาระบบปฏิบัติการได้ เช่น ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
นอก จากนี้เมื่อแนวคิดของการเขียนโปรแกรมแบบเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming : OOP) ได้เข้ามามีบทบาทในวงการคอมพิวเตอร์มากขึ้น ภาษาซีก็ยังได้รับการพัฒนาโดยประยุกต์ใช้กับการเขียนโปรแกรมดังกล่าว เกิดเป็นภาษาใหม่ชื่อว่า “ภาษาซีพลัสพลัส” (C++)
    6)  ภาษาวิชวลเบสิก (Visual Basic)
เป็น ภาษาที่พัฒนาต่อมาจากภาษาเบสิก  ใช้ไวยากรณ์บางส่วนของภาษาเบสิกในการเขียนโปรแกรม   แต่มีแนวคิดและวิธีการพัฒนาโปรแกรมที่แตกต่างจากภาษาเบสิกโดยสิ้นเชิง รวมทั้งการใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำก็แตกต่างกันมาก ทั้งนี้เนื่องจากภาษาวิชวลเบสิกใช้แนวคิดที่ต่างออกไป
7)  การเขียนโปรแกรมแบบจินตภาพ (Visual Programming)
ภาษา นี้พัฒนาขึ้นโดยบริษัทไมโครซอฟต์ออกแบบเพื่อเขียนโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้ บนระบบปฏิบัติการแบบจียูไอ เช่น ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์ มีการติดต่อกับผู้ใช้โดยใช้รูปภาพ การเขียนโปรแกรมทำได้ง่ายกว่าการเขียนโปรแกรมแบบเก่ามาก
     8)  ภาษาจาวา (Java)
พัฒนา ขึ้นในปี พ.ศ. 2534 โดยบริษัทซันไมโครซิสเตมส์ เป็นภาษาที่ได้รับความนิยมสูงมาโดยตลอด เนื่องจากเป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถเขียนโปรแกรมและใช้งานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภทและระบบ ปฏิบัติการทุกรูปแบบ ในช่วงแรกที่เริ่มมีการนำภาษาจาวามาใช้งานจะเป็นการใช้งานบนเครือข่ายอิน เทอร์เน็ต เป็นภาษาที่เน้นการทำงานบนเว็บ แต่ปัจจุบันสามารถสามารถนำมาประยุกต์สร้างโปรแกรมใช้งานทั่วไปได้
นอก จากนี้ เมื่อเทคโนโลยีของการสื่อสารก้าวหน้าขึ้น จนกระทั่งเครื่องคอมพิวเตอร์ปาล์มท็อป หรือ แม้แต่โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตและใช้งาน ระบบเวิลด์ไวด์เว็บได้ ภาษาจาวาก็สามารถสร้างส่วนที่เรียกว่า “แอปเพล็ต” (Applet) ให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่กล่าวข้างต้น เรียกใช้งานจากเครื่องที่เป็นแม่ข่าย (Server) ได้
    9)  ภาษาเดลฟาย (Delphi)
เป็น ภาษาที่ได้รับความนิยมภาษาหนึ่ง แนวคิดในการเขียนโปรแกรมภาษาเดลฟายเหมือนกับแนวคิดในการเขียนโปรแกรมภาษาวิ ชวลเบสิก คือเป็นการเขียนโปรแกรมเชิงจินตภาพ แต่ภาษาพื้นฐานที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมจะเป็นภาษาปาสคาล  ในการเขียนโปรแกรมเชิงจินตภาพนี้มีคอมโพเนนต์ (Component) ที่สามารถใช้เป็นส่วนประกอบเพื่อสร้างส่วนติดต่อผู้ใช้ที่เป็นแบบกราฟิก ทำให้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนามีความน่าสนใจและใช้งานง่ายขึ้น การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาเดลฟายจึงเป็นที่นิยมในการนำไปพัฒนาเป็นโปรแกรมใช้ งานมาก รวมทั้งภาษาปาสคาลเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย เหมาะแก่การนำมาใช้สอนเขียนโปรแกรม
     4.  ภาษาระดับสูงมาก 

 เป็น ภาษาโปรแกรมยุคที่ 4 ซึ่งเป็นภาษาระดับสูงมาก จัดเป็นภาษาไร้กระบวนคำสั่ง หมายความว่าผู้ใช้ เพียงบอกแต่ว่าให้คอมพิวเตอร์ทำอะไร โดยไม่ต้องบอกคอมพิวเตอร์ว่าสิ่งนั้นทำอย่างไร เรียกว่าเป็นภาษาเชิงผลลัพธ์ คือเน้นว่าทำอะไร ไม่ใช่ทำอย่างไร ดังนั้นจึงเป็นภาษาโปรแกรมที่เขียนง่าย

     5. ภาษาธรรมชาติ 

 เป็น ภาษาโปรแกรมยุคที่ 5 ซึ่งคล้ายกับภาษาพูดตามธรรมชาติของคน การเขียนโปรแกรมง่ายที่สุด คือการเขียนคำพูดของเราเองว่าเราต้องการอะไร ไม่ต้องใช้คำสั่งงานใดๆ เลย

ตัวอย่างภาษาในยุคต่างๆ ดังนี้

Fortran : ภาษาระดับสูงภาษาแรก เป็นภาษาโปรแกรมที่ใช้งานด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และด้านคณิตศาสตร์ ภาษาฟอร์เทนจะประกอบด้วยข้อความ คำสั่ง ทีละบรรทัด

Colbol : ภาษาโปรแกรมสำหรับธุรกิจ ที่มีลักษณะคล้ายกับภาษาอังกฤษ และที่สำคัญคือ เป็นภาษาโปรแกรมที่อิสระจากเครื่อง หมายความว่า โปรแกรมที่เขียนขึ้นใช้งานบนคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งเพียงแค่ปรับปรุงเล็กน้อย ก็สามารถรันได้บนคอมพิวเตอร์อีกชนิดหนึ่ง

Basic : ภาษาโปรแกรมสำหรับผู้เริ่มต้น เป็นภาษาโปรแกรมที่เรียนรู้ง่าย ไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับใช้ในวงการศึกษา

Pascal : เป็นภาษาสำหรับการเรียนการสอนโดยเฉพาะ เป็นภาษาที่เขียนง่าย ใช้ถ้อยคำน้อย

Ada : ภาษามาตรฐาน ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย โปรแกรมเมอร์คนแรก คือ เคาต์ Add Lovelace เป็นภาษาที่ประสบความเร็จกับงานด้านธุรกิจ

C : ภาษาสมับใหม่ เป็นภาษาที่ใช้สำหรับเขียนโปรแกรมระบบปฎิบัติการ เหมาะสำหรับโปรแกรมเมอร์ที่มีความสามารถสูง

ALGOL : เป็นภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมด้านวิทยาศาสตร์

LISP : เป็นภาษาที่ใช้เมื่อประมวลผลด้านสัญลักษณ์, อักขระ,หรือคำต่างๆ ซึ่งเป็นการได้ตอบระหว่างคนกับคอมพิวเตอร์ ภาษานี้นิยมใช้เขียนโปรแกรมด้านปัญญาประดิษฐ์

Prolog : เป็นภาษาโปรแกรมสำหรับงานด้านปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งแทนการใช้ภาษาLISP

PL/1 : เป็นภาษาที่เรียนรู้ง่าย ใช้งานทั้งด้านวิทยาศาสตร์ และด้านธุรกิจ ดังนั้นภาษานี้จะมีขนาดใหญ่ มี option มาก

ALP : เป็นภาษที่เหมาะสมกับการทำตาราง มีสัญลักษณ์ต่างๆ มาก

Logo : เป็นภาษาย่อยของ lisp เป็นโปรแกรมสำหรับเด็ก มีการสนทนาโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ โดยใช้ “เต่า” เป็นสัญลักษณ์โต้ตอบกับคำสั่งง่ายเช่น forward, left

Pilot : เป็นภาษาโปรแกรมที่นิยมใช้มากที่สุดในการเขียนโปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน(CAI) เช่น งานเกี่ยวกับคำสั่ง ฝึกหัด การทดสอบ เป็นต้น

Smalltalk : เป็นภาษาเชิงโต้ตอบกับเครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยการจำ และการพิมพ์ เป็นภาษาที่สนับสนุนระบบคอมพิวเตอร์ภาพ เป็นภาษาเชิงวัตถุไม่ใช่เชิงกระบวนการ

Forth : เป็นภาษาสำหรับงานควบคุมแบบทันที เช่นการแนะนำกล้องดาราศาสตร์ และเป็นภาษาโปรแกรมที่มีความเร็วสูง

Modula-2 : คล้ายคลึงกับภาษาปาสคาล ออกแบบมาเพื่อให้เขียนซอฟต์แวร์ระบบ

RPG : เป็นภาษาเชิงปัญหา ออกแบบมาเพื่อใช้แก้ปัญหาการทำรายงานเชิงธุรกิจ เช่น การปรับปรุงแฟ้มข้อมูล

ทรี่มา : https://sites.google.com/site/programcomputer56/home/phasa-khxmphiwtexr

 

9.ภาษาชั้นสูงคืออะไร ยกตัวอย่างประกอบ

ตอบ   ภาษาระดับสูง (High Level Language)
ภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรมกล่าวคือลักษณะของคำสั่งจะประกอบด้วยคำต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้อ่านสามารถเข้าใจความหมายได้ทันที ผู้เขียนโปรแกรมจึงเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงได้ง่ายกว่าเขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีหรือภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีมากมายหลายภาษา อาทิเช่น ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) ภาษาโคบอล (COBOL) ภาษาปาสคาล (Pascal) ภาษาเบสิก(BASIC) ภาษาวิชวลเบสิก (Visual Basic) ภาษาซี (C) และภาษาจาวา (Java) เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงแต่ละภาษาจะต้องมีโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง เช่น โปรแกรมแปลภาษาฟอร์แทรนเป็นภาษาเครื่อง โปรแกรมแปลภาษาปาสคาลเป็นภาษาเครื่อง

ตัวอย่างภาษาระดับสูง

        1. ภาษาเบสิค (BASIC ย่อมาจาก Beginnig’s All Purpose Symbolic Instruction Code) เป็นภาษาที่นิยมมากที่สุดภาษาหนึ่ง ส่วนมากใช้กับมินิและไมโครคอมพิวเตอร์ เพราะสื่อสารโต้ตอบได้ทันที (Interactive language) การเขียนค่อนข้างง่าย การแก้ไขโปรแกรมก็สะดวก ภาษานี้จะต้องใช้ตัวแปลประเภท “ตัวแปลคำสั่ง” (Interpreter) แปลให้เป็นภาษาเครื่อง การแปลนั้นจะแปลทีละคำสั่ง แล้วปฏิบัติการตามคำสั่งเลย ถ้ามีการสั่งให้ทำซ้ำ ก็จะต้องแปลใหม่ทุกครั้ง
        ภาษาเบสิก เป็นภาษาที่เก่าแก่และได้รับการคิดค้นขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการเรียนและใช้นักวิชาการคอมพิวเตอร์เองไม่ชอบภาษานี้ และกล่าวหาว่าเป็นภาษาที่มีโครงสร้างภาษาไม่ค่อยดีจึงไม่ส่งเสริมให้นำไปใช้ในการเขียนโปรแกรมอย่างจริงจัง อย่างไรก็ตามผู้ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์เห็นไม่ตรงกัน คือคิดว่าเป็นภาษาที่ง่าย ดังนั้นจึงบรรจุตัวแปลภาษานี้เอาไว้ในหน่วยความจำรอม เพื่อให้ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ใช้ภาษานี้ได้
        2. ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN คำนี้ย่อมาจาก Formular Translator) เริ่มพัฒนาขึ้นใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1954 โดยบริษัท IBM ได้ว่าจ้างให้ประดิษฐ์ขึ้น เพื่อใช้ในการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ ภาษานี้ได้มีการดัดแปลงแก้ไขมาตลอดจาก FORTRAN I จนมาเป็น FORTRAN 77 ภาษานี้เหมาะกับงานคำนวณมาก จึงเป็นที่นิยมในกลุ่มวิศวกร นักสถิติและนักวิจัย ในการคำนวณจะมีฟังก์ชันต่างๆ ไว้ให้เรียกใช้ได้เต็มที่ เช่น การหารากที่สอง การหาค่าสัมบูรณ์ เป็นต้น แต่ไม่สามารถสั่งพิมพ์ผลหรือรายงานได้ดีเหมือนภาษาโคบอล

ที่มา : http://www.chakkham.ac.th/krusuriya/index.php?option=com_content&view=article&id=97&Itemid=114

http://www4.csc.ku.ac.th/~b5340204758/lean7.html

 

10.จงบอกวิธีการเลือกซื้อซอฟต์แวร์

ตอบ  

ข้อ 1 มีซอฟต์แวร์ทดลองใช้งานหรือไม่
ค่อน ข้างถือเป็นอันดับแรกในการเลือกซอฟต์แวร์เพื่อใช้งานกับธุรกิจของคุณ เนื่องจากการได้ทดลองใช้งานถือเป็นทางเลือกในการทดสอบและทดลองซอฟต์แวร์ว่า เหมาะกับธุรกิจหรือไม่ อีกประการคือถือเป็นการตรวจสอบซอฟต์แวร์ของผู้ผลิตด้วยว่าใช้งานได้จริงตาม ที่โฆษณาไว้หรือไม่ ถ้าหากดีจริงก็ค่อยซื้อมาใช้งาน ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะซื้อโปรแกรมทันทีหลังจากที่ดูจากการสาธิตเพราะการสาธิต นั้นจะยกเอาเฉพาะข้อดีของโปรแกรมมาให้ และค่อนข้างเป็นการทำงานที่หลอกตาเนื่องจากยังไม่มีการป้อนข้อมูลจริงลงไป บางบริษัทอาจบอกว่าไม่มีนโยบายเพราะกลัวลูกค้าใช้งานไม่เป็นก็ให้บอกปัดไป ได้เลย แหม ถ้าเราเอามาลองใช้เองไม่เป็นแล้วจะเอามาให้ทำไม อย่างน้อยที่สุดในแต่ละโปรแกรมจะต้องมีรายการช่วยเหลืออธิบายถึงวิธีการใช้ งานเพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง และถ้าหากซอฟต์แวร์ของบริษัทใดที่ไม่มีให้ทดลองใช้งานก็อาจต้องระแวงไว้ก่อน ว่า ซอฟต์แวร์นั้นค่อนข้างมีปัญหาในบางจุดหรือที่เรียกว่า Bug นั่นเอง

 

ข้อ 2 พิจารณาถึงประวัติของบริษัทในด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์
สำหรับ การพิจารณาในจุดนี้ก็เพื่อที่จะเป็นการการันตีว่า เมื่อเราซื้อสินค้าของบริษัทนี้แล้วจะได้รับการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้มีความ สามารถใหม่ ๆ ทันยุคของโลกปัจจุบันเสมอ เนื่องจากทุกวันนี้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก ไม่ถึง 5 ปีก็จะต้องมีการอัพเดทซอฟต์แวร์ แต่หากขาดบริษัทที่มีความสามารถในการพัฒนาซอฟต์แวร์แล้ว เราก็จะต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในการจัดซื้อซอฟต์แวร์ตัวใหม่มาใช้งานอีก
ข้อ 3 พิจารณาถึงระบบปฏิบัติการที่ใช้งานร่วม
โดย ส่วนใหญ่เรามักทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการเป็น Windows หากซอฟต์แวร์ตัวใดที่มีการทำงานบนระบบดอส ซึ่งถือว่าล้าหลังมากก็ไม่ควรที่จะซื้อหามาใช้งานเพราะไม่รองรับกับ เทคโนโลยีที่จะมีมาในอนาคตนั่นเอง โดยเล่ห์เหลี่ยมของผู้ขายซอฟต์แวร์มักจะบอกว่าใช้ได้ทั้งดอสและ Windows แต่ปรากฏว่าเมื่อใช้งานจริงใช้ได้เฉพาะระบบดอสข้อนี้จึงควรระวังก่อนการ เลือกใช้

 

ข้อ 4 พิจารณาถึงบริการหลังการขาย
การ พิจารณาบริการหลังการขาย ถือเป็นจุดสำคัญในการเลือกซอฟต์แวร์เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการทำงานบางอย่างของระบบอาจเกิดข้อผิดพลาดเมื่อใช้งานนานวันเข้า สำหรับการทดสอบในจุดนี้ก็ทำได้ไม่ยาก ก่อนอื่นควรที่จะดูบริการก่อนการซื้อก่อนว่ามีการให้คำปรึกษาเป็นอย่างไร โทรเข้าไปสอบถาม หรือเข้าไปที่บริษัทแล้วได้รับการต้อนรับอย่างไร โดยเฉพาะในช่วงของการทดลองใช้โปรแกรมหากขอรับความรู้หรือขอทราบการแก้ไข ปัญหาแล้วได้รับการแก้ไขหรือตอบรับที่ดีก็ถือเป็นอีกหนึ่งจุดที่ชี้วัดต่อ การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ของบริษัทนั้น ๆ

 

ข้อ 5 คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย
โดย ส่วนใหญ่ซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นมาในปัจจุบันจะเขียนในลักษณะที่ค่อนข้างครอบ คลุมหลายธุรกิจให้สามารถนำไปประยุกต์ให้เข้ากับการทำงานในแต่ละส่วนแต่ละ กิจการ เราจึงควรศึกษาถึงส่วนประกอบต่าง ๆ ว่าในหน่วยงานมีการใช้งานหรือไม่ ส่วนใดที่สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้หรือไม่ได้จะได้เป็นการลดส่วนที่ไม่จำ เป็นออกไปและค่อนข้างประหยัดงบประมาณลงไปอีก นอกจากนี้การพิจารณาเลือกหน้าจอของซอฟต์แวร์ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่ต้อง พิจารณาร่วมด้วย เนื่องจากหน้าจอที่มีสีสันฉูดฉาดบาดตา อาจดูสวยงามในช่วงแรก แต่เมื่อมีการใช้งานนานไป ก็อาจทำให้เกิดความลำบากต่อการมองหรือทำงานได้
ที่มา : http://www.rightsoftcorp.com/?name=news&file=readnews&id=2

 

 

0

แบบฝึกหัดที่ 4 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ข้อ 1. ให้นักึกษาแต่ละคนไปหา Spec ของเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) หรือ Notebook 1 เครื่อง บอกคุณสมบัติของ Spec เหล่านั้น

1. CPU
– Intel Core i5- 4430
2. Hard disk
– Western Digital Blue 1 TB
3. RAM
– Kingston Hyper-x DDR3 4 GB 1600
4. CD – ROM Diver
– Asus DVD – RW 24X (24D3ST)
5. Monitor
– จอภาพแบบ LED Monitor ขนาด 20 นิ้ว
6. Sound Card
– Asus XONAR U7 soundcard 7.1 CH USB

 

 

1. CPU (Central Processing Unit)
คือ หน่วยประมวลผลกลาง
ทำหน้าที่  คำนวณค่า ประมวลผล และควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆในระบบ CPU

CPU ในการทำงานประกอบไปด้วย

– 1.1 core คือ    หน่วยประมวลผลย่อย

มีหน้าที่   คำนวณค่าความเร็วในการบวกเลข

– 1.2 cache คือ หน่วยความจำ

มีหน้าที่  เป็นกระดาษช่วยจำคอยบันทึกข้อมูลเพื่อนำไปคำนวณ

– 1.3 FSB คือ เส้นทางในการรับส่งข้อมูลของคอมพิวเตอร์

2. ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)
คือ  อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล

3. แรม (RAM)
คือ  หน่วยความจำชั่วคราว

4. CD-ROM Drive

คือ  เครื่องขับแผ่น CD ที่ติดตั้งอยู่หน้า Case การใช้งานต้องวางแผ่นลงบนถาดที่เลื่อนออกมาจาก CD-ROM Drive จากนั้นเพียงกดปุ่ม ถาดก็จะ เคลื่อนกลับเข้าไป พร้อมที่จะเล่นแผ่นได้ 

5. Monitor

คือ  จอมอนิเตอร์หรือว่าจอภาพ  มีความสำคัญสำหรับการแสดงผลข้อมูลให้กับทางด้านสายตา  ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลอะไรก็ตามที่เราสามารถที่จะดูได้ทางจอภาพไม่ว่าจะเป็น  ภาพ  แสง  สี ตัวหนังสือ  ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ในการแสดงผลหลักเลยก็ว่าได้หากไม่มีก็ไม่สามารถที่จะตรวจสอบสถานะต่างๆได้  และด้วยการแสดงผลที่ต้องมีคุณภาพจึงมีเทคโนโลยีต่างๆ  ที่พัฒนาขึ้นจากที่เคยเป็นจอขาวดำเหมือนเมื่อก่อน  แต่ก็ได้เป็นสี  โดยทั่วไปแล้วจอภาพที่เราใช้อยู่มีหลายแบบ  ทั้ง CRT  LCD cและ LED

6. sound card

คือ อุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถแสดงผลออกมาในรูปแบบเสียงได้ โดยจะทำหน้าที่ควบเรื่องเสียง อย่างเช่น ถ้าวงจรเสียงใช้กับเกมส์ที่เราเล่นจะเกิด เสียงต่าง ๆ   หรือสร้างเสียงเอฟเฟคต่าง ๆ เข้าเป็น วงจรเสียงที่ใช้กับดนตรีชนิดต่าง ๆ สำหรับสร้างสรรค์งานเพลงที่เราต้องการให้มีคุณภาพของเสียงที่ดีขึ้นกว่าเดิม โดยคุณภาพเสียงจะขึ้นอยู่กับรุ่นและยี่ห้อของ Sound Card

ที่มา : http://www.mindphp.com/

 

ข้อ 2. เปรียบเทียบเครื่องพิมพ์ 3 ชนิด คือ acer  Inkjet และหัวเข็ม

เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser printer)

r.gif
          เครื่องพิมพ์เลเซอร์ เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือยิงเลเซอร์ไปสร้างภาพบนกระดาษในการสร้างรูปภาพ หรือตัวอักษร ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาจะมีคุณภาพสูงมาก และราคาเครื่องพิมพ์ก็มีราคาสูงมากด้วยเช่นกัน ซึ่งเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะทำงานได้เร็วกว่าเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก และคุณภาพของผลลัพธ์ทั้งด้านความคมชัดและรายละเอียดทำออกมาได้ดีกว่าแบบพ่น หมึกมาก

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/เครื่องพิมพ์

 

เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท (Inkjet Printer)

เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท (Inkjet Printer).jpg

          เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท แต่เดิมสามารถพิมพ์ได้ 4 สีโดยใช้หมึกเติม แต่ในปัจจุบัน มีเพิ่มเข้ามา 6 สี หรือ 8 สี เพื่อลดปัญหาในการผสมสี แต่จะมี 4 สีเป็นแม่พิมพ์หลัก ซึ่งข้อดีของเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท คือ ภาพที่ออกมากจะสวยงามกว่า เครื่องปริ้นเลเซอร์ ซึ่งจะดูมีความเป็นธรรมชาติ ความคมชัดสูง แต่จะใช้เวลาพิมพ์นานกว่า

          Inkjet Printer เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไป ที่ไม่ใช่ร้านค้า หรือสำนักงาน เพราะการพิมพ์ไม่เยอะ ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่ม นักศึกษา นักเรียน วัยเรียน แต่ก็จะมีบริษัทใหญ่บางบริษัทที่ใช้อิงค์เจ็ทเพราะเน้นงานที่มีความสวยงามเป็นหลัก เช่น สตูดิโอ

ที่มา : http://www.lasuprint.com/

 

เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ (Dot-matrix printer)

;.jpg

          เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ การทำงานของเครื่องพิมพ์ประเภทนี้คือจะใช้การสร้างจุดลงบนกระดาษ ซึ่งหัวพิมพ์จะมีลักษณะเป็นหัวเข็ม เมื่อต้องการพิมพ์รูปทรงหรือรูปภาพใดๆ หัวเข็มที่อยู่ในตำแหน่งตามรูปประกอบนั้นๆ จะยื่นออกมามากกว่าหัวอื่นๆ และกระแทกกับผ้าหมึกลง กระดาษที่ใช้ พิมพ์ จะทำให้เกิดจุดมากมายประกอบกันเป็นรูปเกิดขึ้นมา เครื่องพิมพ์ประเภทนี้เป็นที่นิยมกันอย่างมากเพราะมีราคาถูกและคุณภาพเหมาะ สมกับราคา แต่ข้อเสียคือเวลาสั่งพิมพ์จะเกิดเสียดังพอสมควร

เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ ในปัจจุบันส่วนใหญ่ นิยมใช้กันมี 2 แบบ
1. เครื่องพิมพ์แบบ 9 เข็ม
2. เครื่องพิมพ์แบบ 24 เข็ม

 

ที่มา :  http://th.wikipedia.org/wiki/เครื่องพิมพ์
ข้อ 3. CD กับ DVD แตกต่างกันอย่างไร

 ซีดี (Compact Disc) คือแผ่นออพติคอลเก็บข้อมูลดิจิทัลต่าง ๆ ซึ่งเดิมพัฒนาสำหรับเก็บเสียงดิจิทัล ซีดีคือมาตรฐานรูปแบบการบันทึกเสียงทางการค้าในปัจจุบัน
        แผ่นซีดี หรือซีดี-รอม (CD-ROM : Compact Disc-Read Only Memory) ประดิษฐ์ในนามบริษัท จุดเริ่มต้นคือปี 1978 บริษัทฟิลิปส์และโซนี่จับมือกันผลิตคอมแพ็กดิสก์สำหรับบันทึกเสียง หรือ ซีดขึ้น ซึ่งขณะนั้นฟิลิปส์พัฒนาเครื่องเล่นเลเซอร์ดิสก์ออกจำหน่ายแล้ว และโซนี่ก็ได้วิจัยการบันทึกเสียงแบบดิจิตอลมานานนับสิบปีแล้ว
         ดีวีดี (Digital Video Disc หรือ Digital Versatile Disc : DVD) คือ ซีดีที่สามารถบันทึกข้อมูล ภาพ เสียง และข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ได้ และถึงแม้ดีวีดีจะมีหน้าตาเหมือนกันกับซีดี แต่ว่าสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่าถึง 7 ถึง 14 เท่าเลยทีเดียว จุดมุ่งหมายของดีวีดีก็เพื่อที่จะรวบรวมข้อมูลทุก ๆ อย่าง เช่น ความบันเทิงภายในบ้าน ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ หรือในธุรกิจไว้ในแผ่นเพียงแผ่นเดียว รวมถึงเข้ามาแทนที่แผ่นซีดี วีดีโอเทป เลเซอร์ดิสก์ ซีดีรอม หรือแม้กระทั่งวีดีโอเกมส์ ขณะนี้ดีวีดีกำลังได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง เนื่องจาก ดีวีดีให้ภาพและเสียงที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับโทรทัศน หรือเทปวีดีโอทั่ว ๆ ไป นอกจากนั้นยังใช้งานสะดวก และทนทานกว่าด้วย

         รูปแบบของแผ่นดีวีดี
         • แผ่น DVD-ROM เป็นแผ่นดีวีดีที่บันทึกข้อมูลเพียงอย่างเดียวเหมือนกับซีดีรอม โดยการบันทึกข้อมูลจากโรงงาน เราไม่สามารถบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมได้
         • แผ่น DVD-R (DVD-Recordable) เป็นแผ่นดีวีดีที่สามารถบันทึกข้อมูลได้เพียงครั้งเดียว โดยสามารถบันทึกได้ทั้งข้อมูลเพลงและวิดีโอ ขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่ใช้เขียนแผ่น
         • DVD-RW (DVD-Rewritable) สามารถเขียนข้อมูลซ้ำได้หลายครั้ง จะเล่นได้กับไดรว์ DVD-R/RWบนเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น
         • แผ่น DVD+R/RW เป็นแผ่นที่ใกล้เคียงกับ DVD-RW เป็นมาตรฐานที่ทำให้แผ่นที่สามารถเขียนซ้ำได้ สามารถนำไปใช้งานได้กับเครื่องเล่นดีวีดีอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ไดร์วของดีวีดีบนคอมพิวเตอร์
         • แผ่น DVD-RAM (DVD-Random Access Memory) เป็นดิสก์แบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยม สามารถบันทึกซ้ำได้เช่นเดียวกับ DVD-R, DVD+R/RW การบันทึกข้อมูลจะเป็นแบบฮาร์ดดิสก์ ซึ่งจะต้องมีไดร์ฟชนิดพิเศษในการอ่านและเขียนข้อมูล จะใช้งานผ่านไดร์ฟดีวีดีปกติไม่ได้ แต่ข้อดีของดีวีดีชนิดนี้ก็คือ สามารถบันทึกข้อมูลซ้ำได้มากกว่า 100,000 ครั้งทำให้มันถูกนำไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบใหม่มากขึ้น เช่น กล้องดิจิทัล

         คุณสมบัติพิเศษของดีวีดี
         1. คุณภาพของภาพและเสียง ระบบภาพของดีวีดีถูกบันทึกโดยใช้การบีบอัดภาพแบบ MPEG-2 ซึ่งจะให้คุณภาพของภาพและเสียงที่ดีกว่า
         2. การแสดงภาพแบบ Wide-Screen เนื่องจากโทรทัศน์ที่ใช้กันอยู่มีอัตราส่วนของจอภาพเป็น 4:3 แต่ภาพยนตร์ที่สร้างในปัจจุบันมีอัตราส่วนของภาพเป็น 16 : 9 หรือ 20 : 9 ดังนั้นเวลาที่นำภาพยนตร์มาบันทึกลงวิดีโอก็จะต้องตัดขอบบนและขอบล่างบางส่วนทิ้ง ด้วยเทคโนโลยีของดีวีดี ทำให้ชมภาพยนตร์ที่มีอัตราส่วน 16 : 9 ได้ซึ่งหมายความว่าจะต้องใช้ร่วมกับโทรทัศน์แบบWide-Screen ด้วย
         3. เลือกการทำงานแบบ Interactive เราสามารถเลือกมุมกล้องในการดูได้มากกว่า 1 มุมกล้อง ดีวีดีจะมีรายการให้เลือกรูปแบบการทำงาน ทำให้ผู้ใช้สามารถกำหนดสิ่งที่ตัวเองต้องการรับชมเหมือนกับเป็นผู้กำกับหนัง ซึ่งทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับแผ่นโปรแกรมแต่ละแผ่นด้วย
         4. สามารถให้ผู้ปกครองสามารถกำหนดรหัสผ่านในการชมภาพยนตร์ที่มีเรทอันไม่เหมาะสมกับอายุของเด็ก ๆ นอกจากนี้ยังสามารถชมภาพยนตร์ในแผ่นเดียวกันแต่เป็นเวอร์ชั่นในระดับที่ต่างกันได้
         5. วิดีโอหลายภาษา ผู้ชมภาพยนตร์สามารถเลือกภาษาที่ตนต้องการได้ เพราะแผ่นดีวีดีหนึ่งแผ่นจะเก็บซาวด์แทรคได้ถึง 8 ภาษาและคำบรรยายใต้ภาพอีก 32 ภาษา 

 

ที่มา : http://www.st.ac.th/av/inno_cddvd.htm

 

 

 

0

แบบฝึกหัดที่ 3 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความสำคัญของเทคโนโลยสารสนเทศและการประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ

1.ด้านการพัฒนาการเมืองการปกครอง

ตอบ  ความก้าวหน้าของวิทยาการการสื่อสารได้พัฒนาจนกระทั่งถึงยุคแห่งการปฏิวัติการสื่อสาร เทคโนโลยีการสื่อสารในยุคปัจจุบันนั้นทำให้อุปสรรคด้านเวลาและระยะทาง กลายเป็นเรื่องที่ไร้ความหมาย การมีโทรศัพท์ทำให้เราสามารถที่จะติดต่อสื่อสารกับบุคคลที่อยู่ห่างไกลได้ตลอดเวลา ระบบโทรทัศน์ทำให้เราเห็นและได้ยินเรื่องราวที่อยู่ไกลตัวภายในเวลาอัน รวดเร็วยิ่งขึ้น การเกิดขึ้นของการถ่ายทอดรายการสดผ่านดาวเทียมทำให้คนที่อยู่ห่างไกลจากเหตุการณ์นับเป็นหมื่น ๆ ไมล์ได้เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาจริงอย่างแทบไม่น่าเชื่อ อาจกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีการสื่อสารนั้นเข้ามาช่วยขยายประสบการณ์ด้านการรับสัมผัสของมนุษย์ให้กว้างขวางออกไป นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทั้งในศักยภาพและพลังอำนาจอิทธิพลของสื่อ จนแม้กระทั่งพรมแดน กองทัพและอำนาจอธิปไตยของแต่ละรัฐไม่สามารถเป็นกำแพงขวางกั้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความก้าวหน้าของการสื่อสารผ่านทางคลื่นอากาศ (airwave) และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (eledtromagnetic) อันได้แก่ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ดังเช่นที่ ชัยอนันต์ สมุทวณิช กล่าวไว้ว่า การเดินทางของข้อมูลข่าวสารสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็วจนก่อให้เกิดความจริงฉับพลันที่สัมผัสได้ (virtual reality) ใยแก้วนำแสงนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่ bit เข้ามาแทนที่ atom เทศะ (space) แยกออกได้จากสถาน (place) ก่อให้เกิดเทศะที่ไร้สถาน (space without place) เช่น เว็บไซต์ซึ่งมีที่ตั้งอยู่บนที่ว่างเสมือนจริง หรือ “Cyber Space” นั่นเอง

        เทคโนโลยีการสื่อสารที่มีการพัฒนาก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้งนั้นมีความสัมพันธ์กับอำนาจด้านการเมืองและการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคมอย่างใกล้ชิดและเมื่อมีการปฏิวัติด้านเทคโนโลยีการสื่อสารแบบใหม่ๆ ขึ้นจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะใหม่ๆ ตามมา ทั้งนี้สามารถอธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าวได้โดยใช้ทฤษฎีเทคโนโลยีเป็นตัวกำหนด (Technology Determinism) เป็นกรอบในการอธิบายได้ดังต่อไปนี้

        การพัฒนาการของเทคโนโลยีการสื่อสารกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมตามทฤษฎีเทคโนโลยีเป็นตัวกำหนด สามารถอธิบายการสื่อสารทางการเมืองของกลุ่มประชากรที่ใช้ศึกษาในงานวิจัยชิ้นนี้ โดยจะใช้ทฤษฎีเทคโนโลยีเป็นตัวกำหนด อธิบายภาพรวมของงานวิจัย กล่าวคือ เทคโนโลยีการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้น เป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารที่ถือได้ว่าเป็นผลมาจากการปฏิวัติครั้งที่ 4 คือการปฏิวัติระบบอิเล็กทรอนิคส์ ดิจิตอล อันอาจมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบางประการในสังคม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลต่อการพัฒนาทางด้านการเมืองในทางตรงอันจะส่งผลไปถึงการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมต่อไป ในท้ายที่สุดการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมนั้นก็อาจก่อให้เกิดผลต่อการพัฒนาการเมืองในทางอ้อม และนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารได้อีกครั้งหนึ่งโดยสามารถสรุปให้อยู่ในรูปของตัวแบบได้ดังนี้

แผนภาพที่ 1.1 ตัวแบบการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีการสื่อสาร ซึ่งมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

Internet.jpg

         ระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ ปรากฏการณ์ในการเกิดขึ้นของ “พื้นที่สาธารณะ” (public sphere) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ตรงกลางระหว่างรัฐกับประชาสังคมเป็นสิ่งสำคัญและเป็นพื้นที่ซึ่งทำหน้าที่รับประกันว่า การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างคนในสังคมในเชิง วิพากย์นั้นจะถูกทำให้เป็นสถาบันที่มั่นคง ชนชั้นกลางจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในพื้นที่สาธารณะ ทำให้พื้นที่ดังกล่าวสามารถสะท้อนประโยชน์ของสาธารณะและใช้เป็นเวทีในการวิพากษ์วิจารณ์และตรวจสอบอำนาจรัฐโดยสาธารณชน ความต้องการพื้นที่สาธารณะกลายเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อที่จะสะท้อนสิ่งที่เรียกว่า “เจตน์จำนงส่วนร่วม” (general will) ตามแนววิธีแบบสัญญาประชาคมอันจะทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดทิศทางของสังคม ในรูปของนโยบายสาธารณะในการบริหารจัดการกิจกรรมทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม เพราะมิฉะนั้นแล้ว สังคมประชาธิปไตยนั้นก็จะไม่สามารถดำรงอยู่ได้ และอาจจะกลับกลายไปเป็นสังคมที่อำนาจทางการเมืองตกอยู่ในความควบคุมของคนบางกลุ่มจำนวนหนึ่งเท่านั้น พื้นที่สาธารณะนอกจากจำเป็นต้องดำรงอยู่เพื่อทำหน้าที่ดังกล่าวแล้ว ยังต้องได้รับการพัฒนาไปตามบริบททางการเมือง สังคม เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดช่องว่างระหว่างพื้นที่สาธารณะกับการเปลี่ยนแปลงนั้น อาจส่งผลให้ประชาธิปไตยไร้ประสิทธิภาพและไม่สามารถบรรลุเป้าหมายของการเสริมสร้างและรักษาไว้ซึ่งสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของคนในสังคม

        ขณะเดียวกันหากพื้นที่สาธารณะมีพัฒนาการที่ก้าวล้ำเกินบริบทเหล่านั้น พื้นที่สาธารณะอาจไม่ใช่พื้นที่สาธารณะที่มุ่งสู่ผลประโยชน์ส่วนรวมก็ได้ เพราะคนบางกลุ่มอาจมีอิทธิพลในการตัดสินใจที่ประกอบขึ้นเป็นความคิดเห็นสาธารณะมากกว่ากลุ่มอื่นๆ การให้เสรีภาพในการสื่อสาร อาจนำไปสู่การที่บุคคลบางกลุ่มมีอิทธิพลในการกำหนดมติสาธารณะมากกว่ากลุ่มอื่น และทำให้ขาดความเสมอภาคอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “การสื่อสารทางเดียวโดยสื่อที่เป็นเชิงรูปแบบ” (formal mass) ซึ่งพื้นที่สาธารณะถูกลดบทบาทให้กลายเป็นเพียงตลาดหรือผู้บริโภคสื่อเหล่านี้เท่านั้น โดยไม่ได้มีส่วนกำหนดเนื้อหาของสื่อเหล่านี้แต่ อย่างใด อันเป็นบทเรียนจากสังคมเผด็จการ ทำให้เราไม่สามารถปล่อยให้พื้นที่สาธารณะถูกควบคุมโดยรัฐ ขณะเดียวกันบทเรียนจากสังคมประชาธิปไตยทุนนิยมปัจจุบันก็ทำให้เราไม่สามารถปล่อยให้ “พื้นที่สาธารณะตกอยู่ภายใต้กลุ่มทุนขนาดใหญ่” ได้เช่นกัน การนำเอาสื่ออินเตอร์เน็ตซึ่งเป็นการสื่อสารสองทางมาใช้เป็นพื้นที่สาธารณะสมัยใหม่ที่ทันกับการเปลี่ยนแปลงของบริบททางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเป็นสื่อที่มีราคาถูกปัจเจกบุคคลทั่วไปสามารถเป็นเจ้าของได้ ก็อาจป้องกันและลดการผูกขาดสื่อหรือพื้นที่สาธารณะของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ลงไป

ที่มา : http://wiki.kpi.ac.th/index.php?

 

2.ด้านธุรกิจ

ตอบ  เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในสมัยปัจจุบัน โดยเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทั้งใน ระดับ มหภาค และจุลภาค โดยระบบสังคมใหม่เป็นสังคมที่ข้อมูลข่าวสารสามารถเดินทางได้อย่างอิสระ บุคคลสามารถเข้าถึงและ นำข้อมูล มาใช้ ประโยชน์ อย่างเต็มที่ ก่อให้เกิดพัฒนาการที่รวดเร็วทางเศรษฐกิจสังคม การเมือง และเทคโนโลยี นอกจากการเปลี่ยนแปลง ในระดับมหภาคแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศยังช่วยเสริมประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ ซึ่งช่วยสร้างความ สามารถใน การแข่งขันและ ศักยภาพในการ เติบโตแก่ธุรกิจ 

บูรณาการของเทคโนโลยีสารสนเทศกับการดำเนินธุรกิจ

พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศสร้างความท้าทายต่อผู้บริหารในการบริหารงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยเฉพาะการ บูรณา การระหว่างเทคโนโลยีกับการดำเนินธุรกิจ (Integration between Technology and Business Operations) โดยผู้บริหาร ต้องคำนึงถึงความสอดคล้องระหว่างการดำเนินธุรกิจ เทคโนโลยี และการตัดสินใจที่ต้องกระทำอย่างสอดคล้องกัน ผู้บริหารต้อง สามารถ จัดการกับเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถแบ่งเป็นขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1. กำหนดกลยุทธ์องค์การที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. กำหนดแผนงานสารสนเทศระดับองค์การและการดำเนินงาน กำหนดโครงการสร้างหน่วยงานสารสนเทศ
3. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศขององค์การ (Information System Infrastructure) เช่นอุปกรณ์ ชุดคำสั่ง ระบบสื่อสาร และจัดการข้อมูล ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดศักยภาพและความ ยืดหยุ่นในการปรับ แต่งของงาน สาร สนเทศ ในองค์การ
4. กำหนดรายละเอียดการดำเนินงานภายในองค์การ พร้อมทั้งพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความพร้อมต่อการ ประยุกต์ เทคโนโลยี สารสนเทศ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดแก่องค์การ 

 

 รูป   แสดงการจัดการเทคโนโลยี

ที่มา : http://www.sirikitdam.egat.com/web_mis/123/index.html

3.ด้านการคมนาคม

ตอบ  เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้การคมนาคมและการสื่อสารเป็นไปด้วยความสะดวกสบายและ
รวดเร็วมากยงิ่ ขึ้น เช่น การเดินทางด้วยรถไฟฟ้า การติดต่อสื่อสารโดยใช้โทรศัพท์ เป็นต้น

        ในโลกวิวัฒนาการและการแปรเปลี่ยนของเทคโนโลยีสารสนเทศน์ต้องมีการตื่นตัวตลอดเวลา ผู้ให้บริการโครงข่าย ผู้จัดให้มีการให้บริการ ผู้ผลิต และผู้พัฒนาซอฟท์แวร์ จำเป็นต้องได้เปรียบในเชิงการแข่งขันโดยการจับมือกับห้องปฏิบัติการทดสอบและรับรองชั้นนำที่ความเชี่ยวชาญ ชำนาญการ มีประสิทธิภาพ และมีโครงข่ายผู้เชี่ยวชาญรอบโลกเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

        อินเตอร์เทค ทำอย่างดีที่สุดเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าอุปกรณ์หรือบริการโทรคมนาคมของลูกค้า รายละเอียดหรือการขออนุญาตพร้อมสำหรับการวางตลาดและเกินกว่าที่ลูกค้าของลูกค้าคาดหวังไว้ เราส่งมอบบริการครอบคลุมตั้งแต่การทดสอบด้านความปลอดภัยเพื่อการรับรองซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าสามารถ

  • เร่งความเร็วในการวางตลาด
  • ได้ประสิทธิภาพใหม่
  • ลดความเสี่ยงของลูกค้า ในขณะเดียวกันกับปกป้องชื่อเสียงและเครื่องหมายการค้า
  • เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานระดับประเทศและระดับโลก
  • แปลงเปลียนผลิตภัณฑ์ลูกค้าสู่ความสำเร็จ

ด้วยอินเตอร์เทค ผู้ให้บริการการทดสอบที่ที่ลูกค้าให้ความเชื่อถือ ลูกค้ายังได้รับประโยชน์เรื่องความรู้ระดับโลกที่นำเสนออยู่ต่อหน้า หากไม่คำนึงถึงบทบาทของลูกค้าในเทคโนโลยีสารสนเทศน์และโทรคมนาคม หรือ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อินเตอร์เทคสามารถช่วยลูกค้าโดยการส่งมอบคุณค่าแห่งคุณภาพให้แก่ลูกค้า

อินเตอร์ทคเสนอบริการการทดสอบ ตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ครอบคลุมรายการดังนี้:

  • เทคโนโลยีสารสนเทศและอิเล็กทรอนิกส์
  • บริการด้านโทรคมนาคม
  • อุปกรณ์สื่อสาร
  • การขออนุญาต ซอฟท์แวร์และรายละเอียด

การให้บริการและการแก้ปัญหาของเรา จัดการโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในห้องปฏิบัติการกว่า 100 ประเทศ สามารถช่วยให้ลูกค้านำผลิตภัณฑ์สู่ตลาดอย่างประสบความสำเร็จ

ที่มา : satunpao.go.th/knowledge/files/1290073733.pdf

http://www.intertek.co.th/it/

 

4.ด้านการพัฒนาสาธารณสุข

ตอบ  เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการนำมาใช้ในการพัฒนา ด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง และทำให้งานด้าน สาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับระบบการบริหารงาน และนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ ดังนี้

                             รูปแสดงการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในวงการสาธารณสุขและการแพทย์
 ด้านการลงทะเบียนผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มทำบัตร จ่ายยา เก็บเงิน
 การสนับสนุนการรักษาพยาบาล โดยการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถสร้างเครือข่ายข้อมูลทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วย
 สามารถให้คำปรึกษาทางไกล โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญ เทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหน้า หรือท่าทางของผู้ป่วยได้ ช่วยให้ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร หรือภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ได้
 เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยในการ ให้ความรู้แก่ประชาชนของแพทย์ หรือหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ได้ผลขึ้น โดยสามารถใช้สื่อต่างๆ เช่นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวมีเสียงและอื่นๆ เป็นต้น
 เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดนโยบาย และติดตามกำกับการดำเนินงานตามนโยบายได้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องฉับไว และข้อมูลที่จำป็น ทั้งนี้อาจใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ทำให้การบริหารเป็นไปได้ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
 ในด้านการให้ความรู้หรือการเรียน การสอนทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะดาวเทียม จะช่วยให้การเรียนการสอนทางไกล ทางด้านการแพทย์และสาธารณะสุข เป็นไปได้มากขึ้นประชาชนสามารถเรียนรู้พร้อมกันได้ทั่วประเทศและ ยังสามารถโต้ตอบหรือถามคำถามได้ด้วย
 
ที่มา : https://sites.google.com/site/krunoptechno/kar-prayukt/kar-prayukt-dan-kar-phaethy

 

5.ด้านการศึกษา

ตอบ  ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคม บทบาทที่สำคัญของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาการศึกษา
1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, ระบบมัลติมีเดีย, ระบบวิดีโอออนดีมานด์, วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา ในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตาม ประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคม
3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคล เกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียน ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้าน ทั้งนี้โดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร การดำเนินงานและเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ประโยชน์อย่างหนึ่งของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศควบคู่ไปกับการเรียนรู้ในห้องเรียนแบบเดิม ก็คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยการสนับสนุนให้ผู้เรียน ได้รับการเรียนรู้แบบมีการโต้ตอบ และเป็นแบบเห็นจริง อันจะเอื้ออำนวยให้เข้าใจแนวความคิดที่ซับซ้อน และได้รับข้อมูลความรู้อย่างถูกต้องมากกว่าการนั่งฟังบรรยายเพียงอย่างเดียว เนื่องจากว่าการศึกษาในหลาย สาขาวิชานั้นต้องการการอบรมที่ให้เห็นเสมือนเป็นการทำงานจริง คือมีการโต้ตอบ และแสดงผลโดยภาพกราฟิกที่มีคุณภาพดี หรือภาพเคลื่อนไหว รวมถึงการมีแบบทดสอบ เพื่อวัดความรู้ของตนเอง
ระบบการเรียนการสอนแบบ e-learning เป็นส่วนหนึ่งของการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งอาจเป็นได้ ทั้งสื่อแบบ offline, online หรือ web-based หรือแม้แต่ผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายๆชนิด เช่นโทรทัศน์, วิทยุ, เทป, ซีดีรอม หรือแม้แต่โทรศัพท์มือถือ ที่ต่อเชื่อมกับอินเตอร์เน็ตได้ รวมถึงการติดต่อผ่านระบบดาวเทียม ที่ไม่ได้มีการพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือ ทำให้การปรับปรุงแก้ไขทำได้โดยสะดวกและรวดเร็ว
ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า การจัดการเรียนการสอนด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นการจัดการศึกษาที่เป็นการศึกษาตลอดชีวิต นั่นคือ การจัดการศึกษาในภาพรวมทั้งหมดที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ที่จัดให้แก่บุคคลทุกช่วงอายุตั้งแต่เกิดจนตาย เพื่อมุ่งพัฒนาบุคคลอย่างเต็มศักยภาพให้มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์อย่างเพียงพอต่อการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพและการปรับตัวเข้ากับสภาพสังคมสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างเหมาะสมในทุกช่วงชีวิต

ประยุกต์ใช้ในงานด้านการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง สอนด้วยสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย ห้องเรียนสมัยใหม่ มีอุปกรณ์วิดีโอโปรเจคเตอร์ (Video Projector)มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีระบบการอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบต่าง ๆ รูปแบบของสื่อที่นำมาใช้ในด้านการเรียนการสอน ก็มีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำมาใช้ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อิเล็กทรอนิกส์บุค วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ระบบวิดีโอออนดีมานด์ การสืบค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์ และระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
        -คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนำเอาเทคโนโลยี รวมกับการออกแบบโปรแกรมการสอน มาใช้ช่วยสอน ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่าบทเรียน CAI ( Computer – Assisted Instruction ) การจัดโปรแกรมการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในปัจจุบันมักอยู่ในรูปของสื่อประสม (Multimedia) ซึ่งหมายถึงนำเสนอได้ทั้งภาพ ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวฯลฯ โปรแกรมช่วยสอนนี้เหมาะกับการศึกษาด้วยตนเอง และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบ กับบทเรียนได้ตลอด จนมีผลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนรู้ บทเรียนได้อย่างถูกต้อง และเข้าใจในเนื้อหาวิชาของบทเรียนนั้นๆ
-การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก เป็นการจัดการเรียน ที่มีสภาพการเรียนต่างไปจากรูปแบบเดิม การเรียนการสอนแบบนี้ อาศัยศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการนำเอาสื่อการเรียนการสอน ที่เป็นเทคโนโลยี มาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน ให้เกิดการเรียนรู้ การสืบค้นข้อมูล และเชื่อมโยงเครือข่าย ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานท ี่และทุกเวลา การจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้ มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-based Instruction) การฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-based Trainning) การเรียนการสอนผ่านเวิล์ดไวด์เว็บ (www-based Instruction) การสอนผ่านสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) เป็นต้น
-อิเล็กทรอนิกส์บุค คือการเก็บข้อมูลจำนวนมากด้วยซีดีรอม หนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลตัวอักษรได้มากถึง 600 ล้านตัวอักษร ดังนั้นซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลหนังสือ หรือเอกสารได้มากกว่าหนังสือหนึ่งเล่ม และที่สำคัญคือการใช้กับคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถเรียกค้นหาข้อมูลภายในซีดีรอม ได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ดัชนี สืบค้นหรือสารบัญเรื่อง ซีดีรอมจึงเป็นสื่อที่มีบทบาทต่อการศึกษาอย่างยิ่ง เพราะในอนาคตหนังสือต่าง ๆ จะจัดเก็บอยู่ในรูปซีดีรอม และเรียกอ่านด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่าอิเล็กทรอนิกส์บุค ซีดีรอมมีข้อดีคือสามารถจัดเก็บ ข้อมูลในรูปของมัลติมีเดีย และเมื่อนำซีดีรอมหลายแผ่นใส่ไว้ในเครื่องอ่านชุดเดียวกัน ทำให้ซีดีรอมสามารถขยายการเก็บข้อมูลจำนวนมากยิ่งขึ้นได้


รูปแสดงการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในงานด้านการศึกษา

-วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ หมายถึงการประชุมทางจอภาพ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย เป็นการประชุมร่วมกันระหว่างบุคคล หรือคณะบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่ และห่างไกลกันโดยใช้สื่อทางด้านมัลติมีเดีย ที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง เสียง และข้อมูลตัวอักษร ในการประชุมเวลาเดียวกัน และเป็นการสื่อสาร 2 ทาง จึงทำให้ ดูเหมือนว่าได้เข้าร่วมประชุมร่วมกันตามปกติ ด้านการศึกษาวิดีโอเทคเลคอนเฟอเรนซ์ ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ผ่านทางจอภาพ โทรทัศน์และเสียง นักเรียนในห้องเรียน ที่อยู่ห่างไกลสามารถเห็นภาพและเสียง ของผู้สอนสามารถเห็นอากับกิริยาของ ผู้สอน เห็นการเคลื่อนไหวและสีหน้าของผู้สอนในขณะเรียน คุณภาพของภาพและเสียง ขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางการสื่อสาร ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างสองฝั่งที่มีการประชุมกัน ได้แก่ จอโทรทัศน์หรือจอคอมพิวเตอร์ ลำโพง ไมโครโฟน กล้อง อุปกรณ์เข้ารหัสและถอดรหัส ผ่านเครือข่ายการสื่อสารความเร็วสูงแบบไอเอสดีเอ็น (ISDN)

รูปแสดงการเชื่อมต่อระบบวิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์

-ระบบวิดีโอออนดีมานด์ (Video on Demand) เป็นระบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้ ในหลายประเทศเช่น ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ทำให้ผู้ชมตามบ้านเรือนต่าง ๆ สามารถเลือกรายการวิดีทัศน์ ที่ตนเองต้องการชมได้โดยเลือกตามรายการ (Menu) และเลือกชมได้ตลอดเวลา วิดีโอออนดีมานด์ เป็นระบบที่มีศูนย์กลาง การเก็บข้อมูลวีดิทัศน์ไว้จำนวนมาก โดยจัดเก็บในรูปแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ (Video Server) เมื่อผู้ใช้ต้องการเลือกชมรายการใด ก็เลือกได้จากฐานข้อมูลที่ต้องการ ระบบวิดีโอ ออนดีมานด์จึงเป็นระบบที่จะนำมาใช้ ในเรื่องการเรียนการสอนทางไกลได้ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา ผู้เรียนสามารถเลือกเรียน ในสิ่งที่ตนเองต้องการเรียนหรือสนใจได้

-การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) ปัจจุบันได้มีการกล่าวถึงระบบการสืบค้นข้อมูลกันมาก แม้แต่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ก็มีการประยุกต์ใช้ไฮเปอร์เท็กซ์ในการสืบค้นข้อมูล จนมีโปรโตคอลชนิดพิเศษที่ใช้กัน คือ World Wide Web หรือเรียกว่า www. โดยผู้ใช้สามารถเรียกใช้โปรโตคอล http เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ไฮเปอร์เท็กซ์มีลักษณะเป็นแบบมัลติมีเดีย เพราะสามารถสร้างเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่เก็บได้ทั้งภาพ เสียง และตัวอักษร มีระบบการเรียกค้นที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้โครงสร้างดัชนีแบบลำดับชั้นภูมิ โดยทั่วไป ไฮเปอร์เท็กซ์จะเป็นฐานข้อมูลที่มีดัชนีสืบค้นแบบเดินหน้า ถอยหลัง และบันทึกร่องรอยของการสืบค้นไว้ โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างไฮเปอร์เท็กซ์มีเป็นจำนวนมาก ส่วนโปรแกรมที่มีชื่อเสียงได้แก่ HTML Compossor FrontPage Marcromedia DreaWeaver เป็นต้น ปัจจุบันเราใช้วิธีการสืบค้นข้อมูล เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประกอบในการทำเอกสารรายงานต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

รูปแสดงการสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซค์ Google

-อินเทอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายย่อย และเครือข่ายใหญ่สลับซับซ้อนมากมาย เชื่อมต่อกันมากกว่า 300 ล้านเครื่องในปัจจุบัน โดยใช้ในการติดต่อสื่อสาร ข้อความรูปภาพ เสียงและอื่น ๆ โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายกันอยู่ทั่วโลก ปัจจุบันได้มีการนำระบบอินเทอร์เน็ต เข้ามาใช้ในวงการศึกษากันทั่วโลก ซึ่งมีประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก
-ประยุกต์ใช้ในงานทะเบียนของสถานศึกษา

-งานรับมอบตัว ทำหน้าที่ตรวจสอบหลักฐานที่นักศึกษานำมารายงานตัว จากนั้นก็จัดเก็บประวัติภูมิหลังนักศึกษา เช่น ภูมิลำเนา บิดามารดา ประวัติการศึกษา ทุนการศึกษา ไว้ในแฟ้มเอกสารข้อมูลประวัตินักศึกษา
-งานทะเบียนเรียนรายวิชา ทำหน้าที่จัดรายวิชาที่ต้องเรียนให้กั บนักศึกษา ในแต่ละภาคเรียนทุกชั้นปี ตามแผนการเรียนของแต่ละแผนก แล้วจัดเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลผลการเรียน
-งานประมวลผลการเรียน ทำหน้าที่นำผลการเรียนจากอาจารย์ผู้สอนมาประมวลในแต่ละภาคเรียน จากนั้นก็จัดเก็บไว้ในแฟ้มเอกสารข้อมูลผลการเรียน และแจ้งผลการเรียนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
-งานตรวจสอบผู้จบการศึกษา ทำหน้าที่ตรวจสอบรายวิชา และผลการเรียน ที่นักศึกษาเรียนตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งจบหลักสูตร จากแฟ้มเอกสาร ข้อมูลผลการเรียน ว่าผ่านเกณฑ์การจบหรือไม่
-งานส่งนักศึกษาฝึกงาน ทำหน้าที่หาข้อมูลจากสถานที่ฝึกงาน ในแต่ละแห่งว่าสามารถรองรับจำนวน นักศึกษาที่จะฝึกงานในรายวิชาต่าง ๆ ได้เป็นจำนวนเท่าใด จากนั้นก็จัดนักศึกษา ออกฝึกงานตามรายวิชา ให้สอดคล้องกับจำนวนที่สถานประกอบการต้องการ
-ประยุกต์ใช้ในห้างสรรพสินค้าและสาขาย่อย
เนื่องจากห้างสรรพสินค้า เป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ มีอยู่หลายสาขาที่จัดจำหน่ายอยู่ทั่วประเทศ มีซัพพลายเออร์กว่าพันราย และมีพนักงานอยู่หลายพันคน ดังนั้นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และการตัดสินใจต้องทำอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ ดังนั้นการที่ต้องใช้เทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องอ่านบาร์โค้ดจึงมีความจำเป็น
ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศจะเป็นฝ่ายสนับสนุน สิ่งสำคัญที่สุดคือ
เราต้องให้ความมั่นใจได้ว่า ระบบจะต้องทำงานได้ไม่มีปัญหาขัดข้อง ปัจจุบันระบบการเชื่อมต่อห้างสรรพสินค้าจะเป็นแบบสอง ลักษณะคือในต่างจังหวัดจะใช้การเชื่อมต่อผ่านดาวเทียม ในกรุงเทพจะใช้การเชื่อมต่อแบบออนไลน์ ซึ่งจะมีการรับส่งข้อมูลกันทุกวัน ในส่วนของไอที นอกจากจะต้องทำให้ระบบ สามารถทำงานได้ตลอดเวลาแล้ว ยังต้องมั่นใจด้วยว่าข้อมูลที่รับส่งกันนั้นมีความถูกต้อง ซึ่งในแต่ละวันมีข้อมูลมาก ที่จะต้องผ่านการประมวลผลให้แก่ผู้บริหารเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลยอดขายข้อมูลสต็อกและข้อมูลต่างๆ ที่ ผู้บริหารต้องการ

 
ที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/242734
 
 
6.นาโนเทคโนโลยี
ตอบ“นาโนเทคโนโลยี” หมายถึงเทคโนโลยีประยุกต์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดการ การสร้าง การสังเคราะห์วัสดุหรืออุปกรณ์ในระดับของอะตอม โมเลกุลหรือชิ้นส่วนที่มีขนาดเล็กในช่วงประมาณ 1 ถึง 100 นาโนเมตร ซึ่งจะส่งผลให้วัสดุหรืออุปกรณ์ต่างๆ มีหน้าที่ใหม่ๆ และมีคุณสมบัติที่พิเศษขึ้นทั้งทางด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพ ทำให้มีประโยชน์ต่อผู้ใช้สอยและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้

คำว่า “นาโน (Nano)” เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากคำในภาษากรีกว่า Nanos ซึ่งแปลว่าแคระหรือเล็ก

เมื่อนำคำว่า นาโน มาใช้นำหน้าหน่วยวัดทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ จะหมายถึงขนาดเศษหนึ่งส่วนพันล้านส่วนของหน่วยวัดนั้น

คำว่านาโนเมตร มาจากคำ 2 คำมารวมกัน คือ คำว่า “นาโน” กับ “เมตร” ดังนั้นคำว่านาโนเมตรจึงหมายถึงหน่วยวัดที่มีขนาดเท่ากับ “เศษหนึ่งส่วนพันล้านส่วนของหนึ่งเมตร” นั่นคือ

หนึ่งนาโนเมตร (1 nm) = เศษหนึ่งส่วนพันล้านส่วนของหนึ่งเมตร

                                =           1             = 0.000 000 001 เมตร

                                                            = 1 000 000 000

                                                            = 10-9

ขนาด 1 นาโนเมตรนั้นมีขนาดเล็กกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ประมาณ 8 หมื่นถึง 1 แสนเท่า โดยขนาดสิ่งของที่เล็กที่สุดที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่านั้นมีขนาดประมาณ 10,000 นาโนเมตร ดังนั้นขนาดหนึ่งนาโนเมตรจึงเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือแม้แต่การใช้กล้องจุลทรรศน์ธรรมดา ดังนั้นการที่นักวิทยาศาสตร์จะสามารถมองเห็นขนาดเล็กระดับหนึ่งนาโนเมตรได้นั้นจะต้องให้กล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายสูงมาก เช่น กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน หรือ กล้องจุลทรรศน์ชนิดใหม่ๆที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในการศึกษาและวิจัยทางด้านนาโนเทคโนโลยีโดยเฉพาะ

องค์ประกอบของนาโนเทคโนโลยี

1.ขนาดเล็กในระดับ 1 – 100 นาโนเมตร

2. มีหน้าที่ใหม่ๆ เกิดขึ้นหรือมีสมบัติที่พิเศษขึ้น

3. ถูกต้อง แม่นยำ และควบคุมได้

ประโยชน์ของนาโนเทคโนโลยี

         ประโยชน์ของนาโนเทคโนโลยีคือ  การเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆที่ยังไม่เคยมีมาก่อน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดและผู้บริโภค

นาโนเทคโนโลยีมีกี่ประเภท?

การนำนาโนเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้นั้น สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ด้วยกันคือ

  1. นาโนเทคโนโลยีชีวภาพ (Nanibiotechnology)
  2. วัสดุนาโน (Nanomaterial)
  3. นาโนอิเล็กทรอนิกส์ (Nanoelectronic)

 

ที่มา : http://www.nanotec.or.th/th/?p=1137

http://www.nanotec.or.th/th/?p=1140

 

7.พรบ. 50

ตอบ  พรบ. ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
-มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐”

-มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่ วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
-มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
“ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
“ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด บรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
“ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลา ชนิดของบริการ หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า
(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
“ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
-มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
-มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกัน การเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน สี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น โดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
-มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
-มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)
-มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
-มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด
ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
-มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร
หมวด ๒
พนักงานเจ้าหน้าที่
-มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวน ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด
(๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
(๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
(๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
(๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
(๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
-มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ประกอบคำร้องด้วย ในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็ว
เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงาน
เจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการ ให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐาน
การทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น
การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัด ไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน
หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
-มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่กำหนดไว้ในภาคสอง ลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้องพร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับ การทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้
ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้
-มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่ง ไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลาย หรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้
ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม ขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
-มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใด
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาล
พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อ ผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น
-มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่า เก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่ง ให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้
ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง
ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
-มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินสองแสนบาท และปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
-มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด
-มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงาน กับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติและรัฐมนตรี
มีอำนาจร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง
-มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัว ต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา

ที่มา : http://www.sitech.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=77:—-2550&catid=40:IT-news&Itemid=18

 

0

แบบฝึกหัดที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศ

ข้อ 1.ยกตัวอย่างระบบสารสนเทศที่ นศ. พบเห็นในชีวิตประจำวันมาอย่างน้อย 5 ระบบ

ตอบ  การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิผล มีมากมายหลายด้าน ได้แก่ 

1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานสำนักงาน ปัจจุบันสำนักงานได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อให้งานในสำนักงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น กล่าวคือ ทำให้งานมีความสะดวกรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้ในงานสำนักงาน ได้แก่ เครื่องพิมพ์ดีด อิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์ เครื่องถ่ายเอกสาร ผลิตภัณฑ์เหล่านี้นำไปประยุกต์ใช้กับงานสำนักงานได้หลายลักษณะ เช่น
        1.1 งานจัดเตรียมเอกสาร เป็นการใช้เครื่องประมวลผลคำหรือเครื่องประมวลผลเนื้อหา เป็นเครื่องมือในการจัดเตรียม อุปกรณ์ประกอบการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็ม และช่องทางการสื่อสาร ระบบประมวลผลคำ แบ่งออกได้ 2 ระบบ คือ
            1.1.1 ระบบเดี่ยว (Stand – alone) เป็นระบบที่สามารถประมวลผลได้ภายในคอมพิวเตอร์ชุดเดียว หรือจะเชื่อมโยงไปยังคอมพิวเตอร์อื่น ๆ
            1.1.2 ระบบเชื่อมโยงกับข่ายการสื่อสาร เป็นระบบที่มีการเชื่อมโยงสารสนเทศซึ่งกันและกันผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม เช่น เครือข่ายโทรศัพท์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์
        1.2 งานกระจายเอกสาร เป็นการกระจายข้อมูลสารสนเทศไปยังผู้ใช้ ณ จุดต่าง ๆ อาจกระทำโดยการเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถปฏิบัติงานกระจายเอกสารได้โดยอัตโนมัติ ได้แก่ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

        1.3 งานจัดเก็บและค้นคืนเอกสาร สามารถทำได้ทั้งระบบออฟไลน์และระบบออนไลน์ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือผ่านเครือข่ายโทคมนาคมรูปแบบอื่น เช่นระบบฐานข้อมูลเป็นต้น

 

      
       

1.4 งานจัดเตรียมสารสนเทศในลักษณะภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ดำเนินงานดังกล่าว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องสแกนเนอร์ โทรทัศน์

        1.5 งานสื่อสารสนเทศด้วยเสียง เช่น โทรศัพท์ การประชุมทางโทรศัพท์
 
        1.6 งานสื่อสารสนเทศด้วยภาพและเสียง เช่น ระบบมัลติมีเดีย ระบบการประชุมทางไกลด้วยภาพและเสียง เป็นต้น
2. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรมนำเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเข้ามาช่วยในการจัดการระบบงานการผลิต การสั่งซื้อ การพัสดุการเงิน บุคลากร และงานด้านอื่น ๆ ในโรงงาน
3. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการเงินและการพาณิชย์ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของเครื่องเบิกถอนเงินอัตโนมัติ เพื่ออำนวยความสะดวกในการฝาก ถอน โอนเงิน และนำคอมพิวเตอร์ระบบออนไลน์และออฟไลน์เข้ามาช่วยในการทำงานประจำวันของธนาคารด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลของธนาคารต่างสาขา ต่างธนาคาร ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเบิก ถอน โอนเงินชำระเงินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้
 
4. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านการสื่อสาร ได้แก่ การบริการโทรศัพท์วิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี การค้นคืนสารสนเทศระบบออนไลน์ ดาวเทียม และโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล
5. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการฝึกอบรมการศึกษา ดังนี้
        5.1 การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) เป็นการนำเอาคำอธิบายบทเรียนมาบรรจุไว้ในคอมพิวเตอร์ แล้วนำบทเรียนนั้นมาแสดงแก่ผู้เรียน เมื่อผู้เรียนอ่านคำอธิบายเหล่านั้น คอมพิวเตอร์จะมีส่วนที่ใช้ทดสอบความเข้าใจของผู้เรียนด้วยว่าถูกต้องหรือไม่ หากเข้าใจไม่ถูกต้องคอมพิวเตอร์จะทำการอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมให้เข้าใจมากขึ้น แล้วถามซ้ำอีก
        5.2 การศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการศึกษาทางไกลมีหลายแบบตั้งแต่แบบง่าย ๆ เช่น การเรียนการสอนผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์ ออกอากาศให้ผู้เรียนศึกษาเอง ตามเวลาที่ออกอากาศ ไปจนถึงใช้ระบบแพร่ภาพการสอนผ่านดาวเทียม หรือการประยุกต์ใช้ระบบประชุมทางไกล โดยผู้สอนและผู้เรียนสามารถสื่อสารถึงกันได้ทันที่ เพื่อสอบถามข้อสงสัยหรืออธิบายคำสอน เพิ่มเติม
        5.3 เครือข่ายการศึกษา เป็นการจัดทำเครือข่ายการศึกษาเพื่อให้ครูอาจารย์และนักศึกษามีโอกาสใช้เครือข่ายเพื่อแสวงหาความรู้ที่มีอยู่มากมายในโลก และใช้บริการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ทาง การศึกษา เช่น บริการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Mail : E-mail) การเผยแพร่และค้นหา ข้อมูลในระบบเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web)
ที่มา  http://mcpswis.mcp.ac.th/html_edu/cgi-bin/mcp/main_php/print_informed.php?id_count_inform=11419
ข้อ 2. สื่อผสมหรือมัลติมีเดียคืออะไร สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านใดได้บ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ  สื่อประสมหรือสื่อหลายแบบ (Multimedia) เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถผสมผสานระหว่างข้อความ ข้อมูล ตัวเลข ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ตลอดจนระบบโต้ตอบกับผู้ใช้ (Interactive) มาผสมผสานเข้าด้วยกัน
        สื่อประสมหรือมัลติมีเดีย หมายถึงการนำเอาสื่อหลาย ๆ อย่าง เช่น รูปภาพ เทป แผ่นโปร่งใส มาใช้ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการเรียนการสอน ต่อมาเมื่อมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้มากขึ้น และสามารถใช้งาน ได้ทั้งภาพนิ่ง เสียง ข้อความและภาพเคลื่อนไหว ทำให้ความหมายของสื่อประสมเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งส่วนประกอบหลัก ที่มีใช้ทั่วไปของคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียจะมี CD-ROM sound card และลำโพง เพิ่มเข้ามาในคอมพิวเตอร์ หรืออาจมีส่วนประกอบที่เกี่ยวกับการใช้งานวิดีโอด้วย นอกจากนี้ยังมีความหมายรวมถึงการใช้การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น เครื่องวิดีโอเทปเสียง ซีดีรอม กล้องดิจิตอล โทรทัศน์ฯลฯ ให้ทำงานร่วมกัน การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมอุปกรณ์หลาย ๆ อย่างดังกล่าวจะต้องอาศัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) และอุปกรณ์ (Hardware) ต่าง ๆ ประกอบกัน บางครั้งจึงเรียกว่าสถานีปฏิบัติการมัลติมีเดีย (Multimedia
workstation)

ประโยชน์ของสื่อประสม

มัลติมีเดีย ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนเรามากยิ่งขึ้น โดยมีประโยชน์ ดังนี้

  • เสนอสิ่งเร้าให้กับผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหา ภาพนิ่ง คำถาม ภาพเคลื่อนไหว
  • นำเสนอข่าวสารในรูปแบบที่ไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับ เช่น บทเรียนมัลติมีเดีย
  • สร้างสื่อเพื่อความบันเทิง
  • สร้างสื่อโฆษณา หรือประชาสัมพันธ์

ประโยชน์ของสื่อ

1. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้จากวัตถุที่เป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนได้สร้างแนวความคิดด้วยตนเอง
2. กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจในเรื่องที่จะเรียนมากขึ้น
3. ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้งายขึ้นและสามารถจดจำได้นาน
4. ให้ประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง
5. นำประสบการณ์นอกห้องเรียนมาให้นักเรียนศึกษาในห้องเรียนได้

ที่มาhttp://www.st.ac.th/av/inno_multimedia.htm

       http://jiranannick.blogspot.com/

 

ข้อ 3.เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร สามารถใช้ประโยชน์จากสารสนเทศได้อย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างพร้อมอธิบาย

ตอบ  คำว่า เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีจึงเป็นค้าที่มีความหมายกว้างไกล เป็นคำที่เราได้พบเห็นและได้ยินอยู่ตลอดม

          ส่วนคำว่า สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนตั้งแต่เกิดมาได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เรียนรู้สภาพสังคมความเป็นอยู่ กฎเกณฑ์และวิชาการ ลองจินตนาการดูว่าภายในสมองของเราเก็บข้อมูลอะไรบ้าง เราคงตอบไม่ได้ แต่สามารถเรียกเอาข้อมูลมาใช้ได้ ข้อมูลที่เก็บไว้ในสมองเป็นสิ่งที่สะสมกันมาเป็นเวลานาน ความรอบรู้ของแต่ละคนจึงขึ้นอยู่กับการเรียกใช้ข้อมูลนั้น ดังนั้นจะเห็นได้ชัดความรู้เกิดจากข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทุกวันนี้มีข้อมูลรอบตัวเรามาก ข้อมูลเหล่านี้มาจากสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การสื่อสารระหว่างบุคคล จึงมีผู้กล่าวว่ายุคนี้เป็นยุคของสารสนเทศ

          เมื่อรวมคำว่า เทคโนโลยี กับ สารสนเทศ เข้าด้วยกัน จึงหมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศเป็เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ เทคโนโลยีสารสนเทศจะรวมไปถึงเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูล เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความหมายที่กว้างขวางมาก นักเรียนจะได้พบกับสิ่งรอบ ๆ ตัวที่เกี่ยวกับการใช้สารสนเทศอยู่มาก

ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ

การนำเทคโนโลยีสารนิเทศมาใช้กับสังคมสารนิเทศใน ปัจจุบันก่อให้เกิดการสื่อสารและการใช้ประโยชน์ จากสารนิเทศได้อย่างเต็มที่  และมีประสิทธิภาพ  ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารนิเทศมีดังต่อไปนี้ คือ

            1. ช่วยให้ติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างสะดวกรวดเร็ว โดยใช้โทรศัพท์  คอมพิวเตอร์หรือในรูปของ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ

            2. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาล ซึ่งผลิตออกมาในแต่ละวัน

            3. ช่วยให้เก็บสารนิเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างสะดวก

            4. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารนิเทศ เช่น ช่วยนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร  ด้วยการช่วยคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยาก ซับซ้อนซึ่งไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยมือ
UploadImage
            5. ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการเก็บ เรียกใช้และประมวลผลสารนิเทศ

            6. สามารถจำลองแบบระบบการวางแผนและทำนาย เพื่อทดลองกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น

            7. อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสารนิเทศดีกว่าสมัยก่อน ทำให้ผู้ใช้สารนิเทศมี ทางเลือกที่ดีกว่า มีประสิทธิภาพกว่า และสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ดีกว่า

            8. ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทางระหว่างประเทศ

 

ที่มา  http://guru.sanook.com/2934/

         https://blog.eduzones.com/moobo/78858

 

ข้อ 4. เครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับพระราชกรณียกิจของในหลวง คือเครือข่ายใด ประโยชน์ที่ได้รับได้แก่อะไรบ้าง

ตอบ  เครือข่ายคอมพิวเตอร์กาญจนาภิเษก

เครือข่ายคอมพิวเตอร์กาญจนาภิเษก คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงข่าวสารจากหน่วยงานต่างๆ ในประเทศไทยที่มีข้อมูลเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น พระราชกรณียกิจ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กระแสพระราชดำรัส ตลอดจนข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับประเทศไทยที่น่าสนใจ และเป็นสิ่งที่คนไทยรู้จัก และภาคภูมิใจ เพื่อให้ประชาชนไทยได้สามารถเข้าถึงได้ โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ และในเวลาเดียวกัน เครือข่ายนี้ยังเปรียบเสมือนศูนย์รวมข้อมูล เกี่ยวกับประเทศไทย ที่ผู้สนใจทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ จากทุกมุมโลกผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการเข้าชมแต่อย่างใด ทั้งนี้เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก และเป็นการเผยแพร่พระราชกรณียกิจ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอดระยะเวลา ๕๐ ปี แห่งการครองราชย์

เครือข่ายกาญจนาภิเษกประกอบด้วยงานหลักสองส่วน คือ เครือข่ายพระราชกรณียกิจ และเครือข่ายกระจายความรู้ให้กับประชาชน

เครือข่ายพระราชกรณียกิจ เป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมต่อหน่วยงานต่างๆ ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับพระราชกรณียกิจ หรือสนองพระราชดำริในงานพัฒนาประเทศ บำบัดทุกข์และบำรุงขวัญแก่ประชาชน โดยหน่วยงานเหล่านี้ จะบรรจุข้อมูลเผยแพร่พระราชกรณียกิจ พร้อมทั้งความรู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ออกเผยแพร่ทางระบบ World-wide Web โดยในขั้นต้น มีหน่วยงานที่อยู่ในโครงการขั้นต้น ๙ หน่วยงาน และจะขยายจำนวนเครือข่ายเพิ่มขึ้นตามความพร้อมของหน่วยงานอื่นๆ ที่จะนำเสนอข้อมูล

เครือข่ายกระจายความรู้สำหรับประชาชน ประกอบด้วยหน่วยงานอื่นๆ ที่มีข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ที่พร้อมเข้าร่วมโครงการนี้ โดยเน้นการให้ประโยชน์แก่วงการศึกษา/วิชาการของเมืองไทย ให้ก้าวหน้าทันโลก โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่สำคัญอันหนึ่ง ตามเป้าหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๘ นอกจากนี้ เครือข่ายกระจายความรู้ ยังเป็นกลไกสำคัญของการพัฒนาการใช้ IT ให้กับประเทศไทย เพราะเครือข่ายส่วนนี้ เปิดโอกาสให้ประชาชนคนไทยที่ยังไม่รู้จักกับอินเทอร์เน็ต ได้ทดลองเข้าถึงเครือข่ายกาญจนาภิเษก (ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเหมือนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต) ได้โดยไม่ต้องเสียค่าสมาชิก หรือ เสียค่าโทรศัพท์ทางไกลข้ามเขตรหัสทางไกล ทั้งนี้เพราะเครือข่ายกระจายความรู้ ได้เปิดบริการขึ้นทั่วประเทศไทยไว้คอยบริการท่าน

และตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นต้นมา ได้มีการพัฒนาให้เครือข่ายกระจายความรู้สำหรับประชาชน ใช้เป็นเครือข่ายเพื่อโรงเรียนไทย ที่ทำให้โรงเรียนจำนวน ๑๕๐๐ โรงเรียน สามารถเข้าถึงระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ โดยใช้เลขหมายโทรศัพท์ ๑๕๐๙ ดังนั้น ทางศูนย์เทคโนโลยีอิเลคทรอนิคส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ จึงได้ยุติการบริการเลขหมาย ๑๕๐๙ เพื่อบุคคลทั่วไป โดยเปลี่ยนเป็นการเน้นการใช้งาน โดยมีบัญชีใช้งานควบคุม และอนุญาตให้เฉพาะการใช้งานเพื่อโรงเรียนต่างๆ ในประเทศไทยเท่านั้น

หมายเหตุ การเข้าถึงเครือข่ายกาญจนาภิเษก โดยผ่านเครือข่ายกระจายความรู้ ไม่อนุญาตการใช้งานอื่นใดนอกเหนือจากการอ่านข้อมูลในเครือข่ายกาญจนาภิเษก เท่านั้น (กล่าวคือ จะใช้ electronic mail หรือไปชมข้อมูลนอกเครือข่ายไม่ได้ หากท่านต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตตามปกติโดยไม่มีขีดจำกัด โปรดขอใช้บริการจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วไป)

ที่มา  http://kanchanapisek.or.th/about/index.th.html

 

 

กิจกรรมปฏิบัติ

คำสั่ง  ให้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตในหัวข้อ “ในชีวิตประจำวันเราใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการทำอะไรบ้าง”

ตอบ  เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร?What is IT?

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) คือ การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน ในระบบสารสนเทศนั้นประกอบด้วย 5 ส่วนหลักๆ ได้แก่ บุคลากร ขั้นตอนการทำงาน ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และข้อมูล ปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของประชาชน ทั้งด้านการติดต่อสื่อสาร การเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ การดำเนินธุรกิจ และอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน

14

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) มาจากคำว่า “เทคโนโลยี” รวมกับคำว่า “สารสนเทศ” “เทคโนโลยี” หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์   เครื่องมือ เครื่องจักรวัสดุ หรือ แม้กระทั่งสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น  “สารสนเทศ” หมายถึง ข้อมูล ข้อเท็จจริง ข่าวสาร ความรู้ ที่ได้มีการบันทึก ประมวลหรือดำเนินการด้วยวิธีใดๆไว้ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ทั้งส่วนบุคคลและสังคม  ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการ สารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอน วิธีการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวข้องกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้แล้วยังรวมไปถึง โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ โทรสาร หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่างๆ ฯลฯ

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

ในระบบสารสนเทศนั้นประกอบด้วย 5 ส่วนหลักๆ ได้แก่ บุคลากร ขั้นตอนการทำงาน ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และข้อมูล

1) บุคลากร เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ เพราะบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเข้าใจวิธีการในการดำเนินการ และจัดการเกี่ยวกับสารสนเทศทั้งหมด บุคลากรจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

2) ขั้นตอนการปฏิบัติ หมายถึง ระเบียบวิธีการปฏิบัติงานในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่จะทำให้เป็นสารสนเทศได้ เช่น การกำหนดให้มีการป้อนข้อมูลทุกวัน การปรับปรุงแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ

3) เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือฮาร์ดแวร์ เป็นอุปกรณ์ที่ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งประกอบด้วยคีย์บอร์ด เมาส์ จอภาพ หน่วยระบบ และอุปกรณ์อื่นๆ เครื่องคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์
จะถูกควบคุมโดยซอฟต์แวร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการสารสนเทศ 

4) ซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมในระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) และซอฟท์แวร์แอพพลิเคชั่น (Application Software) เป็นชุดคำสั่งที่เรียงเป็นลำดับขั้นตอน 
มีหน้าที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามวัตถุประสงค์ และประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ

5) ข้อมูล ข้อเท็จจริง หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับบุคคล วัตถุหรือสถานที่ ข้อมูลมีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะใช้เป็นเครื่องช่วยในการวางแผนงานการบริหารจัดการ ดังนั้นข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง มีความเที่ยงตรง สามารถเชื่อถือได้ มีความเป็นปัจจุบัน สามารถตรวจสอบได้ และมีความสมบูรณ์ชัดเจน 

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน

ในปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้การกระจายข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว และยังสื่อสารแบบสองทิศทาง ด้วยเหตุนี้ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมจึงแตกต่างจากในอดีตมาก ดังจะเห็นได้จากวิกฤตการณ์ทางด้านเศรษฐกิจจากประเทศหนึ่งมีผลกระทบต่อประเทศอื่น ๆ อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ผลของความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายด้าน อาทิเช่น

– การเปลี่ยนเป็นสังคมสารสนเทศ  ปัจจุบันสังคมโลกกำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสารสนเทศ โดยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารมีบทบาทในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การซื้อสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ต การทำงานผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมถึงก่อให้เกิดสังคมออนไลน์ทั้งเว็บบล็อก (Web Blog) เว็บไซต์วีดิโอออนไลน์ เว็บไซต์โซเชียลเน็ตเวิร์ค เป็นต้น

– การทำงานที่ไร้เงื่อนไขของเวลาและสถานที่  เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา โดยการโต้ตอบผ่านระบบเครือข่าย ทำให้ขยายขอบเขตการทำงานไปทุกหนทุกแห่งและดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง

– ระบบเศรษฐกิจเชื่อมโยงทั่วโลก  เทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจซึ่งเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก เทคโนโลยีสารสนเทศมีส่วนเอื้ออำนวยให้การดำเนินการมีขอบเขตกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ระบบเศรษฐกิจของโลกจึงผูกพันกับทุกประเทศและเชื่อมโยงกันแนบแน่นขึ้น

Cr.http://www.ictkm.info/content/detail/14.html

เทคโนโลยีสารสนเทศในระบบ Internet

เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก อินเตอร์เน็ตมีพัฒนาการมาค่อนข้างยาวนานจาก อาร์พาเน็ต (ARPANET) ในปี พ.ศ. 2512 โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาเพื่อเชื่อมโยงศูนย์งานวิจัยของมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา 
เครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีการกำหนดคอมพิวเตอร์หลักที่ต่ออยู่บนเครือข่ายให้มีหมายเลขประจำเหมือนกับหมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขนี้จะเป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำกัน เช่น เครื่องนนทรีใช้รหัสหมายเลข 158.108.2071 รหัสประจำเครื่องที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้นี้ แต่อาจยุ่งยากต่อผู้ใช้เพราะมีตัวเลขหลายตัว จึงมีการสร้างชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ในหลักสากลเพื่อให้มีเรียกขานและเป็นที่เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น เช่น www.suw.ac.th
           ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ต 
อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายเหมือนเครือข่ายโทรศัพท์ที่เชื่อมโยงเข้าหากันได้ทั่วโลกด้วยเหตุนี้การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์จึงกระทำได้ในทุกเครือข่ายทั่วโลก การใช้ประโยน์จากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีมากมาย เช่น 
          1) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นสิ่งที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง สามารถส่งข่าวสารถึงกันได้ทั่วโลก มีแนวโน้มการขยายตัวและจำนวนผู้ใช้อย่างรวดเร็ว มีความเร็วในการส่งข่าวสารถึงกันได้มากกว่าส่งทางไปรษณีย์ปกติ 
          2) การสนทนาแบบเชื่อมตรง ผู้ใช้งานบนเครือข่ายสามารถคุยกับคนอื่นในลักษณะโต้ตอบกันผ่านทางจอภาพและแผงแป้นพิมพ์อักขระ การพูดคุยผ่านทางตัวหนังสือมีความชัดเจนและเข้าใจกันได้ 
          3) การค้นหาข้อมูล คอมพิวเตอร์มีแฟ้มข้อมูลจำนวนมาก ข้อมูลเหล่านั้นเป็นข้อมูลที่สะสมและเก็บจากหลาย ๆ ผู้ใช้ และมีบางส่วนที่ต้องการเผยแพร่โดยไม่คิดค่าเอกสารหนังสือหรือแม้แต่โปรแกรมคอมพิวเตอร์จำนวนมากได้รับการจัดเก็บและเผยแพร่แก่ผู้สนใจที่อยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้งานทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเข้าถึงข้อมูลที่เจ้าของอนุญาติให้สำเนา มีการจัดตั้งกลุ่มผู้สนใจเฉพาะด้านกันมาก เมื่อมีกลุ่มก็มีการรวบรวมข้อมูลและเก็บไว้เผยแพร่ระหว่างกัน อินเตอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งข้อมูลแล่งใหญ่มาก 
          4) กระดานข่าว บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีการจัดตั้งกระดานข่าวมากกว่า 2000 กลุ่ม ทุก ๆ วันจะมีผู้ส่งข่าวสารกันผ่านกระดานข่าว กระดานข่าวส่วนใหญ่แบ่งเป็นกลุ่ม เช่น กลุ่มผู้สนใจดนตรีก็มีการฝากเพลงหรือเรื่องราวเกี่ยวกับดนตรี กลุ่มวัฒนธรรม กลุ่มไทยกรุ๊ป กลุ่มผู้สนใจจักรยาน
          5) เกมและนันทนาการ มีการเล่นเกมแบบเครือข่าย เกมที่รู้จักกันดีคือเกมเอ็มยูดี ( Multi User Dungeon: MUD) เกมที่ผจญภัยต่างๆ ที่เล่นในเครือข่ายมีการสนทนาโต้ตอบกันในระยะห่างไกล

อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย 
          เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยได้เชื่อมโยงโดยสมบูรณ์เข้ากับอินเตอร์เน็ตคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย โดยเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์หลัก chulkn.chulu.ac.th เข้ากับเครือข่าย หลังจากนั้นอีกต่อมา 1 ปี ศูยน์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติซึ่งเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงเครือข่ายไทยสารซึ่งเป็นเครือข่ายข่าวเชื่อมโยงของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ในปัจจุบันเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยเชื่อมโยงเข้าสู่ต่างประเทศสองทางคือ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และที่ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ 
ทรัพยากรอินเตอร์เน็ต 
          จากการเชื่อมโยงให้ไมโครคอมพิวเตอร์สามารถหมุนโทรศัพท์ผ่านโมเด็มและสายโทรศัพท์เข้ามายังเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและใช้งานได้ เครื่องคอมพิวเตอร์จึงมีบทบาทในการเป็นสถานีปลายทางโดยผู้ใช้ที่อยู่ในที่ต่าง ๆ หากต่อเชื่อมกับเครือข่ายแล้วก็สะดวกในการใช้งาน เพราะสามารถเข้าสู่เครือข่ายได้ทันที และสามารถใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ ได้ สะดวก เช่น ใช้ในการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ในการเรียกค้นหาข้อมูล ตลอดจนการใช้ทรัพยากร อื่น ๆ บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีเป็นจำนวนมาก 
          เพื่อให้เห็นภาพของการใช้ทรัพยากรบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จึงขอเสนอลักษณะของทรัพยากรบนอินเตอร์ที่ผู้ใช้เรียกใช้ได้ ซึ่งมีหลายรูปแบบ 
          1) ระบบบริการสารสนเทศบริเวณกว้าง บริษัทชั้นนำทางคอมพิวเตอร์หลายบริษัท เช่น Apple; Thinking Machine; Dow June และKPMG Peat Marwick ได้ร่วมพัฒนาระบบบริการสารสนเทศ บริเวณกว้าง Wide Area Information Service: WAIS และนำออกมาใช้ประโยชน์บนอินเตอร์เน็ต
ลักษณะของระบบบริการสารสนเทศบริเวณกว้างเป็นการรวมศูนย์ข้อมูลที่อยู่บนเครือข่ายจำนวนมากเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้ผู้ใช้สะดวกในการค้นหาข้อมูล 
เนื่องจากบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีฐานข้อมูลกระจัดกระจายอยู่หลายแห่ง หากให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลต้องแยกค้นไปยังฐานข้อมูลต่าง ๆ จะไม่สะดวก การดำเนินการของระบบบริการสารสนเทศบริเวณกว้างจึงเป็น ทำให้ผู้ใช้มองเห็นว่ามีฐานข้อมูลอยู่เพียงแห่งเดียว โดยระบบนี้จะทำการค้นหาข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการตามฐานข้อมูลต่าง ๆ ให้โดยอัตโนมัติ 
การใช้งานระบบบริการสารสนเทศบริเวณกว้างบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจึงเป็นเรื่องที่สะดวก ปัจจุบันมีให้เรียกค้นหาหลายที่ เช่น บนเครื่อง Think.com นอกจากนี้ยังมีการให้บริการค้นด้วยระบบตัวเชื่อมประสานหลายแบบตามลักษณะของผู้ขอบริการ
          2) ระบบอาร์ซี ปัญหาในเรื่องของการเก็บแฟ้มข้อมูลข่าวสารไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ที่อยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมาก ผู้ใช้เรียกค้นไม่ถูกว่ามีข้อมูลอยู่ที่เครื่องใดบ้าง ระบบอาร์ซี (Archie) เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นโดยอลัน เอมเทค (Alan Emtage) และปีเตอร์ ดูทช์ (Peter Deutsch) แห่งมหาวิยาลัยแมกกิลล์ (McGill) ซึ่งเป็นระบบการเรียกค้นหาข้อมูล และดำเนินการตามขั้นตอนการโยกย้ายแฟ้มข้อมูล (File Transfer Protocol: FTP) ได้

3) ระบบโกเฟอร์ ระบบโกเฟอร์ (Gopher) ได้รับการพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยมินเนโซตา (Minnesota) โดยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลเป็นลำดับขั้นตามเมนูที่กำหนด ฐานข้อมูลที่จะเรียกค้นเป็นฐานข้อมูลแบบกระจายที่เชื่อมต่อกัน การเรียกจากเมนูทำให้การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นลำดับ ฐานข้อมูลแต่ละเครื่องบนเครือข่ายจะเชื่อมต่อเข้าหากัน เช่น เรียกข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทย ก็เชื่อมมาที่เครื่องหลักเครื่องใดเครื่องหนึ่งในประเทศ จากนั้นจะกระจายไปยังฐานข้อมูลอื่นตามลักษณะการเรียกค้น
หน่วยงานต่าง ๆ ที่มีข้อมูลและคิดว่าข้อมูลของตนจะเป็นประโยชน์ สามารถสร้างระบบเชื่อมโยงเข้าสูระบบโกเฟอร์เพื่อให้ผู้อื่นเรียกใช้ได้
          4) เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) เป็นการใช้หลักการของข้อความหลายมิติ (hypertext) พัฒนาขึ้นโดยบริษัทเซิร์น (CERN) แห่งประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โครงสร้างของเวิลด์ไวด์เว็บ ใช้หลักการเครื่องบริการของผู้ใช้ โดยให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลเอกสารจากแฟ้มข้อความในรูปแบบข้อความหลายมิติโดยมีข้อกำหนดเกณฑ์วิธี การจัดเก็บแบบข้อความและเชื่อมโยงกันแบบข้อความหลายมิติ ปัจจุบันมีเครื่องบริการแฟ้มข้อมูลที่ทำหน้าที่ให้บริการเวิลด์ไวด์เว็บมากมาย

pic_33

Cr.http://theo-srv.acs.ac.th/~25448/25448/Computer_Assignment/Entries/2009/9/12.html

เทคโนโลยีสารสนเทศที่นักเรียนสนใจ

การเปลี่ยนเป็นสังคมสารสนเทศ  ปัจจุบันสังคมโลกกำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสารสนเทศ โดยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารมีบทบาทในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การซื้อสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ต การทำงานผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมถึงก่อให้เกิดสังคมออนไลน์ทั้งเว็บบล็อก (Web Blog) เว็บไซต์วีดิโอออนไลน์ เว็บไซต์โซเชียลเน็ตเวิร์ค เป็นต้น

Cr.http://www.ictkm.info/content/detail/14.html

download (49)

 

ที่มา https://supanut26780m11.wordpress.com/

 

0

แบบฝึกหัดที่ 1 เรื่องอินเทอร์เน็ตเบื้องต้น

บริการค้นหาข้อมูล

ข้อ 1 ให้อธิบายพร้อมยกตัวอย่างความแตกต่างระหว่างการสืบค้นแบบ web directory, meta search, search engine
ตอบ  Web Directory คือ ระบบที่เก็บรวบรวมเว็บไซต์ไว้เป็นหมวดหมู่ ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มออกเป็นหมวดหมู่ย่อยๆ ได้ด้วย เว็บที่ถูกบันทึกในแต่ละกลุ่ม จะต้องมีหัวเรื่องหรือเนื้อหาที่สัมพันธ์กัน  เว็บไดเรคทอรี่บางแห่งทำหน้าที่เป็น Search Engineในตัวเองด้วย บางแห่งมีฟังก์ชั่นให้โหวตหาคะแนนนิยมของเว็บเพื่อจัดอันดับ

        ตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีลักษณะเป็น Web Directory มีดังนี้
http://www.dmoz.org/
http://www.directory-index.net/
        Meta search คือ Search Engines ประเภทนี้ อาจจัดได้ว่าไม่ใช่ Search Engines ที่แท้จริง
เนื่องจากไม่ได้ทำการสืบค้นข้อมูลเอง แต่จะส่งต่อคำถามจากผู้ใช้ (Query) ไปให้ Search Engines ตัวอื่นผลการค้นที่ได้จึงแสดงที่มา (ชื่อของ Search Engines) ที่เป็นเจ้าของข้อมูลไว้ต่อท้ายรายการที่ค้นได้แต่ละรายการ

        ตัวอย่างของ Meta Search Engine มีดังต่อไปนี้
AskJeeves ( http://askjeeves.com )
Beaucoup Search Engines ( http://www.beaucoup.com/engines.html)
Cyber411 ( http://cyber411.com)
Debriefing ( http://www.debriefing.com)
Dogpile ( http://www.dogpile.com)
Finder Seeker ( http://www.finderseeker.com)
Highway61 ( http://www.highway61.com)
Inference Find ( http://www.infind.com)
Internet Sleuth ( http://www.isleuth.com)
Ixquick ( http://ixquick.com )
Mamma ( http://www.mamma.com)
MetaCrawler ( http://www.metaclawler.com)
Metafind ( http://www.metafind.com)
MetaGopher ( http://www.metagopher.com)
ProFusion ( http://www.profusion.com)
SavvySearch ( http://www.savvysearch.com)
Search Spaniel ( http://www.searchspaniel.com)
Starting Point ( http://www.stpt.com)
SurfWax ( http://www.surfwax.com
ในการเลือกใช้ Meta Search Engine ต่างๆนั้น Jian Liu ( 1999) ได้แนะนำ Meta Search Engine ที่ควรใช้มากที่สุดไว้ 3 ตัว คือ MetaCrawler, MetaFind และ Dogpile เนื่องจากเป็น Meta Search Engine ที่คลอบคลุมเว็บไซต์จำนวนมาก มีความยืดหยุ่นสูง เวลาในการตอบสนองดี การแสดงผลการสืบค้นชัดเจน นอกจากนี้ยังมีการให้ความช่วยเหลือในการใช้ ( Help ) มี Frequently Asked Questions (FAQ ) และเคล็ดลับในการสืบค้นให้ด้วย
        Search engine คือ การค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ถ้าเราเปิดไปทีละหน้าจออาจจะต้องเสียเวลาในการค้นหา และอาจหาข้อมูลที่เราต้องการไม่พบ การที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็วจะต้องใช้เว็บไซต์สำหรับการค้นหาข้อมูลที่เรียกว่า Search Engine Site ซึ่งจะทำหน้าที่ รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่
Web search engine ที่นิยมใช้กันมากที่สุด 3 อันดับ คือ 1. Google 2. Yahoo 3. MSN/Windows Live

ที่มา http://www.sabuyjaishop.net/ssz/bulletin/boardmessage.aspx?forumid=0057&post=reply&topic=TXXRPDV45Z2VV1DYD4AGY2342552224

http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=sata1&topic=972

http://www.shc.ac.th/shc_media_online/media_m4/information/information2.htm

 

ข้อ 2 จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการใช้คำสั่ง ดีใจจังค้นแล้วเจอแล้ว กับ การค้นหาธรรมดา ใน google

ตอบ  ดีใจจัง ค้นแล้วเจอเลย (I’m Feeling Lucky) ซึ่งจะพาคุณไปยังหน้าเว็บที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อค้นหาที่ชัดเจนที่สุดทันทีโดยไม่แสดงหน้าจอผลลัพธ์

        ตัวอย่าง ถ้าคุณต้องการค้นหาโฮมเพจของ Stanford University เพียงพิมพ์คำว่า Stanford จากนั้นคลิก ดีใจจัง ค้นแล้วเจอเลย” Google จะพาคุณไปยังเว็บ “www.stanford.edu” ทันที

         การค้นหาข้อมูลด้วย Google นั้นทำได้ไม่ยาก เพียงแค่พิมพ์หัวข้อค้นหา (ซึ่งเป็นคำหรือวลีที่อธิบายข้อมูลที่คุณต้องการค้นหาได้ดีที่สุด) ในกล่องข้อความ จากนั้นกดปุ่ม ‘Enter’ หรือคลิกที่ปุ่ม ‘Google Search’  จากนั้น Google ก็จะคืนผลลัพธ์ เป็นรายการของหน้าเว็บที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับหัวข้อค้นหาของคุณ โดยหน้าเว็บที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องที่ชัดเจนที่สุดจะปรากฏออกมาเป็นลำดับแรก

ที่มาhttp://www.seventranslation.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=10145&Ntype=2

 

ข้อ 3 ในการค้นหาขั้นสูง จะมีคำสั่ง AND กับ OR เพื่อใช้เสริมในการค้นหา จงอธิบายความแตกต่างพร้อมยกตัวอย่างการใช้งานพร้อมผลลัพธ์ทั้งสอง

ตอบ  AND เป็นการให้คำที่เราต้องการค้นหา ปรากฏในผลลัพธ์ ทั้งสองคำ ที่อยู่ระหว่าง “AND”  เช่น ค้นหาคำว่า computer AND ram ผลลัพธ์ที่ได้จะต้องมีคำว่า computer และ ram ทั้งสองคำนี้ปรากฏอยู่ เป็นค้น
        OR เป็นการให้คำที่เราต้องค้นหา ปรากฏในผลลัพธ์ คำใดคำหนึ่ง ที่อยู่ระหว่าง “OR” เช่น ค้นหาคำว่า computer OR ram ผลลัพธ์ที่ได้จะมีคำว่า computer หรือ ram คำใดคำหนึ่ง หรือทั้งสองคำปรากฏอยู่ เป็นค้น

ที่มา http://www.computer.pcru.ac.th/s541202064116/work/hw9.doc

 

ข้อ 4 Google Scholar มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานอย่างไร

ตอบ สำหรับ Google Scholar เป็นบริการที่มีมานานแล้ว ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2547 โดยออกเป็น beta version และทุกวันนี้ก็ยังคงเป็น beta อยู่ และอาจเพราะเป็นบริการที่ออกมานานแล้วเลยทำให้เป็นบริการที่ไม่เป็นที่รู้จักของหลายๆ คน  Google Scholar มีไว้ค้นหา บทความ หรือ งานวิจัย โดยเฉพาะ

ยืนบนไหล่ของยักษ์

       

Google Scholar เป็นวิธีการค้นหาที่ง่าย ๆ ในการค้นหางานเขียนทางวิชาการได้อย่างกว้างขวาง คุณสามารถค้นหาในสาขาวิชาและแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ได้มากมายได้จากจุดเดียว : ไม่ว่าจะเป็นบทความ peer-reviewed วิทยานิพนธ์ หนังสือ บทคัดย่อ และบทความจากสำนักพิมพ์ทางวิชาการ แวดวงวิชาชีพ ที่เก็บร่างบทความ มหาวิทยาลัย และองค์กรด้านการศึกษาอื่น ๆ

      Google Scholar ช่วยให้คุณสามารถระบุการค้นคว้าที่เกี่ยวข้องมากที่สุดในโลกแห่งการค้นคว้าวิจัยทางวิชาการ

คุณลักษณะของ Google Scholar มีดังนี้คือ

  • ค้นหา แหล่งข้อมูลที่หลากหลายจากจุดที่สะดวกจุดเดียว
  • ค้นหา บทความ บทคัดย่อ และการอ้างอิง
  • ค้นหาตำแหน่ง ของบทความฉบับสมบูรณ์จากทั่วทั้งห้องสมุดของคุณหรือบนเว็บ
  • เรียนรู้ เกี่ยวกับบทความสำคัญในการค้นคว้าวิจัยสาขาใดๆ

Google Scholar มุ่งมั่นที่จะจำแนกบทความแบบนักวิจัย โดยวัดน้ำหนักจากข้อความทั้งหมดของแต่ละบทความ ผู้เขียน สิ่งตีพิมพ์ที่บทความนั้นปรากฏ และความถี่ที่มีการอ้างอิงบทความนั้นในงานเขียนทางวิชาการอื่น ผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องมากที่สุดจะปรากฏบนหน้าแรกเสมอ

ที่มา http://libkm.kku.ac.th/kmlib/?p=1173

 

ข้อ 5  Google Guru มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานอย่างไร

ตอบ  เป็นบริการฟรีที่ช่วยให้ผู้ใช้ตั้งคำถาม และรับฟังคำตอบจากชุมชน โดยที่ทาง Google นั้นเชื่อว่า ‘กูรู’ จะช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยผู้ใช้  สามารถ Login ผ่าน Google Account เหมือนบริการอื่น ๆ ของ Google ซึ่งจะมี การแบ่งหมวดหมู่คำถามเป็นประเภทต่าง ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน เช่น ความรู้ บันเทิง เทคโนโลยี การท่องเที่ยว เป็นต้น
      นอกจากนี้ยังมีระบบการให้คะแนนสำหรับการตั้งหรือตอบคำถาม และการหักลบคะแนน สำหรับการแสดงข้อความที่ไม่เหมาะสม แล้วนำคะแนนที่มีมา จัดระดับชื่อเสียงได้อีกด้วย

Google Guru  มีไว้ใช้ในการตั้งคำถามเพื่อให้คนที่มีความรู้มาตอบ และเพื่อเอาคำตอบไปใช้อย่างรวดเร็ว

ที่มา http://www.oknation.net/blog/surasakc/2011/06/08/entry-1

 

ข้อ 6  iGoogle คืออะไร มีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ใด

ตอบ  iGoogle หรือแรกเริ่มเดิมที ชื่อว่า Google homepage หรือชื่อเต็มๆ ก็คือ Google Personalized Home Page ซึ่งเป็นบริการหน้า Home Page ฟรีของ Google ที่ให้เราเลือกเนื้อหาต่างๆ ต่อไปนี้มาวางได้ เช่น ข่าว เกม RSS จากเว็บไซต์หรือ Blog ที่เราต้องการทราบข้อมูลข่าวสารอยู่เป็นประจำ และฟีเจอร์พิเศษที่เราสามารถปรับแต่งและใส่เนื้อหาได้เอง ที่เรียกว่า Gadgets เช่น เราสามารถจะใส่รูปแบ่งให้คนอื่นดู แสดงวีดิโอจาก YouTube Video หรืออาจจะแสดงปฏิทิน พยากรณ์อากาศ นาฬิกาบอกเวลาและวันที่ และอื่นๆ ตามที่เราต้องการ iGoogle ก็เหมือนกับหน้าเว็บไซต์ Google (ที่ใช้สำหรับค้นหาข้อมูล)แต่ว่าเป็นหน้าของเราเอง(i ก็ฉันไง!) ซึ่งไม่ได้มีไว้เพียงแค่ค้นหาเพียงอย่างเดียว แต่เราสามารถปรับแต่งหน้านั้นอย่างไรก็ได้ แล้วแต่เราพอใจ คือนอกจากที่เราจะสามารถเลือกเนื้อหามาแสดงได้แล้ว รูปร่างหน้าตาของเจ้าเว็บ iGoogle เราก็สามารถปรับแต่งได้ด้วย เช่น เราชอบใช้ภาษาไทย เราก็ให้มันแสดงเป็นภาษาไทยได้ เปลี่ยนธีม(Theme) หรือรูปร่างหน้าตาทั้งเว็บได้ด้วย

นอกจากนั้น iGoogle ยังเปิดให้ใช้ Theme ของ U.S. ได้ และปัจจุบันก็สามารถใช้งานกับภาษาต่างๆ ได้ทั่วโลกถึง 117 ภาษาเลยทีเดียว ซึ่งในการปรับแต่งต่างๆ นั้น เราต้องมีบัญชีของ Google หรือ Gmail ก่อน

วัตถุประสงค์ของ  iGoogle

     iGoogle เป็นหน้าแรกที่สามารถกำหนดเองได้
     iGoogle ช่วยคุณสร้างหน้าแรกในแบบของคุณโดยมีช่องค้นหา Google อยู่ที่ด้านบน และ Gadget ตามจำนวนที่คุณเลือกที่ด้านล่าง Gadget มีหลากหลายรูปแบบและเป็นช่องทางในการเข้าถึงกิจกรรม รวมทั้งข้อมูลต่างๆ จากทั่วทั้งเว็บ โดยที่ไม่ต้องออกจากหน้าเว็บ iGoogle เลย คุณสามารถใช้ Gadget เพื่อทำสิ่งต่างๆ ได้ดังนี้
  • ดูข้อความ Gmail ล่าสุดของคุณ
  • อ่านพาดหัวข่าวจาก Google News และแหล่งข่าวชั้นนำอื่นๆ
  • ตรวจดูพยากรณ์อากาศ ราคาหุ้น และเวลาฉายภาพยนตร์
  • จัดเก็บบุ๊กมาร์กเพื่อให้เข้าถึงไซต์โปรดของคุณได้อย่างรวดเร็วจากคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้
  • ออกแบบ Gadget ของคุณเอง

ที่มา http://2talkbig.blogspot.com/2007/12/igoogle.html

 

ข้อ 7  จงบอกสิทธิประโยชน์ในการสมัครเป็นสมาชิกของ Google ว่ามีความแตกต่างกับผู้ไม่สมัครอย่างไร

ตอบ  สมาชิกจะได้รับสิทธิ์เข้าถึงผลิตภัณฑ์พรีเมียมของ Google และการสนับสนุนดังต่อไปนี้

  • Google Ad Grants: โฆษณา AdWords ฟรีเพื่อโปรโมตเว็บไซต์ของคุณบน Google.com โดยการกำหนดเป้าหมายด้วยคำหลัก
  • โปรแกรม YouTube Nonprofit: สามารถสร้างแบรนด์ระดับพรีเมียมบนช่อง YouTube และเพิ่มความจุในการอัปโหลด
  • Google Apps for Nonprofit: เวอร์ชันฟรีของชุดโปรแกรมเพื่อประสิทธิภาพการทำงานในทางธุรกิจของ Google Apps ซึ่งรวมถึง Gmail, เอกสาร, ปฏิทิน และอื่นๆ

ที่มา https://www.google.co.th/nonprofits/join/

 

 

เทคโนโลยีการส่งข้อมูลแบบไร้สาย

ข้อ 1 จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการส่งข้อมูลแบบ Infrared กับ Bluetooth

ตอบ  อินฟาเรด (Infrared) ลำแสงอินฟาเรดหรือ รังสีใต้แสงสีแดงหรือรังสีความร้อนมีลักษณะเป็นคลื่นวิทยุความถี่สูงที่มีความยาวคลื่นต่ำกว่าความยาวคลื่นแสงสีแดงทำให้สายตามนุษย์ไม่สามารถมองเห็น มีการเดินทางของแสงเป็นแนวตรง ระดับสายตา ไม่สามารถทะลุผ่านวัตถุ ได้ถูกนำมาใช้ในการสื่อสารนานแล้วหลายทศวรรษ

ลักษณะของอินฟาเรด

      คลื่นสัญญาณอินฟาเรด(Infrared IR) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีความถี่ระหว่าง 300 GHz ถึง 400 THz(TeraHertz) มีความยาวคลื่นตั้งแต่ 1 มิลลิเมตร ถึง 770 นาโนเมตรเป็นความถี่ใต้แสงสีแดงที่ตามนุษย์ไม่สามารถมองเห็น เนื่องจากเป็นคลื่นสั้นจึงส่งสัญญาณได้เป็นแนวตรงระยะทางไม่มาก 30 ถึง 80 ฟุต ไม่สามารถเดินทางทะลุวัตถุได้

i005.jpg

      พอร์ตสำหรับการเชื่อมต่ออินฟาเรดจะเรียกว่า พอร์ตอินฟาเรด ดาต้าแอสโซซิเอชั่น หรือไออาร์ดีเอ (Infrared Data Association IrDA) ตัวอย่างการใช้งานได้แก่ คีย์บอร์ดแบบไร้สายติดต่อกับคอมพิวเตอร์โดยมีระยะทางการติดต่อได้ไม่เกิน 8 เมตร อัตราการส่งข้อมูล 75 กิโลบิตต่อวินาที(Kbps)

 

i001          i002

 

i003

                   i004.jpg

                                           ตัวอย่างของการใช้อุปกรณ์อินฟาเรด

ข้อดีของการใช้งานคลื่นอินฟาเรด

        สามารถใช้กับอุปกรณไร้สายระยะใกล้ๆได้ อุปกรณ์มีขนาดเล็ก ใช้พลังงานน้อย ราคาถูก เชื่อมต่ออุปกรณ์ได้ง่าย สัญญาณมีความปลอดภัยสูงไม่ต้องขออนุญาตการใช้งานคลื่น ไม่มีสัญญาณแทรก

ข้อเสียของการใช้งานคลื่นอินฟาเรด

        ใช้ในระยะทางไกลๆ ไม่ได้ ใช้ภายนอกอาคารที่มีแสงแดดไม่ได้ เนื่องจากแสงแดดเป็นคลื่นอินฟาเรดเหมือนกันทำให้รบกวนกัน ถ้ามีการบังทางเดินของแสงจะทำให้สัญญาณขาดหาย

 

BLUETOOTH คือ ระบบสื่อสารของอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคแบบสองทาง ด้วยคลื่นวิทยุระยะสั้น (Short-Range Radio Links) โดยปราศจากการใช้สายเคเบิ้ล หรือ สายสัญญาณเชื่อมต่อ และไม่จำเป็นจะต้องใช้การเดินทางแบบเส้นตรงเหมือนกับอินฟราเรด ซึ่งถือว่าเพิ่มความสะดวกมากกว่าการเชื่อมต่อแบบอินฟราเรด ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างโทรศัพท์มือถือ กับอุปกรณ์ ในโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นก่อนๆ และในการวิจัย ไม่ได้มุ่งเฉพาะการส่งข้อมูลเพียงอย่างเดียว แต่ยังศึกษาถึงการส่งข้อมูลที่เป็นเสียง เพื่อใช้สำหรับ Headset บนโทรศัพท์มือถือด้วย

dfjmpstu1478.jpg

การทำงานของ Bluetooth

        Bluetooth จะใช้สัญญาณวิทยุความถี่สูง 2.4 GHz. (กิ๊กกะเฮิร์ซ) แต่จะแยกย่อยออกไป ตามแต่ละประเทศ อย่างในแถบยุโรปและอเมริกา จะใช้ช่วง 2.400 ถึง 2.4835 GHz. แบ่งออกเป็น 79 ช่องสัญญาณ และจะใช้ช่องสัญญาณที่แบ่งนี้ เพื่อส่งข้อมูลสลับช่องไปมา 1,600 ครั้งต่อ 1 วินาที ส่วนที่ญี่ปุ่นจะใช้ความถี่ 2.402 ถึง 2.480 GHz. แบ่งออกเป็น 23 ช่อง ระยะทำการของ Bluetooth จะอยู่ที่ 5-10 เมตร โดยมีระบบป้องกันโดยใช้การป้อนรหัสก่อนการเชื่อมต่อ และ ป้องกันการดักสัญญาณระหว่างสื่อสาร โดยระบบจะสลับช่องสัญญาณไปมา จะมีความสามารถในการเลือกเปลี่ยนความถี่ที่ใช้ในการติดต่อเองอัตโนมัติ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเรียงตามหมายเลขช่อง ทำให้การดักฟังหรือลักลอบขโมยข้อมูลทำได้ยากขึ้น โดยหลักของบลูทูธจะถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก เนื่องจากใช้การขนส่งข้อมูลในจำนวนที่ไม่มาก อย่างเช่น ไฟล์ภาพ, เสียง, แอพพลิเคชั่นต่างๆ และสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย ขอให้อยู่ในระยะที่กำหนดไว้เท่านั้น (ประมาณ 5-10 เมตร) นอกจากนี้ยังใช้พลังงานต่ำ กินไฟน้อย และสามารถใช้งานได้นาน โดยไม่ต้องนำไปชาร์จไฟบ่อยๆ ด้วย

acdfijkstuw1.jpg

        ส่วนความสามารถการส่งถ่ายข้อมูลของ Bluetooth จะอยู่ที่ 1 Mbps (1 เมกกะบิตต่อวินาที) และคงจะไม่มีปัญหาอะไรมากกับขนาดของไฟล์ที่ใช้กันบนโทรศัพท์มือถือ หรือ การใช้งานแบบทั่วไป ซึ่งถือว่าเหลือเฟือมาก แต่ถ้าเป็นข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ล่ะก็ คงจะช้าเกินไป และถ้าถูกนำไปเปรียบกับ Wireless LAN (WLAN) แล้ว ความสามารถของ Bluetooth คงจะห่างชั้นกันเยอะ ซึ่งในส่วนของ WLAN ก็ยังมีระยะการรับ-ส่งที่ไกลกว่า แต่ขอได้เปรียบของ Bluetooth จะอยู่ที่ขนาดที่เล็กกว่า การติดตั้งทำได้ง่ายกว่า และที่สำคัญ การใช้พลังงานก็น้อยกว่ามาก อยู่ที่ 0.1 วัตต์ หากเทียบกับคลื่นมือถือแล้ว ยังห่างกันอยู่หลายเท่าเหมือนกัน

ที่มา http://xn--12cf0dj9bham2ca6a9ce9a8a8jnbb6j.blogspot.com/2013/06/infrared-ir.html

         http://svoapc.svoa.co.th/support/137/article/

 

ข้อ 2 จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการส่งข้อมูลแบบ Wi-Fi กับ Wi-Max

ตอบ  Wi-Fi ย่อมาจาก wireless fidelity) หมายถึงชุดผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่สามารถใช้ได้กับมาตรฐานเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบไร้สาย (WLAN) ซึ่งอยู่บนมาตรฐาน IEEE 802.11

         เทคโนโลยี Wi-Fi ใช้คลื่นวิทยุความถี่สูงสำหรับรับส่งข้อมูลภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้งาน Wi-Fi ได้ต้องมีการติดตั้งแผงวงจรหรืออุปกรณ์รับส่ง Wi-Fi ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Network Interface Card (NIC) แต่ปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมักได้รับการ ติดตั้งชิปเซ็ต (Chipset) ที่ทำหน้าที่เป็นตัวรับส่งสัญญาณ Wi-Fi ไปในตัว ทำให้สะดวกต่อการนำไปใช้งานมากขึ้น การติดต่อสื่อสารด้วยเทคโนโลยี Wi-Fi ทำได้ทั้งแบบเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยไม่ต้องผ่านอุปกรณ์ตัวกลาง (Ad-hoc) และแบบที่ผ่านอุปกรณ์จุดเชื่อมต่อ (Access Point) ดังแสดงในรูปที่ 1 เนื่องจากการติดตั้งเครือข่าย Wi-Fi ทำได้ง่ายและไม่ต้องใช้ความรู้ในเชิงลึกทางด้านวิศวกรรมเครือข่าย แม้จะมีพื้นที่ครอบคลุมในระยะทางจำกัด แต่ก็ถือว่าเพียงพอที่ต่อการใช้งานในสำนักงานและบ้านพักอาศัยโดยทั่วไป จึงทำให้ผู้คนทั่วไปนิยมใช้งาน Wi-Fi กันมาก ส่งผลให้เกิดการขยายตัวของตลาดผู้บริโภคอย่างรวดเร็วในปัจจุบันดังแสดงในรูป ที่ 10 ซึ่งเป็นการแสดงจำนวนพื้นที่ที่มีการเปิดให้บริการ Wi-Fi ในสหรัฐอเมริกา ทั้งที่เป็นการให้บริการฟรี และที่มีการคิดค่าใช้จ่าย โดยทั่วไปมักเรียกพื้นที่เหล่านี้ว่า Hotspot

         ระบบเครือข่ายไร้สายประเภท WiMAX ทั้งแบบ Fix WiMAX (IEEE802.16d หรือ 2004)และ Mobile WiMAX (IEEE802.16e หรือ2005) สามารถครอบคุลมความถี่การใช้งานตั้งแต่ 2.3-2.7 GHz, 3.3-3.4 GHz, 3.4-3.7 GHz, 5.1-5.9 GHz รองรับทั้ง Licensed และLicense-Exempt Band และเป็นแบบ Superior Non-line of site (NLOS) ซึ่งช่วยให้สามารถทำงานได้แม้กระทั่งมีสิ่งกีดขวาง เช่น ต้นไม้ หรือ อาคารได้เป็นอย่างดี และรองรับระยะทางกว่า 10 กิโลเมตรในกรณีการใช้งานแบบ Point to Point Link โดยไม่ต้องพึ่งสายอากาศจากภายนอก ซึ่งประโยชน์ดังกล่าวนี้ ทำให้สามารถนำผลิตภัณฑ์ WiMAX ไปประยุกต์ใช้งานเพื่อลดช่องว่างของเทคโนโลยีในพื้นที่ห่างไกล ที่เทคโนโลยีเข้าไปไม่ถึง ตลอดจนสนองความต้องการการใช้งานบรอดแบนด์ในเมืองที่มีพื้นที่ ที่แออัดได้อย่างสะดวกรวดเร็วและมีค่าใช้จ่ายที่ประหยัดกว่าการติดตั้งเครือข่ายในแบบการวางสายสัญญาณที่ใช้งานกันอยู่เดิมได้เป็นอย่างดี

ที่มา http://mblog.manager.co.th/vilawan050/cxWi-Fi-3/

http://www.baycoms.com/index.php/wimax.html

 

ข้อ 3 จงอธิบายคำศัพท์ 2 คำนี้ Access Point กับ Hot Spot

ตอบ  Access Point (AP) คืออุปกรณ์ที่มีหน้าที่ในการกระจายสัญญาณไวร์เลส เป็นอุปกรณ์พื้นฐานตัวหนึ่งที่สามารถสร้างเครือข่ายไร้สายจากระบบเครือข่ายแลน(Lan)ได้ง่ายที่สุด แอคเซสพอยท์ทำหน้าที่กระจายสัญญาณออกไปยังเครื่องลูกข่ายที่อยู่ในรัศมีการกระจายสัญญาณโดยรอบ ซึ่งลักษณะของตัวแอคเซสพอยท์นั้นจะมีลักษณะที่แตกต่างกันอยู่กับผู้ผลิตจะดีไซน์ให้มีรูปร่างหน้าตาแบบไหน แต่ที่เหมือนกันก็คือ AP จะมีช่องเชียบสายแลนเพียงช่องเดียวเท่านั้น ช่องดังกล่าวจะเป็นช่องที่รับสัญญาณอินเตอร์เน็ตหรือใช้เชื่อมต่อกับเน็ตเวิร์คจากเครือข่ายแลนเข้ากับเครื่องลูกข่ายที่เชื่อมต่อแบบไร้สาย การทำงานของ AP จะทำงานภายใต้มาตรฐานของ IEEE802.11 ซึ่งทำให้อุปกรณ์ที่มีมาตรฐานนี้สามารถใช้งาน AP ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

access-point-content1.jpg

โดยมากแล้วแอคเซสพอยท์จะมีเสาสัญญาณเพียง 1 เสาเท่านั้นการเลือกซื้อถ้าเราต้องการสัญญาณที่มีคุณภาพดีขึ้นเราควรมองหาแอคเซสพอยท์ที่มีมากกว่า 2 เสาขึ้นไปเพื่อให้การกระจายสัญญาณของ AP สามารถกระจายสัญญาณได้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งพื้นฐานของ AP นั้นจะมีไฟแสดงสถานะมาตรฐานอยู่ 3 สถานะก็คือ

– ไฟ Power สถานะนี้จะขึ้นแสดงเมื่อมีไฟฟ้ามาเลี้ยงที่ตัว AP ถ้าไฟดวงนี้ไม่ติดเราควรตรวจสอบปลั๊กว่ามีการเสียบปลั๊กดีหรือเปล่า
– ไฟ Link ไฟสถานะนี้จะเป็นไฟแสดงสถานะของสายแลนว่ามีการเชื่อมต่อที่สมบูรณ์หรือเปล่า ถ้าเกิดไฟสถานะ Link ไม่ติดให้ตรวจดูที่สายแลนว่ามีการเชื่อมต่อไว้หรือเปล่าถ้ามีการเชื่อมต่อแล้วก็ต้องไปดูที่ปลายสายว่ามีการเชื่อมต่อที่ถูกต้องหรือเปล่าเช่นกัน เพราะถ้ามีการเชื่อมต่อที่ถูกต้องแล้ว ไฟสถานะ Link จะขึ้นโชว์ที่ตัวอุปกรณ์ AP เสมอ
– ไฟสถานะ ACT ไฟดวงนี้จะเป็นตัวบ่งชี้ว่ามีการส่งข้อมูลผ่านตัวอุปกรณ์ AP ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องลูกข่ายกับ AP ส่วนมากแล้วจะมีการกระพริบอยู่ตลอดเมื่อมีการใช้งาน

 

Hotspot คือ จุดกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตไร้สาย (Wifi) ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระจายสัญญาณ Wifi นั้นเราจะเรียกว่าเราเตอร์โมเด็ม เป็นอุปกรณ์ที่ต่อกับสายแลนแบบ Ethernet เป็นการเชื่อมต่อโดยตรงกับสายสัญญาณอินเตอร์เน็ต ความแรงของจุดกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตไร้สาย (Wifi Hotspot) จะขึ้นอยู่กับกำลังส่งของอุปกรณ์ในการส่งสัญญาณ สภาพแวดล้อมภายนอก เช่น สิ่งที่บดบังสัญญาณ สภาพอากาศ เป็นต้น ด้วยสาเหตุนี้เราถึงได้เห็น WiFi Hotspot อยู่บนตึกสูงหรืออยู่บนเสาที่มีความสูงที่ไม่มีอาคารบดบัง เพื่อให้กระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตไร้สายๆได้ไกลมากยิ่งขึ้น

wifi-hotspot-content.jpg

Wifi Hotspot มีหน้าที่ที่จะต้องคอยส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตไร้สาย ไปยังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่รองรับ อาทิ โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และแท็บเล็ต หรือจะเป็นอุปกรณ์อื่นๆที่รองรับระบบ WiFi ก็ได้เช่นกัน ซึ่งจุดกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตไร้สาย หรือ Wifi Hotspot จะคอยส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตไร้สายให้กับผู้ที่ใช้งาน ที่อยู่ในรัศมีที่สามารถกระจายสัญญาณได้ ระดับความแรงก็ขึ้นอยู่กับ ตัวอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นเครื่องรับสัญญาณ Wifi อยู่ใกล้กับจุดกระจายสัญญาณมากน้อยแค่ไหน แน่นอนว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ใกล้ Wifi Hotspot ก็จะสามารถส่งถ่ายข้อมูลได้เร็วกว่า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ไกลกว่า

ที่มา http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/access-point/

http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/wifi-hotspot/

 

ข้อ 4 จงอธิบายความแตกต่างระหว่าง 1G /  2G / 2.5G/ 2.75G/ 3G/ 4G

ตอบ 

          1G เมื่อเข้าถึงยุคสมัยที่มีโทรศัพท์มือถือใช้บนโลกใบนี้ ในยุคแรกสุดนั้นเรายังไม่ได้มีการกำหนดว่านั่นเป็นยุค 1G แต่อย่างใด แต่เราได้กำหนดคำนี้ขึ้นเมื่อเริ่มมีการพัฒนาในวงการเทคโนโลยีการสื่อสารทางไกลผ่านโทรศัพท์มือถือผ่านมาได้ถึงยุค 3G แล้วนั่นเอง โดยในรุ่นแรกๆ นี้ หลายคนอาจจะเคยผ่านตามาบ้างกับโทรศัพท์มือถือร่างยักษ์ที่มีปุ่มกดนูนๆกับเสาอากาศใหญ่โตที่ทำได้เพียงโทรเข้า-ออก รับสาย ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารแบบ Analog ได้รับการพัฒนาเป็นครั้งแรกในเครือข่ายโทรศัพท์ NTT ของประเทศญี่ปุ่นและมีการใช้ครั้งแรกที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1979 ก่อนจะเริ่มแพร่หลายใช้ทั่วทั้งประเทศญี่ปุ่น และเข้ามาสู่ประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย (ยุโรปตอนเหนือ) ในปี 1981

Mobile-1G.jpg

          สำหรับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบ Analog นี้ จะใช้ระบบพื้นฐานการส่งสัญญาณแบบ FDMA (Frequency Division Multiple Access) หลักในการทำงานคือ การแบ่งช่องความถี่ออกเป็นความถี่ย่อยหลายๆ ช่อง บนความถี่ที่ 824-894 MHz แล้วใช้สัญญาณวิทยุในการส่งคลื่นเสียงไปยังสถานีรับส่งสัญญาณ หนึ่งคลื่นความถี่เท่ากับหนึ่งช่องสัญญาณ ผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในเวลานั้นจะสามารถใช้การบริการโทรศัพท์ได้เฉพาะในช่องความถี่ที่ว่างอยู่ และหลังจากที่มีผู้ใช้งานมากขึ้น ระบบก็ไม่สามารถรองรับสัญญาณได้ จึงทำให้การส่งสัญญาณแบบ FDMA ไม่เป็นที่นิยมและเกิดการพัฒนาเข้าสู่ยุคต่อไป
ในยุค 1G นี้ ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบ Analog นี้ ทำให้โทรศัพท์มือถือในยุคนั้นไม่สามารถทำอะไรได้มากนัก ความสามารถหลักๆ คือการใช้งานในเรื่องของเสียง (Voice) เท่านั้น คือรองรับเพียงการโทรเข้า และรับสาย ยังไม่รองรับการส่งหรือรับ Data ใดๆ แม้แต่จะส่ง SMS ก็ยังไม่สามารถทำได้ ซึ่งในยุคนั้นผู้คนก็ยังไม่มีความจำเป็นในการใช้งานอื่นๆ นอกจากการโทรเข้าออกอยู่แล้ว และกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่สามารถใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ในเวลานั้น เป็นผู้มีฐานะหรือนักธุรกิจที่ใช้ติดต่องาน เนื่องจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ในเวลานั้นมีราคาสูงมาก
การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุค 1G
-โทรออก / รับสาย
-ไม่รองรับผู้ใช้งานในจำนวนมาก
-เกิดการดักฟังโทรศัพท์ได้ง่ายและไม่ปลอดภัย

          2G  พอมาถึงในยุค 2G เริ่มมีการพัฒนารูปแบบการส่งคลื่นเสียงแบบ Analog มาเป็น Digital โดยการเข้ารหัส โดยส่งคลื่นเสียงมาทางคลื่นไมโครเวฟ โดยการเข้ารหัสเป็นแบบดิจิตอลนี้ จะช่วยในเรื่องของความปลอดภัยในการใช้งานมากยิ่งขึ้น และช่วยในเรื่องของสัญญาณเสียงที่ใช้ติดต่อสื่อสารให้มีความคมชัดมากขึ้นด้วย โดยมีเทคโนโลยีการเข้าถึงช่องสัญญาณของผู้ใช้เป็นลักษณะเชิงผสมระหว่าง FDMA และ TDMA (Time Division Multiple Access) เป็นการเพิ่มช่องทางการสื่อสารทำให้รองรับปริมาณผู้ใช้งานที่มีมากขึ้นได้

          เราจะเห็นว่าในยุค 2G นี้ เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบชัดเจน ผู้คนหันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่กันมากขึ้น เนื่องจากเกิดการพัฒนาโทรศัพท์กันอย่างกว้างขวาง ทำให้มีการแข่งขันในวงการโทรศัพท์เคลื่อนที่สูงขึ้น และทำให้ราคาเครื่องถูกลงนั่นเอง ในยุคนี้ ถือเป็นยุคที่เฟื่องฟูของวงการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงตอนปลาย จึงทำให้สามารถแบ่งยุค 2G ออกได้อีก 2 ช่วงคือ 2.5G และ 2.75G
          2.5G ในยุคนี้ได้ถือกำเนิดเทคโนโลยีที่เรียกว่า GPRS (General Packet Radio Service) ซึ่งพัฒนาในเรื่องของการรับส่งข้อมูลที่มากขึ้น ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 115 Kbps (แต่ถูกจำกัดการใช้งานจริงอยู่ที่ 40 kbps) สิ่งที่เราจะเห็นได้ชัดถึงการเปลี่ยนแปลงในยุคนี้ก็คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้เพิ่มฟังก์ชั่นการรับส่งข้อมูลในส่วนของ MMS (Multimedia Messaging Service) หน้าจอโทรศัพท์เริ่มเข้าสู่ยุคหน้าจอสี และเสียงเรียกเข้าก็ถูกพัฒนาให้เป็นเสียงแบบ Polyphonic จากของเดิมที่เป็น Monotone และเข้ามาสู่ยุคที่เสียงเรียกเข้าเป็นแบบ MP3 ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้
         
          2.75G เป็นยุคที่กำลังจะก้าวเข้าสู่ 3G แล้ว ซึ่งยุคนี้เป็นยุคของ EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution) ที่พัฒนาต่อยอดมาจาก GPRS นั่นเอง และในปัจจุบันนี้เราก็ยังคงได้ยินและมีการใช้เทคโนโลยีนี้กันอยู่ ซึ่งได้พัฒนาในเรื่องของความเร็วในการรับส่งข้อมูลไร้สายนั่นเอง
การพัฒนาทางเทคโนโลยีในยุคนั้น ทำให้เกิดการแข่งขันกันทางการตลาดของวงการโทรศัพท์มือถือมากขึ้น ทั้งในเรื่องของการดาวน์โหลดเสียงรอสาย รับส่งภาพผ่าน MMS ดาวน์โหลดภาพต่างๆ ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ใช้งาน ทั้งหมดนี้เป็นพื้นฐานที่ทำให้พัฒนาเข้าสู่ยุคต่อไป

การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุค 2G

  • โทรออก รับสาย
  • ส่ง SMS

การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุค 2.5G

  • โทรออก รับสาย
  • ส่ง SMS
  • ส่ง MMS
  • เสียงเรียกเข้าแบบ Polyphonic
  • เล่นอินเทอร์เน็ตบนมือถือได้ด้วยความเร็ว 115 kbps

การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุค 2.75G

  • โทรออก รับสาย
  • ส่ง SMS
  • ส่ง MMS
  • รองรับเสียงเรียกเข้าแบบไฟล์ MP3
  • เล่นอินเทอร์เน็ตบนมือถือได้ด้วยความเร็ว 70 – 180 kbps
          3G  เข้ามาถึงยุค 3G กันแล้ว ซึ่งยุคนี้ก็ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงวงการโทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่พอสมควร เรียกได้ว่าเปลี่ยนแปลงวิถีประจำวันของผู้ใช้งานไปด้วยก็ว่าได้ สิ่งที่ 3G ต่างกับ 2G ก็คือ ความสามารถในการออนไลน์ตลอดเวลา (Always On) ซึ่งก็จะเท่ากับโทรศัพท์ของคุณจะเหมือนมี High Speed Internet แบบบ้านอยู่บนมือถือของคุณอยู่ตลอดเวลา หากเป็น 2G นั้นเวลาจะออนไลน์แต่ละทีนั้นจะต้องมีการ Log-On เพื่อเข้าเครือข่าย ในขณะที่ 3G นั้นจะมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอยู่ตลอดเวลาซึ่งการเสียค่าบริการแบบนี้ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลผ่านเครือข่ายเท่านั้น โดยจะต่างจากระบบทั่วไป ที่จะเสียค่าบริการตั้งแต่เราล็อกอินเข้าในระบบเครือข่ายเลย
ข้อดีของระบบ Always On คือ จะมีการเตือน (Alert) ขึ้นมาทันที หากมีอีเมล์เข้ามา หรือมีการส่งข้อความต่างๆ จากโปรแกรมทางอินเทอร์เน็ตของเรา นอกจากนั้นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแต่ละครั้งก็จะเร็วกว่ามาก (Initial Connection) เพราะไม่ต้องมีการ Log-On เข้ากับระบบอีกต่อไป (การ Log-On เข้าระบบให้นึกถึงตอนสมัยที่เราใช้ Modem แบบ Dial Up ร่วมกับสายโทรศัพท์) เราจะสามารถเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา แล้วคิดค่าบริการตามการรับส่งข้อมูลของเราแทน
ในยุคนี้จะเน้นการสื่อสารทั้งการพูดคุยแบบเสียงตามปกติ (Voice) และแบบรับส่งข้อมูล (Data) ซึ่งในส่วนของการรับส่งข้อมูลนี้เอง ที่ทำให้ 3G นั้นต่างจากระบบเก่า 2G ที่มีพื้นฐานในการพูดคุยแบบเสียงตามปกติอยู่มาก เนื่องจากเป็นระบบที่ทำขึ้นมาใหม่เพื่อให้รองรับกับการรับส่งข้อมูลโดยตรง มีช่องความถี่และความจุในการรับส่งสัญญาณที่มากกว่า ส่งผลให้การรับส่งข้อมูลหรือการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือนั้นเร็วมากขึ้นแบบก้าวกระโดด ประสิทธิภาพในการใช้งานด้านมัลติมีเดียดีขึ้น และยังมีความเสถียรกว่า 2G อีกด้วยค่ะ

ภาพนี้แสดงให้เห็นถึงความจุของข้อมูลที่ 3G นั้น
สามารถที่จะรับส่งได้ ซึ่งมากกว่า 2G อยู่มากโดยเฉพาะส่วนของข้อมูล (Data)
          4G  ถึงแม้ว่าเราจะเห็นวิวัฒนาการของ 3G ที่ก้าวกระโดดจาก 2G มาแล้วนั้น ทำให้เราสามารถใช้งานโทรศัพท์มือถือได้โดยสามารถเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา (Always on) เราสามารถ Video Call ผ่านโทรศัพท์มือถือได้ เราสามารถดูทีวีออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือได้ แต่หลายครั้งหลายคราก็ต้องประสบกับปัญหา สัญญาณข้ดข้อง ภาพกระตุกบ้าง ความเร็วในการรับส่งข้อมูลถูกจำกัดบ้าง ดังนั้นจึงมีการพัฒนาต่อเข้าสู่ยุค 4G
          การเข้ามาสู่ยุค 4G นี้ได้รับการพัฒนามาจากประเทศสวีเดนและนอร์เวย์ ก่อนจะนำมาใช้จริงที่สหรัฐอเมริกา เป็นการพัฒนาต่อยอดมาจากระบบไร้สายในอดีตทั้งหมด ทั้ง 1G, 2G และ 3G มารวมกันเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพขึ้น อย่างเช่น การพัฒนาในเรื่องความเร็วในการรับส่งข้อมูล ที่ทำได้เร็วขึ้นถึง 100 Mpbs เลยทีเดียว สำหรับความเร็วขนาดนี้นั้น ทำให้สามารถใช้งานโทรศัพท์มือถือ หรือ Tablet ของคุณได้หลากหลายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การดูไฟล์วีดิโอออนไลน์ด้วยความคมชัด และไม่มีการกระตุก, การสื่อสารข้ามประเทศ อย่างโทรศัพท์แบบเห็นหน้ากันแบบโต้ตอบทันที (Video Call) หรือจะเป็นการประชุมผ่านโทรศัพท์ (Mobile teleconferencing) ก็เป็นเรื่องง่ายขึ้น แถมยังมีค่าใช้จ่ายน้อยลงอีกด้วย
สำหรับเทคโนโลยีที่ใช้ในยุค 4G นี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ระบบด้วยกัน คือ WiMAX (Worldwide Interoperability of Microwave Access) และ LTE (Long Term Evolution) ซึ่งทั้งสองระบบนี้ เป็นเทคโนโลยีไร้สายที่มาช่วยในเรื่องของการรับส่งข้อมูลให้เร็วขึ้นกว่าในยุคก่อนๆ นั่นเอง โดยในส่วนของ WiMax นั้นนิยมใช้แค่ในบางประเทศเช่น ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, บังคลาเทศ ซึ่ง LTE นั้นเป็นที่นิยมใช้มากกว่ารวมถึงบ้านเราด้วยเช่นกัน

detail.jpg

ที่มา http://www.checkraka.com/mobilephone/knowledge/1627099/

 

ข้อ 5  การโจรกรรมข้อมูลโดยใช้เทคนิค Evil Twin เป็นอย่างไร

ตอบ  “คู่แฝดปีศาจ” เป็นเทคโนโลยีที่แฮกเกอร์ใช้เพื่อหลอกขโมยข้อมูลจากผู้ใช้งาน Wi-Fi ที่ขาดความระมัดระวัง หรือผู้ใช้งาน Wi-Fi สาธารณะที่เปิดให้บริการแก่ผู้ใช้ทั่วไป ทั้งชนิดที่เป็นบริการแบบฟรี (Free Access) หรือเสียค่าบริการ (Subscribed) โดย Biba (2005) ได้อธิบายวิธีการทำงานของ “คู่แฝดปีศาจ” ไว้ว่าแฮกเกอร์จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณมีคุณสมบัติเป็นแอ็กเซสพอยต์ จากนั้นก็นำคอมพิวเตอร์เครื่องดังกล่าวแอบวางไว้ในสถานที่ที่มีจุดบริการ Wi-Fi สาธารณะ เช่น สนามบิน ร้านอาหารที่เปิดให้บริการ Wi-Fi แก่บุคคลทั่วไปหรือใกล้ๆ กับเครื่องแอ็กเซสพอยต์ขององค์กรหรือสำนักงานที่มีการใช้งาน Wi-Fi แบบขาดความระมัดระวังหรือไม่รอบคอบทันที ดังนั้นเมื่อเหยื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนขึ้นมาใช้งาน โปรแกรมเพื่อเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่าย Wi-Fi ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเหยื่อก็จะพบว่ามีแอ็กเซสพอยต์อยู่ภายในบริเวณรัศมีเชื่อมต่อมากกว่า 1 เครื่อง และถ้าเหยื่อหลงกลก็อาจจะเลือกเชื่อมต่อเข้าสู่แอ็กเซสพอยต์ของแฮกเกอร์แทนที่จะเป็นแอ็กเซสพอยต์ของผู้ให้บริการตัวจริง จากนั้นแฮกเกอร์ก็อาจจะสร้างระบบโปรแกรม เว็ปไวต์ หรืออื่นๆ ของแฮกเกอร์เองเพื่อหลอกล่อให้เหยื่อตายใจและยอมกรอกข้อมูลที่สำคัญ เช่น ข้อมูลเอกลักษณ์บุคคลหรือข้อมูลใดๆ ที่แฮกเกอร์ต้องการเก็บลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของแฮกเกอร์และแฮกเกอร์ก็จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป นอกจากนี้หากเหยื่อได้ทำการแชร์โฟลเดอร์หรือแฟ้มข้อมูลใดๆ ภายในเครื่องของตนไว้ แฮกเกอร์จะสามารถเปิดอ่าน ทำสำเนาโฟลเดอร์หรือแฟ้มข้อมูลต่างๆ เหล่านั้นออกได้เช่นเดียวกับในกรณีของการถูกลักลอบใช้ Wi-Fi นั่นเอง

ที่มา http://www.mvt.co.th/viewnews.php?cid=2&nid=181&page=1