แบบฝึกหัดข้อมูลและสารสนเทศ และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูล

ข้อมูลและสารสนเทศ

1.ข้อมูลคืออะไร

ตอบ  ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผลซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชือนักเรียน เพศ อายุ เป็นต้น

ที่มา : https://blog.eduzones.com/jipatar/85845

 

2.ข้อมูลกับสารสนเทศมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันอย่างไร

ตอบ        ข้อมูล (data) คือ    ข้อเท็จจริง หรือ เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆที่เป็นตัวเลข ข้อความ หรือรายละเอียดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ  เช่น ภาพ  เสียง  วีดิโอ  ของคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ที่เราสนใจ ฯลฯ การรวบรวมข้อมูล เป็น การเริ่มต้นในการดำเนินงาน การรวบรวมข้อมูลที่ดี จะได้ข้อมูลรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วน  การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหลายวิธี เช่น การใช้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ การใช้โทรสาร การใช้เครื่องวัดต่าง ๆ การใช้ดาวเทียม การออกแบบสอบถาม ฯลฯ

สารสนเทศ (Information) หมายถึง  ข้อมูล หรือ สิ่งซึ่งได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ หรือ สารสนเทศ หมายถึง   ข้อมูลที่มีความหมายซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์    ดังนั้น  สารสนเทศจึงหมายถึงข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลด้วยวิธีการที่เหมาะสมและถูกต้อง  เพื่อให้ได้ผลลัพท์ตรงตามความต้องการของผู้ใช้  ดยอาจเขียนแผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ ดังนี้


ข้อมูล                                  การประมวลผล                        สารสนเท

ที่มา : http://neung.kaengkhoi.ac.th/mdata/salupkadata3.html

3.คุณสมบัติของข้อมูลที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร

ตอบ  ข้อมูลที่ดีจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติที่สำคัญๆ ดังนี้คือ

1) ความถูกต้องแม่นยำ
(accuracy) ข้อมูลที่ดีควรจะมีความถูกต้องแม่นยำสูง หรือถ้ามีความคลาดเคลื่อน (errors) ปนอยู่บ้าง ก็ควรที่จะสามารถควบคุมขนาดของความคลาดเคลื่อนที่ปนมาให้มีความคลาดเคลื่อน น้อยที่สุด

          2) ความทันเวลา (timeliness) เป็นข้อมูลที่ทันสมัย (up to date) และทันต่อความต้องการของ ผู้ใช้ ถ้าผลิตข้อมูลออกมาช้า ก็ไม่มีคุณค่าถึงแม้จะเป็นข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำก็ตาม

          3) ความสมบูรณ์ครบถ้วน (completeness) ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาต้องเป็นข้อมูลที่ให้ข้อเท็จจริง (facts) หรือข่าวสาร (information) ที่ครบถ้วนทุกด้านทุกประการ มิใช่ขาดส่วนหนึ่งส่วนใดไปทำให้นำไปใช้การไม่ได้

         4) ความกระทัดรัด (conciseness) ข้อมูลที่ได้รับส่วนใหญ่จะกระจัดกระจาย ควรจัดข้อมูลให้อยู่ใน รูปแบบที่กระทัดรัดไม่เยิ่นเย้อ สะดวกต่อการใช้และค้นหา ผู้ใช้มีความเข้าใจได้ทันที

          5) ความตรงกับความต้องการของผู้ใช้ (relevance) ข้อมูลที่จัดทำขึ้นมาควรเป็นข้อมูลที่ผู้ใช้ ข้อมูลต้องการใช้ และจำเป็นต้องรู้ / ทราบ หรือเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำแผน กำหนดนโยบายหรือตัดสินปัญหาในเรื่องนั้นๆ ไม่ใช่เป็นข้อมูลที่จัดทำขึ้นมาอย่างมากมาย แต่ไม่มีใครต้องการใช้หรือไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล

          6) ความต่อเนื่อง (continuity) การเก็บรวบรวมข้อมูล ควรอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องในลักษณะของอนุกรมเวลา (time-series) เพื่อจะได้นำไปใช้ประโยชน์ในด้านการวิเคราะห์วิจัยหรือหาแนวโน้มในอนาคต

ที่มา :  http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/know/estat1_5.html

4.จุดประสงค์ของการจัดเรียงข้อมูลคืออะไร

ตอบ  จุดประสงค์ของการจัดเรียงข้อมูลคือ

  1. ลดความซ้ำซ้อนข้อมูลในฐานข้อมูล เนื่องถ้ามีการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนกัน จะทำให้การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลในตารางทำได้ไม่สะดวก
  2. ตอบสนองความจำเป็นในการเรียกใช้ข้อมูลในเวลาที่สั้นที่สุด โดยหลังจากออกแบบฐานข้อมูลเสร็จแล้ว เราสามารถเรียกข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว เพราะว่าข้อมูลในตารงที่ออกแบบได้ย่างถูกต้องจะไม่มีการซ้ำซ้อน ทำให้ไม่เสียเวลาค้นหาข้อมูล เนื่องจากข้อมูลที่ต้องการจะอยู่ในตางรางที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
  3. ข้อนี้เป็นผลต่อเนื่องมาจากจุดประสงค์ข้อแรก ช่วยให้ตรวจสอบความถูกต้องรวมทั้งจัดมาตรฐานของข้อมูลได้สะดวก เนื่องมีข้อมูลไม่ซ้ำซ้อนกัน (หรือซ้ำซ้อนกันน้อยที่สุด)
  4. สามารถกำหนดลักษณะการเข้าถึงข้อมูลสำหรับผู้ใช้แต่ละประเภทได้ด้วย เช่น พนักงานทั่วไปจะสามารถดูตารางที่มีข้อมูลของตัวเองได้เท่านั้น และไม่สามารถแก้ไขข้อมูลต่างๆ ในฐานข้อมูลได้ ส่วนพนักงานป้อนข้อมูลจะสามารถแก้ไขข้อมูลได้ เป็นต้น
  5. ทำให้มีความอิสระระหว่างข้อมูลกับแอพพลิเคชั่น เนื่องจากเราสามารถออกแบบแอพพลิเคชั่นให้ดึงขอมูลที่ต้องการจากฐานข้อมูลเหล่านั้น ไม่ต้องใส่ข้อมูลต่างๆเหล่านี้ลงในแอพพลิเคชั่น เพราะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล เราเพียงแต่เปลี่ยนในฐานข้อมูลเท่านั้น ไม่ต้องเปลี่ยนในแอพพลิเคชั่น ซึ่งหมายถึง ต้องสร้างไฟล์ทำงานและตรวจสอบความถูกต้องของแอพพลิเคชั่นใหม่ซึ่งยุ่งยากมาก

ที่มา : www.chakkham.ac.th/

 

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูล

 

1.อธิบายฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ (Centralized Database System)

ตอบ  การมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ที่พร้อมใช้งานมีประโยชน์อย่างมากมาย ผู้ปฏิบัติงานมีหน้าที่ดูแลเพียงฐานข้อมูลเดียวเท่านั้น และแต่ละรายการสินค้าจะมีข้อมูลบันทึกหลักรายการเดียว โดยมีข้อมูลหลักเพียงหนึ่งชุด

เครื่องชั่งนับจำนวนชิ้นของ METTLER TOLEDO มีฟังก์ชันทำงานฐานข้อมูลในระดับสูง โดยนำเสนอข้อดีจาก:

  • ฐานข้อมูลภายในเครื่องชั่ง สำหรับข้อมูล 30000 รายการ
  • การบริหารจัดการรายการข้อมูลมากกว่า 10,000 รายการอย่างรวดเร็วด้วยซอฟต์แวร์
  • การสำรองฐานข้อมูลรายการสินค้าได้อย่างเรียบง่าย
  • ฟังก์ชันนำเข้า/ส่งออกที่ชัดเจนพร้อมด้วยโปรแกรม MS Excel สำหรับการประมวลผลภายหลังของการใช้งานร่วมกับฐานข้อมูลที่มีอยู่เดิม
  • การป้อนข้อมูลที่ทำงานได้ง่ายด้วยโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์แบบมาตรฐาน เครื่องสแกนบาร์โค้ด หรือแป้นพิมพ์ภายนอก

ที่มา :http://th.mt.com/th/th/home/microsites/piece_counting/Solutions/Centr_Data.html

2.อธิบายฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Database System)

ตอบ  ระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Database System) หมายถึง ฐานข้อมูลที่มีการ
จัดเก็บข้อมูลอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องที่ติดตั้งอยู่ตามที่ต่างๆ โดยที่ระบบคอมพิวเตอร์
เหล่านี้มีการสื่อสารกันได้ ซึ่งผู้ใช้สามารถเรียกใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่องใดๆ ก็ได้ และ
ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับทราบว่าข้อมูลที่ตนต้องการนั้นจัดเก็บอยู่บนเครื่องใด พูดในอีกลักษณะหนึ่งก็คือ
ในทางกายภาพแล้วข้อมูลจะถูกเก็บกระจายตามเครื่องต่างๆ แต่ในแง่มุมของผู้ใช้จะเสมือนหนึ่งว่า
กำลังใช้ระบบฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์อยู่ปกติ แสดงดังรูปที่ 10.1
ส่วนความหมายของระบบการจัดการฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Database
Management System : DDBMS) คือ ระบบจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS ที่ทำหน้าที่จัดการระบบ
ฐานข้อมูลแบบกระจาย แต่ในปัจจุบัน DDBMS บางตัวจะยังไม่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามความหมาย
ตามหลักทฤษฎียกตัวอย่างเช่น ถ้า DDBMS ไม่สามารถที่จะดูแลเกี่ยวกับสถานที่ที่เก็บข้อมูลจริงได้ ก็จำเป็นที่ผู้ใช้งานจะต้องรับทราบว่าข้อมูลที่ตนต้องการนั้นถูกจัดเก็บไว้ที่สาขาไหน และระบุชื่อสาขาใน
คำสั่งที่ใช้ในการเรียกค้นหาข้อมูล เป็นต้น
แต่สำหรับระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามความหมาย ตามหลัก
ทฤษฎีแล้ว ผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลก็จะมองเสมือนหนึ่งว่างานทั้งระบบมีอยู่เพียงฐานข้อมูลเดียว และ
เรียกใช้ข้อมูลเหมือนตามปกติที่เคยทำกับระบบรวมศูนย์ (Centralize)

ที่มา : mathcom.uru.ac.th/~Kachane/DS/slide/DS_10.ppt

ใส่ความเห็น